จาน IPM ที่มีหัวรับได้เฉพาะดาวเทียม NSS6 จากลักเซมเบิร์กยังดูฟรีทีวีดิจิตอล24 ช่องไม่ได้เพราะไม่ได้จ่ายเงิน

Sum up : 23 ก.ค. 57

สรุปประเด็นงานต่างๆวันนี้ค่ะ Summary from a meeting with sub-Com on Media Consumer Protection: Mostly abt complaints on Pay TV services (not only True Visions but CTH & RS) & problems abt set-top boxes (IPM, PSI & more). Rather a headache. Also a recent news on pay TV market: GMMz pay TV merged with CTH already.

Today Consumers Network held a press conference showing disagreement for delaying spectrum auction related to 1800 MHz & 900 MHz by Army’s NCPO Order. The group is also calling for civic engagement on the amendment of NBTC Act & Communication reform, as a package, in NLA process or so…

Prepared to be ousted everyday, come what may, don’t mind changing the whole commissioners out but if *State* or *Power-that-be* to amend NBTC Act & related Laws, they shall listen carefully to all voices before making another crucial decision.

สรุปผลการประชุมอนุผู้บริโภคฯ กสท. เมื่อวานนี้พิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อ RS และ CTH
อนุฯมีมติให้เชิญ RS ชี้แจงเพิ่ม และถึงคิวขอไปเยี่ยม CTH ก่อนหน้านี้มักมีเรื่องร้องเรียนสัญญาการบริการของ TrueVisions เป็นหลัก ช่วงหลังมีรายใหม่ วันนี้อนุฯจึงมีมติขอไปเยี่ยม CTH รับข่าวควบกิจการ pay TV กับ GMMz พอดี

หลังจากขับเคี่ยวกับ TrueVisions มา 2 ปี เรื่องร้องเรียนได้รับประสานแก้ปัญหาในทิศทางที่ดีขึ้น คงต้องพูดคุยกับทาง pay TV รายใหม่เช่น CTH ด้วย ผู้ประกอบการ Pay TV ต้องทำตามประกาศหลักหลายฉบับเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ ประกาศตามมาตรา31 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ51และประกาศมาตรฐานสัญญาบริการ เป็นต้น วันนี้เห็นข่าว GMM ถอดใจจากธุรกิจ pay TV คงจะไปลุยฟรีทีวีดิจิตอลเต็มตัว คงเหลือ CTH เป็นคู่แข่งหลักกับ TrueVisions + RS และเคเบิลเล็กๆ

ที่เหลือจะเป็นโครงข่ายทีวีดาวเทียมบอกรับสมาชิกที่เป็นแบบไม่เก็บรายเดือนหรือ pre-paid ก็มีรายใหญ่อาทิ PSI และ IPM ที่นำตลาดมาก่อนคนอื่นในลักษณะฟรีทูแอร์ผ่านดาวเทียม ซึ่งตอนนี้ไม่ได้แล้วเพราะต้องขึ้นทะเบียนเป็นทีวีบอกรับฯ ช่องต่างๆเข้ารหัสโดยโครงข่ายทีวีดาวเทียมก่อน

อีกเรื่องคือ สำนักงาน ได้เชิญผู้บริหาร IPM TV มาชี้แจงปัญหาและหาทางออกกรณีผู้บริโภคไม่สามารถดูฟรีทีวีดิจิตอลผ่านจาน IPM ที่รับผ่านดาวเทียม NSS6 ได้ ก่อนหน้านี้จาน IPM TV มีปัญหาดูทีวีดิจิตอลผ่าน Must carry ไม่ได้เลย ตอนหลังไทยคมยอมส่งการถอดรหัสให้จาน IPM ที่รับผ่านไทยคมได้ หลังช้าไปหลายวัน จาน IPM ที่มีหัวรับได้เฉพาะดาวเทียม NSS6 จากลักเซมเบิร์ก ตอนนี้ยังดูฟรีทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องไม่ได้ เพราะช่องไม่ได้จ่ายเงินให้เหมือนไทยคม

ตัวแทน IPM ชี้แจงว่าราว 7 แสนกล่องที่รับผ่านหัวจานไทยคมได้แล้ว แต่มีอีก3ล้านกว่าครัวเรือนที่มีจานรับหัวเดียวจากNSS6 ทำให้ดูทีวีดิจิตอลไม่ได้ เบื้องต้นทาง IPM เสนอทางเลือกให้ครัวเรือนจ่ายเงินติดหัวจานไทยคมหรือซื้อกล่องใหม่ (ซึ่งเป็นภาระผู้บริโภค) อีกทางออกหนึ่งคือรอคูปอง กสทช.

หรืออีกทางออกหนึ่งช่วย 3 ล้านครัวเรือน คือ กสทช. ช่วยเจรจาการ Must carry ผ่านโครงข่าย IPM ของดาวเทียม NSS6 ซึ่งจะเป็นภาระของ 24 ช่องอีก ภาพรวมของคนดูผ่านจาน IPM กว่า3 ล้านครัวเรือนที่ดูทีวีดิจิตอลไม่ได้ คงต้องหารือ กสท. ในการคิดหาทางออกอื่นๆดูก่อน

ในส่วนของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทางอนุผู้บริโภคฯขอให้ทาง IPM ไปเคลียร์ปัญหาเรื่องร้องเรียนของทุกเคส รวมคนที่ต้องการคืนกล่องด้วย นอกนั้นอนุผู้บริโภคฯให้ IPM ชี้แจงปัญหา ผลกระทบ และข้อเท็จจริงมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่อนุกรรมการฯจะได้มีแนวทางพิจารณาเสนอ กสท.ต่อไป เพราะแม้ดาวเทียม NSS6 จะไม่ได้เป็นดาวเทียมทางการที่ได้รับใบอนุญาตหรือสัมปทานในประเทศไทย แต่ de facto ครัวเรือนมีกล่องที่รับผ่านจานนี้มากว่า10ปี

วันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ค. นี้ สำนักงาน จะเชิญผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมทั้งหมดมาประชุมร่วมกับไทยคม เพื่อจัดตั้งกลไกการกำกับดูแลร่วมกับ กสทช. 30 ก.ค. สำนักงาน เชิญผู้ประกอบการขายTV กล่องดิจิตอลทีวีและร้านค้าปลีก Modern trade มาชี้แจงทำความเข้าใจครั้งใหญ่ วันที่ 1 ส.ค. เชิญรายที่มีปัญหาอาจโดนจ่อแบล็กลิสต์

เนื่องจากดิฉันมีหน้าที่ตรงในการดูแลเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกล่องต่างๆของ pay TV จึงมีเรื่องนี้เยอะหน่อยนะคะเพราะเป็นหน้างานทุกสัปดาห์ เรื่องอื่นๆก็ให้ความสำคัญเช่นกันแต่บางทีอยู่ในกระบวนการอนุกรรมการฯชุดอื่นและในขั้น สำนักงาน ก็จะไม่ทราบรายละเอียดจนกว่าเรื่องจะเข้าบอร์ด กสท.

อนุกรรมการฝั่ง กสท. มีราว 20 ชุด ดิฉันเป็นประธานดูแลตรงอยู่ 2 ชุดคืออนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และ อนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง ดังนั้น ความเคลื่อนไหวจากอนุกรรมการ 2 ชุดที่ดูแลตรงนี้ จะสามารถรายงานความเคลื่อนไหวได้ละเอียด เรื่องอื่นๆ รอ สำนักงานชงเข้าบอร์ดเพื่อทราบก่อนลงมติ

……………………
วันนี้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค แถลงข่ายไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนประมูล 4G คลื่น 1800 ที่หมดสัมปทาน หรือ คลื่น 900 ที่กำลังจะหมด เพราะมองว่าทำให้รัฐเสียประโยชน์จากมูลค่าคลื่นความถี่และเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนที่ยังอยู่ในระบบเดิม ส่วนผู้บริโภคยังไม่มีหลักประกั

นอกจากนั้นยังเสนอว่าถ้าจะมีการปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปโทรคมนาคม สื่อสารมวลชน และ กสทช. ควรต้องรับฟังความเห็นรอบด้านและเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมและผู้บริโภคด้วย

ตามนั้น โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ ตอนนี้ก็มีข่าวว่าจะมีการปลด หรือ ยุบ กสทช. มาทุกวัน ทำใจได้แล้ว เปลี่ยนคนไม่เป็นไร แต่ถ้าจะเปลี่ยนหลักการสำคัญในกฎหมายในชั้น สนช. หรือ สภาปฏิรูป คสช. และ กลุ่มต่างๆก็ควรฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เคยต่อสู้เรื่องนี้มา ต้องถ่วงดุลความคิดเห็นจากภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และ ภาคประชาชน อย่างสมดุลกัน

เร็วๆนี้จะให้ สำนักงานจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลม ระดมข้อเสนอถ้าต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และการกำกับดูแลอีกครั้ง หลังมีรัฐธรรมนูญมีการเปลี่ยนแปลงอีกครา…..ไม่รู้จะพูดอย่างไร กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทำงานเรื่องนี้มา 2 ทศวรรษ มาถึงจุดนี้ก็ไม่รู้ว่าปัญหามันอยู่ที่คน กฎหมาย ระบบ หรือ สังคมไทยกันแน่
คงต้องฝากทุกภาคส่วนช่วยกันติดตาม จับตา การแก้กฎหมายหรือความเปลี่ยนแปลงต่อจากนี้ไป ระหว่างนี้ก็ช่วยเร่งรัดให้ กสทช. ทำงานในหน้าที่ควรจะทำ เช่น การจัดสรรคลื่นความถี่ฯ และ การกำกับดูแลอย่างจริงจังขึ้น คสช. กสทช. และ ผู้มีอำนาจรัฐควรรับฟังความเห็นจากองค์กรผู้บริโภคและภาคประชาสังคมให้มากขึ้น….