#singlegatewayเป็นสิ่งที่impossibleหรือแทบเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ถ้าจะทำจริงๆเพราะต้องใช้อำนาจสู้กับตลาด

7 ต.ค. 58
‪#‎Singlegateway = ‘Riding an elephant to hunt grasshoppers.’ – Says Supinya

สรุปงานวันนี้ เช้ามีงานวันสถาปนา กสทช. ครบ 4 ปีเต็ม มีพิธีทางศาสนาและการรับกระเช้าดอกไม้ยินดีจากองค์กรต่างๆ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ

วันนี้ถือว่าทำงานที่ กสทช. มาครบ 4 ปีเต็มแล้ว เวลาโบกโบยบิน เท่ากับเวลาเรียนปริญญาตรีเลย สรรพสิ่งเกิดขึ้นมากมาย เก็บไว้ในกล่องความทรงจำ จากนี้ตามวาระเหลืออีก2ปี (ถ้าไม่มีเหตุใดอื่นมากระทบ) ก็จะพยายามตั้งใจทำงานเต็มที่ ด้วยจุดยืนความเป็นอิสระ เปิดเผย โปร่งใส สุจริต เป็นธรรม ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้โอกาส รับฟัง เป็นมิตร อดทนซึ่งกันและกัน ตลอดการทำงานที่ผ่านมา กระทบกระทั่งสิ่งใดไปก็ถือเป็นการทำงานตามหน้าที่แต่ละคนค่ะ

ช่วงเย็นไปร่วมเวทีเสวนาเรื่อง #singlegateway ที่ @FCCThai คนมาร่วมเยอะเลย หัวข้อกำลังฮอต แต่เวทีก็ไม่ดุเดือดมาก ตอนนี้กลับถึงบ้านแล้ว

สรุปประเด็นการพูดเรื่อง #singlegateway ที่ @FCCThai โดยย่อดังนี้ค่ะ

ผู้ดำเนินรายการถามก่อนว่าในความคิดเห็นดิฉัน นิยาม #singlegateway คืออะไร

ฉันตอบว่า #singlegateway อยู่ตรงกันข้ามกับ ‪#‎digital hub/digital economy ในสมัยสงครามเย็นการจัด order ของ free flow of information อยู่ที่การกำหนด agenda ของสื่อหลัก แต่ยุคดิจิตอลอยู่ที่การกำกับ ‘tube’ และ ‘traffic’

ดังนั้น #singlegateway คือการกำกับการขนส่งข้อมูลข่าวสารผ่านท่อใต้น้ำหรือบนดิน และการจราจรของข้อมูลข่าวสาร ที่เชื่อมต่อโลกภายนอกกับภายในประเทศ ให้เข้าออกได้ทางเดียว ใน ‪#‎คหสต. คิดว่า #singlegateway เป็นสิ่งที่ impossible หรือแทบเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ถ้าจะทำจริงๆ เพราะต้องใช้อำนาจสู้กับตลาด

ตั้งแต่สมัย กทช. ถึง กสทช. ปัจจุบันมีผู้ขอรับใบอนุญาตทำ international gateway จำนวน 17 ราย เป็นแบบมีโครงข่ายเอง 13 ราย แอคทีฟจริงๆราว 10 ราย

การออกใบอนุญาตให้ทำ gateway ระหว่างประเทศ ของกิจการโทรคมนาคมเป็นประเภทโครงข่าย ไม่ต้องประมูลตามกฎหมาย ใช้การพิจารณาคุณสมบัติ คุณสมบัติหลักๆในการขอรับใบอนุญาต โครงข่ายระหว่างประเทศ อาทิ ดูการถือหุ้นต่างชาติไม่เกินร้อยละ 49% ตามกฎหมายพาณิชย์ และดูแผนทางธุรกิจ

ทุกวันนี้ กสทช. กำกับผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยอาศัยอำนาจตาม พรบ. กสทช. 2553 และ พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ดังนั้นถ้ารัฐจะทำ #singlegateway คำถามคือผู้รับใบอนุญาตทั้ง 17 รายจะไปไหน

1. ให้เขาหยุดทำธุรกิจ หรือ
2. ยังทำอยู่แต่ต้องไปผ่าน super gateway

ทางที่ให้เขาหยุดทำธุรกิจ คงเป็น nightmare ไม่ว่าจะเพิกถอนใบอนุญาตกลางคันหรือไม่ต่อใบอนุญาตให้เขาทำธุรกิจเสียอย่างนั้น คงฝันร้ายกันแน่ๆ ส่วนอีกทางที่ให้ผู้รับใบอนุญาตทุกรายยังทำธุรกิจต่อ แต่ให้ไปผ่าน super gateway รวมอีกที อ้นนี้ก็ฝันร้ายอีกเพราะการเข้าออกจะช้าลง+จ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อ?

ดังนั้นถ้าเราจะส่งเสริม #digital economy ก็จะสวนทางกับ #singlegateway ที่จะลดทอนการแข่งขันลงอย่างแทบสิ้นเชิง จึงไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจเลย ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็น digital hub ของภูมิภาค แต่ตอนนี้ไม่มีใครกล้านำ server มาไว้ในไทยมากนัก ยกโขยงไปอยู่สิงคโปร์กันแทน

การที่ประเทศเราจะได้ขยับฐานการพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวขยายไป digital economy จึงหายไป ขาดโอกาสการสร้างงานสร้างรายได้ในมิติใหม่ๆ ส่วนตัวเชื่อว่าคนไทยเก่งๆ ไม่แพ้คนอินเดียที่เขาสร้างเมืองไอทีแบบบังกาลอร์ได้ ถ้ารัฐตั้งเป้าเรื่อง DE จริงจังทุกระดับเราจะยกระดับแรงงานไทยได้

ประเทศเล็กๆที่กฎกระเบียบเข้มข้นมาก เสรีภาพก็จำกัดแบบสิงคโปร์ ยังกลายเป็น digital hub/digital gateway ของภูมิภาคได้ แล้วประเทศไทยเรากังวลอะไร สิงคโปร์เขามีวิธีการควบคุมเสรีภาพอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบ ไว้มาเล่าวันหลัง แต่เขาไม่ใช้การคุมโครงสร้าง/พัฒนาการเทคโนโลยีเพราะมันทำร้ายเศรษฐกิจ

ส่วนการจะใช้ #singlegateway มาควบคุมเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ดิฉันมองว่ามันคือ ‘Riding an elephant to hunt grasshoppers.’ หรือ ขี่ช้างจับตั๊กแตน

ถามว่า..ถ้าไม่ใช้ #singlegateway แล้วจะควบคุมเรื่องความมั่นคง เนื้อหาในเน็ตอย่างไร ดิฉันไม่มีคำตอบสำเร็จรูป แต่แนะให้ดูโมเดลประเทศอื่นๆนอกจากจีนบ้าง เกาหลีใต้เป็นประเทศในแถบเอเชียที่น่าสนใจ คือเป็นประเทศประชาธิปไตยแต่มีการกำกับอินเทอร์เน็ตชัดเจน แต่เขาวางสมดุลย์ระหว่างเสรีภาพ vs.รับผิดชอบ วันก่อนดิฉันได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนโมเดลการกำกับดูแลเนื้้อหาอินเทอร์เน็ตกับ regulator เกาหลีใต้ (ไม่ใช่เหนือ) ไว้จะมาทยอยเล่าให้ทราบค่ะ

อีกประเทศที่น่าสนใจคือเยอรมัน เป็นยุโรปที่พยายามจะกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตมากทีเดียว ออกกติกายุบยับ แต่เขาก็พยายามถ่วงดุลเสรีภาพ กับ กฎหมาย เช่นกัน ดิฉันเชื่อว่ารัฐแทบทุกประเทศต่างมีมาตรการกำกับดูแลโลก cyber กันทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าใครละเอียดลออพอที่จะไม่ให้กระทบเศรษฐกิจและสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐาน

กสทช.ว่าจ้างการ ทำวิจัยเรื่องแนวทางการกำกับดูแลสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมอยู่ มีโมเดลจากหลายประเทศ เสร็จแล้วจะนำมาเผยแพร่ต่อไปค่ะ…