ติดตามอ่าน! ประเด็นสำคัญ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น”

สรุปสาระสำคัญของผู้เข้าร่วม

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็น

“การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิตอลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น”

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 – 16.30 น.

ณ ห้องประชุมเซฟฟาย ชั้น 2 โรงแรมเซ็นจูรี่ พลาซ่า กรุงเทพฯ

………………………………………………………………….

รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์  : มีสองประเด็นคือจะมีการปรับเนื้อหาหรือไม่ การจัดตั้งองค์กรของช่องเหล่านี้มีการจัดตั้งองค์กรแบบไหน ไม่ใช่ดูแค่ที่เนื้อหาเพียงอย่างเดียวรูปแบบการจัดตั้งองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ กองทัพบกทำเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ กสทช. ควรตรวจสอบ การจัดตั้งบริการสาธารณะมีแบบแผนอย่างไร ตัวอย่างของประเทศต่างๆที่นำมาให้ดู ถามว่าของไทย ใครคือ represent ของรัฐ สำหรับ 3 ช่องนั้นนับใคร ต้องรีบให้ใบอนุญาตช่องบริการสาธารณะหรือ ถ้าไม่พร้อมก็ไม่ต้องให้ได้หรือไม่ กสทช.ไม่มีหน้าที่ที่ไล่แจกใบอนุญาต มันจะไปกระทบกับโครงสร้าง เท่ากับไม่มีการปรับโครงสร้าง จะทำให้เกิดปัญหาสะสม  owner ship แบบไหน มันไม่ใช่หน่วยของราชการ นอกจากช่อง 4 ช่อง อาจมีหน่วยงานราชการ ทุกทบวง กระทรวง กรมก็ขอได้ในช่องอื่นๆ

กสทช. สุภิญญาฯ : มีใครเสนอประเด็นเรื่อง ownership อีกหรือไม่

ผศ.ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ : คิดสอดคล้องกับรศ.ดร.อุบลรัตน์   ศิริยุวศักดิ์  เพราะจะกลายเป็นโทรทัศน์ของภาครัฐไปเลย ภาคเอกชนที่จะเข้าก็เข้ายาก ดูอย่างตอน TPBS เกิด การจัดสรรงบประมาณ ยังเกือบไม่รอด    ผังรายการปรับเปลี่ยนบ่อย ความนิยมต่ำมาก  และปรับเทคโนโลยีตลอดเวลา พยายามที่จะเลี่ยนแบบฟรีทีวี ไม่ได้แสดงความเป็นสาธารณะชัดเจน เหมือนเราสูญเสียทรัพยากร มีการลงทุนที่มีต้นทุนสูงซึ่งเป็นภาษีประชาชนมาใช้ มาผลิตรายการที่ไม่มีคนดู ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มความนิยมทีวีของคนปัจจุบันมันก็ลดลงแต่ไปเน้นช่องทางทาง social network ในปีแรกของทีวีดิจิตอลจะเป็นการสูญเสียต้นทุนอย่างมากมาย และมีค่าโครงข่ายต่างหากอีก ดังนั้นภาคเอกชนหรือองค์กรทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการรับเงื่อนไขหารายได้จากโฆษณาเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่รอด เช่น TPBS ได้รับงบสนับสนุนจาก สสส. ช่องที่เกิดอีก 12 ช่องจะให้ สสส. ช่วยอีกมันยาก ในอนาคตจะมีปัญหามากมาย มีทั้งรายการปรับ ปิดตัว เกิดจากการล็อคสเปค จนไม่เกิดทีวีสาธารณะอย่างที่ควรจะเป็น คิดว่าถ้าควรชะลอก่อน เพื่อไม่ให้สูญเสียทรัพยากรของประเทศ ค่อยเป็นค่อยไปจะดีกว่า

ดร.สุภาพร  โพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ : ข้อเสนอที่จะเสนอจะเกิดผลอะไรหรือไม่ เพราะมีการจัดการประชุมแบบนี้หลายรอบ กสทช. ต้องทำงานให้ตอบสนองการปฏิรูปสื่อก่อน อาจจะต้องทำเรื่องนี้จริงจัง และยังมองไม่เห็นกลไกตรงนี้  ตอนที่ผลักดันให้มี กสทช. เราพูดเรื่องปฏิรูปสื่อ และก็ยังมีความไม่เป็นธรรมของการปฏิรูปสื่อเรื่องเก่ายังไม่จบแต่เรื่องใหม่ก็มาอีก สำหรับประเทศอื่นๆ มีการจัดสรรคลื่นที่หลากหลาย เช่น     การใช้ทีวีสร้างความมีตัวตนของกลุ่มชาติพันธ์  ตอนนี้มี 12 ช่อง ช่องที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตกับการศึกษา ช่องนี้มันหมายถึงอย่างไร การศึกษาไปสร้างคุณภาพชีวิตหรือ ทางปฏิรูปสื่อเราไม่สร้างแค่ภูมิทัศน์ทาง content ควรดูเรื่องowner ship กับการถือครอง เห็นแบบนี้กลายเป็นการขยายอาณาจักร  ประเทศนี้มีองค์กรสาธารณะมากมาย มันจะเป็นการสิ้นเปลืองหรือไม่ การเอาเงินภาษีประชาชนไปใช้ ระบบที่ตรวจสอบว่ามันตอบสนองทั้งหมดว่าจริงหรือไม่ ไม่ได้ตอบเรื่องโครงสร้างต่างๆ เลย วันนี้เรื่องทีวีดิจิตอลไม่มีเรื่องพลเมืองเลย ภูมิทัศน์เป็นอย่างไร และมีสิทธิในพื้นที่สาธารณะแค่ไหน เกิดระบบครอบงำ ไม่สะท้อนความหลากหลาย

คุณสุวรรณา สมบัติรักษาสุข : ถ้า กสทช. ยังเดินหน้าการออกใบอนุญาตทีวีสาธารณะต่อไป กสทช.           ก็ดำเนินการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าทั้ง 4 ช่องที่ตัดสินไปแล้ว เอาอะไรมากำหนด และมันชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ประเด็นที่หนึ่งให้เพราะเป็นช่องเดิม ประเด็นที่สอง ให้เพราะ MOU กสทช. พยายามทำให้เป็นดิจิตอลทีวีโดยไม่คำนึงถึงการปฏิรูปสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายทุกฉบับในการปฏิรูปสื่อ การจัดตั้ง กสทช. ที่ผ่านมาใช้เวลาเป็นสิบปี แต่ทีวีดิจิตอลใช้เวลาไม่เกินหนึ่งเดือน ทั้งที่เป็นเรื่องกระทบโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งประเทศ กระทบประชาชนในวงกว้าง แต่กลับไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนซึ่งกฎหมายเขียนไว้ชัดเจน ดิฉันทราบเจตนารมณ์ของการยกร่างกฎหมายนี้ แต่พอทำจริงมันไม่ใช่

ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ : เรื่องโครงสร้างหรือ owner ship มันดูเหมือนจะล็อคด้วยกฎหมายที่ทำไว้ เรื่องที่เห็นควรชะลออย่างไรท่านอาจารย์หลายท่านก็บอกแนวทางมาแล้ว สงสัยอาจจะต้องฟ้องศาลกันบ้าง เพื่อได้มีเวลาทบทวน อีกหัวใจหนึ่งคือการมีโครงสร้างที่ดีไม่ได้หมายว่าถึงจะมีคุณภาพด้วย ได้ช่องทีวีใหม่มาแล้วแต่รูปเป็นแบบเดิม ผิดกับทีวีสาธารณะในหลายๆ ประเทศ รายการต่างประเทศมีความหลากหลาย ไม่มีโฆษณา และให้ความรู้เป็นสาธารณะอย่างแท้จริง อย่างไรทีวีสาธารณะไม่มีทางเรทติ้งสู้ได้ อย่างน้อย 3 ช่องที่เหลือ ทำอย่างไรให้อย่างน้อยมีความเป็นสาธารณะอย่างแท้จริง ผมมีไอเดียหนึ่งการประมูลคลื่นความถี่ การแจก     Set top box ให้ 22 ล้านครัวเรือนเป็นการเร่งเข้าสู่ระบบดิจิตอล กสทช. ได้เงิน 2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากผู้รับใบอนุญาต และ 2 เปอร์เซ็นต์เพื่อเข้ากองทุนวิจัย 3 ช่องนี้น่าจะสามารถใช้ทุนนี้มาอุดหนุน เอาแค่ 0.8 ก็ยังดี และมีการตรวจสอบการใช้เงิน ส่วนในเรื่องระยะเวลานั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะให้ใบอนุญาต 15 ปี ควรมีการตรวจสอบแผนการดำเนินงาน เนื้อหา แล้วตรวจสอบทุกสิ้นปี ไม่ควรให้ 15 ปี เพื่อดูผลการดำเนินงานสักสองถึงสามปีก่อน ถ้าไม่ดีก็เปิดให้คนอื่นเข้ามา

อาจารย์มรรยาท อัครจันทรโชติ  อาจารย์จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ :  เมื่อมี กสทช” ก็คาดหวัง หลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตทีวีดิจิตอลแทบไม่มี แล้ว Beauty Contest จะใช้หลักอะไร ถ้าเรายังดูด้วยการโหวตจากกรรมการ กสทช. จะเป็นแบบนี้ตลอดไป ผลของมติเช่นนี้คือการขยายตัวขององค์กรเดิมๆ โครงสร้างเดิมๆ ที่กระจุกตัว การบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะกลายเป็นประโยชน์ของหน่วยงานราชการแทน

ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ : แค่สามช่องที่จะสนับสนุน ถ้ายังไม่พอลดลงแค่หนึ่งหรือสอง น่าจะพอไปได้ ถ้าเอา TPBS เป็นเกณฑ์คงไม่ได้ เพราะเขามีรายการครบทุกอย่างในการสู้กับฟรีทีวี

อาจารย์สมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี : ฝากเรื่องพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธ์ และคนกลุ่มน้อย อย่างพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ภาษามลายูใช้ช่องทางดาวเทียม การสื่อสารมีวงจำกัด ควรได้การสื่อสารในภาพใหญ่ เพื่อการสร้างความเข้าใจและกระบวนการเสรีภาพ ไม่ใช่แค่มุสลิมในภาคใต้เท่านั้น มันสะท้อนภาพความคิดที่ทางของคนเหล่านี้ ที่ออสเตรเลียมี road map ที่เอื้อในเรื่องของวัฒนธรรมเรื่องนี้ควรอยู่ตรงไหนในฐานะพลเมืองของประเทศ

รศ.ดร.นวลน้อย  ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ : การเกิดขึ้นของ กสทช. เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสื่อ กสทช. ทำตัวมีทรัพย์สมบัติอยากแจกใครก็แจก เป้าหมายในการแจกเพื่ออะไร ภายในหกปีต้องแจกให้หมดเลยหรือไม่ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ประเด็นคือมีการดูงานเยอะมากของ กสทช.  เพื่อไปเรียนรู้ในการเลือกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแต่ในการจัดสรรคลื่นกลับไม่ใช่สิ่งที่ได้เปรียบอยู่ การแสดงฝีมือได้ไม่ได้คือตรงนี้ ไม่มีใครมาเดินขบวนให้แจกไลเซ่น ไม่ต้องรีบอะไร SBS ของออสเตรเลียเป็นตัวอย่างทีวีสาธารณะที่แท้จริง ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบางส่วนสถานีนี้สะท้อนความต้องการของสังคมในออสเตรเลีย สามารถดูหนังทั่วโลก ได้รับรายได้จากการบริจาค Beauty Contest ต้องใช้เวลาเตรียมการและความพร้อม ควรมี approach ใหม่

รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์  : คุยวงแบบนี้น่าจะมีตัวแทนจากด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบริหาร เพื่อมองภาพใหญ่ของการเคลื่อนตัวด้วย ความได้เปรียบเสียเปรียบของตลาด การรับชมสถานการณ์ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังรับชมจากฟรีทีวี จริงๆ คนต้องการข้อมูลข่าวสาร โครงสร้างเดิมมีอยู่ในฟรีทีวี เวลาเขียน proposal      ควรละเอียด ไม่อยากให้ลอยๆ เราเสียสิทธิพลเมือง เป็นภารกิจ กสทช. ต้องไม่ลิดรอนสิทธิพลเมือง ถ้าได้ไปแล้วไม่สามารถบังคับได้จริง สิทธิของพลเมืองต้องได้ข้อมูลข่าวสาร ต้องมีการวางหลักเกณฑ์เรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นเรื่องที่มีการลงทุน

อาจารย์วนิดา ม. เนชั่น : นอกจากจะมีกสทช. สองท่านแล้ว ทำไงที่กสทช. ท่านอื่นจะมาเข้าร่วมการประชุมนี้ด้วย ถ้าข้อเสนอมันอยู่แค่ที่ประชุมนี้  ทำไงก็ไม่เกิด จะทำสมัชชาร่วมกันดีหรื่อไม่

อาจารย์ปัณณพร อาจารย์ ม.แม่โจ้  : การปฏิรูปสื่อไม่ใช่ของกสทช. คนเดียว โดยเฉพาะเรื่องการการะจายสื่อสาธารณะ ต้องสร้างความตื่นตัวของพลเมือง สร้างความตื่นตัวในความเป็นเจ้าของสื่อสาธารณะ และทำลายการผูกขาด ทำให้ความเป็นเจ้าของกระจายมากขึ้น แม้ พรบ. ประกอบกิจการฯ จะเอื้อให้ทหาร ทำไงก็ได้กำหนดความเป็นเจ้าของสื่อมากขึ้น มันน่าจะมีการประเมินช่องทีวีเดิมหรือไม่ เช่น ช่อง 5ช่อง11 และช่องTPBS ก่อนที่ช่องเหล่านี้จะชุบตัวเป็นช่องสาธารณะควรเปิดให้ประชาชนมีการประเมินการทำงานที่ผ่านมา ไม่ใช่รวบรัดให้สิทธิ์ทันที การจะก้าวไปสู่การกระจายอำนาจ เชื่อมั่นว่าสังคมทำได้ เอาเรื่องของประเทศเป็นหลัก ควรมีทีวีสาธารณะแบบไหน อย่างไร ควรเปิดพื้นที่ให้คนไทยทั้งประเทศรับรู้ และมาช่วยกันกำหนดทีวีสาธารณะ อย่าเอาข้อจำกัดเรื่องทุนมาจำกัดสิทธิของประชาชน แต่ควรสร้างให้คนไทยรับรู้ว่ามีสื่อสาธารณะและมาร่วมกำหนดกฎเกณฑ์ ควรนำเอามาประเด็นนี้เป็นจุดตั้งต้นก่อน

อาจารย์อังคณา พรมรักษา ม. มหาสารคาม : เห็นด้วยว่าสื่อสาธารณะภาคส่วนอื่นควรรับรู้ กลไกการกำกับดูแล เกณฑ์การตัดสินว่าให้ใครควรมีคณะทำงานตรงนี้ น่าจะเป็นอีกชุดหนึ่งในการให้ใบอนุญาต โดยให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม

ดร.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ : สิ่งที่พูดมันคือความจริง แต่มันทำไม่ได้ กฎหมายมันล็อคอยู่ ต่อให้มีกรรมการกี่ชุด ในที่สุดก็ไม่พ้นเรื่องสิ้นเปลืองทรัพยากร น่าสงสารประเทศและคนไทย ค่าเช่าโครงข่ายเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่มาก ที่เหลือเป็นค่าบริการจัดการ เช่นพนักงาน overhead และโปรแกรม รายใหม่มีสิทธิเกิดในความพร้อมของสินทรัพย์ และเทคโนโลยี

รศ.ดร.นวลน้อย  ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ : จะหาทางออกได้อย่างไร ไม่คิดว่าสิ่งที่พูดจะทำไม่ได้ ขอให้กรรมการ กสท.ตัดสินใจใหม่ ทำ survey ก่อนว่าประชาชนอยากได้อะไร ควรใช้ดุลพินิจที่ชอบบนข้อมูล ถ้าจะออกแบบว่าควรจะออกแบบอย่างไร กฎหมายเขียนแบบกว้างๆ กสทช. ต้องทำสิ่งที่กว้างๆ ให้ชัดเป็นหลักเกณฑ์ที่ละเอียด แล้วจึงตัดสินใจ ทำประชาพิจารณ์หลายๆ รอบ เพื่อให้เห็นร่วมกันได้โดยส่วนใหญ่

…………………………………………………………..

 

 

4