รวม มติที่เกี่ยวข้องกับ MMDS

รวม มติที่เกี่ยวข้องกับ MMDS

มติ กสท. ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 กสท. มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานด้านเทคนิคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นความถี่ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และสำนักงาน กสทช. โดยเห็นว่า (4) กรณีที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขออนุญาตนำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองและทดสอบสำหรับให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก บนคลื่นความถี่ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA  ถือเป็นการขออนุญาตเพื่อการทดลองหรือทดสอบสำหรับให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก ซึ่งจะต้องพิจารณาอนุญาตตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อการทดลองหรือทดสอบเป็นการชั่วคราว ซึ่งกำหนดให้ต้องใช้คลื่นความถี่ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคลื่นความถี่ 2500 – 2690 MHz ถูกกำหนดตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ และตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติให้ใช้ในกิจการโทรคมนาคม กสท. จึงไม่อนุญาตให้ทดลองและนำเข้าอุปกรณ์เพื่อการทดลองหรือทดสอบสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ด้วยเทคโนโลยี BWA ตามที่ขอ

 

มติ กสท. ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองและเสนอความเห็น และ กสท. มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ โดยเห็นว่า (1.1)  สัญญาที่ บมจ.อสมท ให้ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ใช้คลื่นความถี่ระบบ MMDS เพื่อให้บริการโทรทัศน์บนเทคโนโลยีแบบบรอดแบนด์ไร้สาย (BWA) เป็นการให้บริการโทรทัศน์ประเภทอื่นนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม  จึงเป็นการประกอบกิจการโทรทัศน์ขึ้นมาใหม่  ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ตามกฎหมาย ดังนั้น การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

มติ กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 19 มีนาคม 2557 ได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ตามที่ กสท. เสนอ และ กสทช. มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบตามผลการพิจารณาของ กสท. ที่มีต่อผลการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่างบริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จํากัด

ทั้งนี้ กสทช. ประวิทย์ฯ มี (3) ประเด็นข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการฯ ที่ว่าต่อไปจะมีการนําเทคโนโลยี ของกิจการหนึ่งไปให้บริการในอีกกิจการหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดโจทย์ในการกํากับดูแล ผมเห็นว่าเป็นประเด็นสําคัญที่ควรจะต้อง หารือกันต่อไป

 

มติ กสท. ครั้งที่ 11/2557 วันที่ 24 มีนาคม 2557 ได้พิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้เร่งรัดพิจารณา และให้รับข้อมูลพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อประกอบการพิจารณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ซึ่ง กสท. มีมติเป็นเอกฉันท์ (1) เห็นชอบแนวทางการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของบริษัท อสมท. จำกัด ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ (2) ให้เสนอต่อที่ประชุม กสทช. เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงใหม่ที่จะทำให้ผลการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

มติ กสทช. ครั้งที่ 4/2557 วันที่ 23 เมษายน 2557 กสทช. มีมติเป็นเอกฉันท์ ในการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้เร่งรัดพิจารณา และให้รับข้อมูลพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อประกอบการพิจารณาของบริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) ที่ประชุมมีมติรับทราบผลการพิจารณาของ กสท. ต่อกรณีการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมให้เร่งรัดพิจารณาฯ ตามที่รองประธาน กสทช. (พันเอกดร. นทีฯ) เสนอ ทั้งนี้ให้สํานักงาน กสทช.ไปพิจารณาดําเนินการ ให้ครบถ้วน ตามขั้นตอนกระบวนการที่กฎหมายกําหนดและนําเสนอที่ประชุม กสทช.พิจารณาต่อไป

 

มติ กสท. ครั้งที่ 36/2557 วันที่ 1 กันยายน 2557 กสท. มีมติเป็นเอกฉันท์ ในการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ฉบับ มติที่ประชุม (1.) เห็นชอบผลการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ฉบับ ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์ และสำนักงาน กสทช. เสนอ (2.) มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำเสนอต่อที่ประชุมกสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป หมายเหตุ กสทช. ผศ.ดร. ธวัชชัย จิตรภาษนันท์ มีความเห็นให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวขึ้นอีกหนึ่งคณะ โดยให้มีองค์ประกอบเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และด้านกฎหมาย

ทั้งนี้คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานฯ และสำนักงาน กสทช. เสนอความเห็นว่า การทำสัญญาร่วมดำเนินธุรกิจระหว่างบริษัท อสมทฯ ให้ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ดำเนินการในระบบ BWA ถือเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากเงื่อนไขที่บริษัท อสมทฯ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกในระบบ MMDS เท่านั้น ประกอบกับการทำสัญญาร่วมดำเนินธุรกิจดังกล่าว มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งมิใช้สัญญาจ้างทำของ อีกทั้งเป็นการมอบหมายให้บริษัทเพลย์เวิร์คฯ เป็นผู้ประกอบกิจการแทน บริษัท อสมทฯ อันจะต้องได้รับอนุญาตจาก กสทช. ตามกฎหมายก่อน ดังการทำสัญญาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้รับความคุ้มครองให้ได้รับสิทธิในการประกอบกิจการดังกล่าวต่อไป ตามมาตรา 74 และมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการฯ พ.ศ. 2551 ประกอบมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553

มติ กสทช. ครั้งที่ 9/2557 วันที่ 17 กันยายน 2557 กสทช. มีมติเสียงข้างมาก ในการพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ฉบับ โดย (1.) รับทราบผลการพิจารณาของ กสท. ต่อหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของ บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) จํานวน 5 ฉบับ ตามที่สํานักงาน กสทช. เสนอ (2.) เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทํางานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและกฎหมาย เพื่อพิจารณาหนังสือร้องเรียนดังกล่าว โดยให้มีองค์ประกอบ ประกอบด้วย ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ผู้แทน กสท. / กทค. ผู้แทนสํานักงาน กสทช. ด้านบริหารงานคลื่นความถี่ด้าน ละ 2 คน ทั้งนี้ให้คณะทํางานฯ มีวาระการปฏิบัติหน้าที่ 3 เดือน ตามที่ เลขาธิการ กสทช. เสนอ สําหรับผู้แทนจากหน่วยงานภายนอกที่จะแต่งตั้ง จะต้องไม่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติต้องห้ามที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้ง กับการปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งผู้ทํางาน (Conflict of Interest)

ทั้งนี้ ประวิทย์ฯ มีบันทึกที่ สทช.1003.10/797 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2557 ขอให้

บันทึกความเห็นไว้ในหมายเหตุท้ายรายงานการประชุม กสทช. ครั้งที่ 9/2557 ดังนี้

๑.    เนื่องจากต้นเรื่องของกรณีนี้เป็นการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมาย ของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบน คลื่นความถี่ MMDS ระหว่าง บมจ. อสมท. กับ บจ. เพลย์เวิร์ค ซึ่งได้มี การดําเนินการตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่ฯ พ.ศ.2553 โดยกรณีได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ พิจารณาสัญญาสัมปทานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ใน เบื้องต้น และผลการพิจารณาของอนุกรรมการได้รับความเห็นชอบจาก กสท. และ กสทช. แล้วตามลําดับ (การประชุม กสท. ครั้งที่ 5/2557 วันที่ 10 กุมภาพันธ์2557, การประชุม กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วันที่ 19 มีนาคม 2557) การที่ บมจ. อสมท. มีหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ กสทช. จึงต้องพิจารณาสถานะทางกฎหมายของกระบวนการดังกล่าวนี้ ว่าคืออะไร เข้าข่ายเป็นการอุทธรณ์หรือเป็นการขอให้พิจารณาใหม่ หรือไม่ อย่างไร และ กสทช. มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อเป็นไป ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

๒.    หากการมีหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของ บมจ. อสมท. เข้าข่ายเป็น การอุทธรณ์หรือการขอให้พิจารณาใหม่ก็ตาม ยังมีประเด็นสําคัญที่ต้อง พิจารณาก่อนว่า การใช้อํานาจทางปกครองในกรณีที่เป็นเหตุแห่งการ ร้องเรียนนั้น (การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาฯ) ถือว่า เป็นการใช้อํานาจของ กสท. หรือ กสทช. และอํานาจถือเป็นที่สุด ที่คณะกรรมการชุดใด กสท. หรือ กสทช. เนื่องจากในทางปฏิบัติสําหรับ ทางฝั่ง กทค. นั้นถือว่าอํานาจในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุดที่กทค. ทั้งนี้ตามแนวปฏิบัติการดําเนินงานของ กสทช. ที่ผ่านมา หากการใช้ อํานาจเป็นที่สุดในระดับ กสท. หรือ กทค. ในชั้น กสทช. ก็จะไม่ แทรกแซงการใช้อํานาจนั้น แต่ประเด็นนี้ก็ยังอาจต้องทบทวนว่าตามหลัก ที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นเช่นไร

๓.    อนึ่ง ข้อเท็จจริงในกรณีการร้องขอความเป็นธรรมของ บมจ. อสมท. นี้ คือ ที่ประชุม กสท. ได้เคยพิจารณาหนังสือฉบับแรกของบริษัทฯ แล้ว ในการประชุมครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 และ ที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 ได้เคย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ กสท. ในเรื่องดังกล่าวด้วย พร้อมทั้ง มอบหมายให้สํานักงาน กสทช. ไปพิจารณาดําเนินการให้ครบถ้วนตาม กระบวนการทางกฎหมาย และนําเสนอที่ประชุม กสทช. พิจารณา อีกครั้ง ส่วนในการนําเสนอเรื่องกลับมา กสทช. ครั้งนี้ก็เป็นกรณีที่ หนังสือขอความเป็นธรรมของ บมจ. อสมท. ทั้ง 5 ฉบับได้ผ่านการ พิจารณาของที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานด้าน กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แล้ว โดยที่มีการเชิญผู้แทนบริษัทฯ มาชี้แจงด้วย (การประชุมครั้งที่ 11/2557 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2557) และที่ประชุม กสท. ครั้งที่ 36/2557 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ก็ไ ด้มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของ คณะอนุกรรมการดังกล่าว โดยรวมจึงต้องพิจารณาด้วยว่า กระบวนการพิจารณาการร้อง ขอความเป็นธรรมของ บมจ. อสมท. ถือว่าดําเนินการครบถ้วนหรือยัง ซึ่งสัมพันธ์กับประเด็นว่าเป็นอํานาจการพิจารณาของใคร ตามข้อ 2.

๔.    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตามเอกสารประกอบวาระที่สํานักงาน กสทช. เสนอให้กสทช. พิจารณาในครั้งนี้ไม่มีการนําเสนอข้อเท็จจริงและ ข้อวิเคราะห์ที่ชัดเจนในประเด็นต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1. และ 2. ข้างต้น ผมจึงเห็นว่า แม้จะเลือกแนวทางการแต่งตั้งคณะทํางานขึ้น พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังมีความจําเป็นต้องพิจารณาประเด็นที่ สําคัญเหล่านี้ก่อนเป็นเบื้องต้น และต้องดําเนินกระบวนการให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่เป็นเหตุแห่งการร้องเรียนหรือฟ้องร้องได้อีก

อนึ่งดิฉันได้มีบันทึกที่ สทช.1003.9/221 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ขอให้บันทึกความเห็น

ไว้ในหมายเหตุท้ายรายงานการประชุม กสทช. ครั้งที่ 9/2557 ยืนยันตามความเห็นตามมติที่เคยเห็นชอบในการพิจารณาชั้นการประชุม กสท. ครั้งที่ 36/2557 วันที่ 1 กันยายน 2557 ที่เห็นชอบผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานฯ

 

มติ กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 9/2557 วันที่ 1 กันยายน 2558 กสทช. มีมติเสียงข้างมาก พิจารณารายงานผลการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการประกอบ กิจการโทรทัศน์ของบริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) จํานวน 5 ฉบับ มีมติ

๑.    รับทราบรายงานผลการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ฉบับ ของคณะทำงานพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ

๒.    ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กสทช. รองประธาน กสทช. (พัเอก ดร. เศรษฐพงค์ฯ กสทช. พลโท ดร. พีระพงษ์ฯ กสทช. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ฯ กสทช. รศ. ดร. ประเสริฐฯ กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัยฯ และ กสทช. พลเอก สุกิจฯ) มีมติเห็นชอบให้ทบทวนมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วาระที่ 5.1.2 เรื่อง รายงานผลการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่าง บริษัม อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด ทั้งนี้ตามข้อ 45 ของระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ. 2555

ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (รองประธาน กสทช. (พันเอก ดร. นทีฯ) กสทช. สุภิญญาฯ และ กสทช. ประวิทย์ฯ) มีมติไม่เห็นชอบให้ทบทวนมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วาระที่ 5.1.2 ดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง รองประธาน กสทช. (พันเอก ดร. นทีฯ) กสทช.ประวิทย์ฯ และ กสทช.สุภิญญาฯ แจ้งว่าขอสงวนความเห็น โดยจะจัดทําบันทึกส่งให้ในภายหลัง

๓.    ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วาระที่ 5.1.2 เรื่อง รายงานผลการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของสัญญาทางธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ MMDS ระหว่าง บริษัม อสมท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท เพลย์เวิร์ค จำกัด อนึ่ง กสทช. ประวิทย์ฯ ของดออกเสียงในการพิจารณาเรื่องการยกเลิกมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 3/2557 วาระที่ 5.1.2

 

กสท.ครั้งที่ 7/2559 (23 กุมภาพันธ์ 2559)

วาระที่ 4.14 การประชุม กสท. ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่องการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกระบบ MMDS ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับคู่สัญญา ของคณะอนุกรรมการ พิจารณาสัญญาสัมปทานและความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่

มติที่ประชุม ที่ประชุมเสียงข้างมาก (กสทช. พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ กสทช. พันต ารวจเอก ทวีศักดิ์ งามสง่า และ กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์) มีมติ ไม่เห็นชอบกับผลการพิจารณาของ คณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานและความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1. เนื่องจากสัญญาดังกล่าวนี้ คณะกรรมการ กสทช. ได้มีมติไปแล้วในการประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 ทำให้สัญญาดังกล่าวยังคงมีผลทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้องต่อไป

2. การพิจารณาข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานและความ จำเป็นในการใช้คลื่นความถี่นั้น จะเป็นการไปก้าวล่วงกับมติคณะกรรมการ กสทช. ที่เพิ่งมีมติไปเมื่อไม่นานมานี้

ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (ประธาน กสท. (พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์)) และ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ สงวนความเห็นตามบันทึกที่แนบ

 

หมายเหตุ 1. รับรองมติระเบียบวาระที่ 4.17 นี้ เพื่อนำไปด าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ เปิดเผยความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกแนบ

 

วาระที่ 4.18 การขอปรับปรุงการใช้ย่านความถี่ 2536 -2690 MHz ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

มติที่ประชุม ที่ประชุมเสียงข้างมาก (กสทช.พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กสทช. พันตำรวจเอก ทวีศักดิ์ งามสง่า และ กสทช. ผศ.ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์) มีมติดังนี้

1. อนุญาตให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ 2536 – 2690 MHz   โดยการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่าง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและไม่ได้เป็นการใช้คลื่นความถี่เพื่อ การประกอบกิจการที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจากที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอยู่เดิมแต่อย่างใดซึ่งเป็นไปตามประกาศ กทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2500 – 2690 MHz อันเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555) แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559) และแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555 – 2559)

2. เพื่อมิให้มีประเด็นโต้แย้งทางกฎหมาย ในกรณีที่ กสทช. พิจารณาอนุญาตให้ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ปรับปรุงการใช้งานคลี่นความถี่ 2536-2690 MHz ในการให้บริการโทรทัศน์ ประเภทบอกรับสมาชิกเดิมที่เป็นระบบ MMDS เป็นระบบ BWA เห็นสมควรกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้

(1) ระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามที่ กสทช. กำหนด ตามมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553

(2) การใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมเพื่อใช้ใน การให้บริการโทรทัศน์แบบอกรับสมาชิก

3. เป็นไปตามมติที่ประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 9/2558 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 และยื่นยันตามเอกสารที่เสนอ

ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (ประธาน กสท. (พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์)) และ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ ขอสงวนความเห็นตามบันทึกแนบ

หมายเหตุ 1. รับรองมติระเบียบวาระที่ 4.18 นี้ เพื่อนำไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

2. กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มีความเห็นเพิ่มเติมตามบันทึกแนบ

 

กสท. ครั้งที่ 40/2559 (21 พ.ย. 2559)

วาระ 4.21 การขอรับรหัสแสดงโครงข่าย (Network Code) เพื่อใช้กับคลื่นความถี่ย่าน 2.536 – 2.700 GHz

วาระ 4.22 การขอรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ (Type approval) สำหรับอุปกรณ์ที่จะนำเข้ามาเพื่อใช้ในการให้บริการโครงการโทรทัศน์บอกรับสมาชิกบนคลื่นความถี่ย่าน 2.536 – 2.700 GHz ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

มติที่ประชุม [สรุปรวมสองวาระ] ให้ สนง. นำเสนอความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานฯ ต่อที่ประชุม กสทช.

หมายเหตุ 1. กสทช. พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ สงวนความเห็นตามบันทึกแนบ

2. กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มีข้อสังเกตตามบันทึกแนบ

[ข้อสังเกตเพิ่มเติม]

-          สนง.มีความเห็นว่า เนื่องจากการดำเนินการในส่วนของโครงข่ายไม่มีการออกรหัส ประกอบกับประเด็นในเรื่องสิทธิในการประกอบกิจการและใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการ MMDS ของ อสมท ยังไม่เป็นที่ยุติ เนื่องจากยังไม่ได้เสนอ กสทช. พิจารณาความจำเป็นการใช้คลื่นและกำหนดเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่น อันเป็นอำนาจ กสทช.

 

กสท. ครั้งที่ 1/2560 (10 ม.ค. 2560)

วาระ 4.21 การพิจารณารายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่และเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2553 ของการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกเป็นระบบ MMDS

มติที่ประชุม เห็นชอบผลการพิจารณาความจำเป็นตามมาตรา 82 และ 83 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ของการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกเป็นระบบ MMDS ของ อสมท กับคู่สัญญาตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาสัญญาสัมปทานฯ และ (2) มอบหมายให้นำเสนอต่อที่ประชุม กสทช.

หมายเหตุ 1. กสทช. ผศ. ดร. ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ สงวนความเห็นตามบันทึกแนบ

2. รับรองฯ

[ข้อสังเกต]

1. สนง.สรุปและเสนอแนะได้โดยมีข้อเท็จจริงยืนยัน โดยสรุปว่า อสมท ไม่มีความจำเป็นในการใช้คลื่น เนื่องจาก

1) ส่วนแรกเป็นกรณีที่ อสมท สิ้นสุดสัญญากับบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เมื่อ 30 กันยายน 2557เหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่นจึงสิ้นสุดตามไปด้วย (ก. 9 ช่องความถี่ สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย 2540 2548 2556 2564 2572 2580 2588 2596 และ 2604 / ข. 10 ช่องความถี่สำหรับในส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 2552 2560 2568 2576 2584 2540 2556 2572 2588 และ 2604 ซึ่ง อสมท ชี้แจงการถือครองมา)

2) ส่วนที่สองเป็นกรณีที่ อสมท แจ้งว่าใช้งานด้วยตนเองภายหลังที่บริษัท TST (เดิม SBC) ยกเลิกกิจการในปี 2541 แต่สำนักงาน กสทช.ตรวจสอบ ในปี 2557 พบว่าไม่มีการใช้งานตามที่แจ้ง จึงไม่ถือว่ามีเหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่น (ค. 9 ช่องความถี่ สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย 2620 2628 2636 2644 2652 2660 2668 2676 และ 2684 ซึ่ง อสมท ชี้แจงการถือครองมา)

3) ส่วนที่สามเป็นกรณีที่ กบถ. จัดสรรให้ อสมท ใช้งาน โดยระบุเงื่อนไขให้ใช้งานในภูมิภาคจนถึงปี 2542 เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นในการใช้คลื่นในส่วนนี้อีก (ง. 10 ช่องความถี่สำหรับในส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 2664 2672 2680 2688 2696 2620 2636 2652 2668 และ 2684 ซึ่ง อสมท ชี้แจงการถือครองมา)

2. พลโท ดร. พีระพงษ์ มานะกิจ ติดภารกิจ ไม่ได้เข้าร่วมประชุม

 

กสทช. 1/2560 (18 ม.ค. 2560) ประธาน กสทช. มีบันทึกที่ สทช 1001.1/41 ลงวันที่ 17 มกราคม 2560 เรียน เลขาธิการ กสทช. ให้นำเรื่อง รายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่และเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ตามมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ 2553 ของการให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกเป็นระบบ MMDS ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กับคู่สัญญา ซึ่งประธาน กสทช. เห็นชอบให้บรรจุในวาระการประชุม กสทช. ครั้งที่ 1 2560 ในวันที่ 18 มกราคม 2560 นั้น ให้สำนักงานนำกลับไปพิจารณาตรวจสอบข้อมูลใหม่อีกครั้ง เนื่องจากเรื่องนี้อาจมีประเด็นที่อาจจะซ้ำซ้อนกับมติที่ประชุม กสทช. เดิมที่มีอยู่แล้ว…

Download (MMDS-060260.docx,DOCX, Unknown)