วันที่12 มิ.ย.57 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยเหตุผลคัดค้าน ต่อกรณีการสนับสนุนนำเงินจาก กองทุนวิจัยฯ ตามที่คณะกรรมการบริการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ได้เสนอให้พิจารณากรอบวงเงิน 427 ล้านบาท(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อให้แก่ บริษัทอาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมแนจเม้นท์ จำกัด ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 เพื่อดำเนินการให้ประชาชนคนไทย รวมถึงคนพิการ ผู้รายได้น้อย คนด้อยโอกาส สามารถรับชมการแข่งขันบอลโลกรอบสุดท้าย รวม 64 นัด 10 เหตุผล ดังนี้
1. ดิฉันเห็นว่ากระบวนการพิจารณาอน
2. ดิฉันเห็นว่าการใช้งบครั้งนี้ มันไม่ใช่ตามวัตถุประสงค์กองทุน
3. การสนับสนุนเงินให้ผู้ประกอบการ
4. การพิจารณากรอบวงเงินของ สนง.และบอร์ดกองทุนฯ ไม่ได้คำนวณจากต้นทุนที่แท้จริง
5. ไม่เห็นชอบ เพราะตัวแทน สนง.และบอร์ดกองทุนฯ ชี้แจงว่าไม่รู้ต้นทุนค่าลิขสิท
6. ถ้าการแข่งขันตามกลไกตลาดอาจไม่
7. เรื่องนี้ไม่ได้มีคำสั่ง/
8. วันนี้ สนง.วิเคราะห์เองว่าเวลาถ่ายสดบ
9. ทางบริษัทไม่ได้เสนอแผนการเยียว
10.สุดท้าย ดิฉันเคยเสนอเมื่อ กสทช.แพ้คดีในศาลชั้นต้นแล้วว่า
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กสทช.สุภิญญา ได้มีความเห็น ต่อ ประกาศ Must Have
หรือ ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ผ่านการพิจารณาของที่ประชุม กสทช.ครั้งที่ 15 เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 และต่อมามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556 ดังนี้
สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้สงวนความเห็นการพิจารณาวาระดังกล่าวในการประชุมกสทช. โดยให้ความเห็นว่า
“ดิฉันเห็นชอบในหลักการของร่างประกาศฯ และเห็นว่าเนื้อหารายการในกิจการโทรทัศน์ที่กำหนดไว้รวมเจ็ดรายการนั้นเป็นเนื้อหาที่ควรได้รับหลักประกันการแพร่ภาพในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปหรือฟรีทีวีเพื่อให้ประชาชนได้รับชมอย่างทั่วถึง แต่อย่างไรก็ตาม สภาพข้อเท็จจริงของการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมักมีรายการแข่งขันเป็นจำนวนมากและไม่สามารถนำมาเผยแพร่ภาพผ่านฟรีทีวีได้ครบถ้วน
ดังนั้นจึงเห็นควรปรับปรุงร่างประกาศฯ ให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับชมการแข่งขัน ที่ฟรีทีวีมิได้นำมาแพร่ภาพหรือมีข้อจำกัดในการนำมาแพร่ภาพให้ครบถ้วนผ่านช่องทางอื่น ๆ ตลอดจนเพื่อมิให้เป็นการจำกัดสิทธิ์ผู้ประกอบกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ที่ประสงค์จะนำเสนอเนื้อหารายการแข่งขันที่ฟรีทีวีมิได้มีการนำเสนอ จึงเสนอให้แก้ไขชื่อร่างประกาศ ดังนี้ “ประกาศ กสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ต้องให้แผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป” และแก้ไขร่างประกาศข้อ 3. “…ให้รายการโทรทัศน์แบบถ่ายทอดสดตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของประกาศนี้ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่ต้องสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเท่านั้น”
ต่อมา ในวันที่ 28 เม.ย.57 ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการ กสทช. ลงวันที่ 28 เม.ย. 2557 เพื่อเสนอให้สำนักงานดำเนินการเจรจากับ อาร์เอส เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนและผู้บริโภคในการรับชมกีฬาดังกล่าว ภายหลัง ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้เพิกถอนประกาศ ฉบับดังกล่าวในข้อ 3 ประกอบกับรายการที่ 7 รายละเอียด ดังนี้
Download (RS.pdf,PDF, Unknown)
ต่อมา วันที่ 11 มิถุนายน 2557 ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษา คดีบริษัทอาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนลบรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด ฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสี
ทั้งนี้ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินคดี โดยได้ระบุว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กรรมการ กสทช. ควรจะต้องกำหนดบทเฉพาะกาล หรือมาตรการชดเชย หรือบรรเทาความเสียหายของผู้ฟ้องคดีที่มีสิทธิอยู่เดิม ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 (มีใจความว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการฯได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการพื้นฐานบางประการ เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีบริการที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยอาจกำหนดมาตรการใดๆเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตพิจารณาปฏิบัติตามเหมาะสม โดยอาจพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากกองทุนหรือวิธีอื่นๆ…) ซึ่งการพิจารณาให้งบครั้งนี้ เป็นการให้เงินแก่ บ.อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนลฯ ที่ไม่ใช่เป็นผู้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ตามมติ กสท. ครั้งที่ 16 วันที่ 29 เม.ย. 2556
ส่วนที่มาการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายนั้น สำนักงานได้คำนวณมาจาก คณะทำงานเพื่อประเมินมูลค่ากล่องรับสัญญาณสัญญาณโทรทัศน์ฯ ได้ทำการศึกษาพบว่า ต้นทุนกล่องราคาที่ 475 บาท ประกอบกับค่าเฉลี่ยค่าจัดการและกำไรอยู่ที่ 33% และต้นทุนอยู่ที่ 67% ของราคาขาย ดังนั้นค่าบริหารจัดการและกำไรควรไม่เกิน 233 บาทต่อกล่อง ซึ่งจากนี้ชวนสาธารณะช่วยกันตรวจสอบการใช้งบประมาณของกองทุนวิจัยฯ โดยเฉพาอย่างยิ่ง ผลกระทบต่อการใช้คูปองต่อไปในอนาคต ….
หมายเหตุ…
วัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ประกอบด้วย
1. ดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสนับสนุนผู้ประกอบกิจการบริการชุมชน ตามมาตรา 51
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรสื่อสาร การวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีด้านการใช้คลื่นความถี่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลาการด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการดำเนินการขององค์กรซึ่งทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
4. สนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
5. สนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์