มีผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อนาคตไทยอาจเหมือนกรีซ คือรัฐจะไม่มีเงินจ่ายเงินบำนาญหรือค่าจ้าง…

Summary of my work & thoughts yesterday on Media Consumers protection & Roadmap for NBTC reform.

วันนี้ 25 ก.พ.ครบรอบ 85 ปี การเริ่มออนแอร์ครั้งแรกสุดของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ที่ผู้คนเรียกขานวิทยุสมัยนั้นว่า ‘หูทิพย์’ สำหรับผู้ประกอบการวิทยุกลุ่มทดลองประกอบกิจการฯ

แนะนำอ่าน TL ในทวิตเตอร์ ของ @tube_nbtc ผู้อำนวยการสำนักฯ ที่ดูแลเรื่องมาตรฐานทางเทคนิคของสถานีต่างๆให้เป็นไปตามกติกา ตามลิงค์ข้างล่างค่ะ

เมื่อวานนี้หมดพลัง ไปกับประชุมอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กสท. ที่สำนักคุ้มครองผู้บริโภคฯ เสนอให้อนุฯ พิจารณาเรื่องร้องเรียนเพียบ โดยเฉพาะกับ ‪#‎GMMz ‪#‎GMMb ‪#‎CTH ในช่วงนี้

งานแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนกิจการทีวีบอกรับสมาชิกหรือ ‪#‎PayTV ชวนเมื่อยมากสุด ไม่สนุกเลย แต่เป็นหน้าที่ ท่านใดเจอปัญหาร้องเรียนมาตรงได้ที่ Call Center 1200 ทุกรายจะผ่านมือของสำนักงาน/ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค/ และ ดิฉันทุกเคส ก่อนเสนอ กสท. ยุติเรื่องหรือมีมาตรการทางปกครองกับผู้รับใบอนุญาตต่อไป

ช่วงนี้ สนง. และ อนุกรรมการฯ ก็ตามทวงตามจี้บริษัท #GMMz  #GMMb  #CTH ในการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนสมาชิกทั้งรายเคสและภาพรวม

ฝากท่านที่ active ใน pantip.com ช่วยแนะนำให้สมาชิกแต่ละรายช่วยร้องเรียนตรงมาที่ กสทช.ด้วย ทุกเคสจะได้รับการพิจารณาในอนุฯ และ กสท.

ทางเอกชนหรือ operators มักจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนที่ผ่านมาทาง กสทช. ก่อนช่องทางอื่น เพราะมีข้อบังคับทางกฎหมายปกครอง

แม้ว่ากระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนใน กสทช. จะล่าช้าอยู่บ้าง แต่ทุกเรื่องจะได้รับการติดตามแก้ไขปัญหาตามกฏหมายจนขั้นสุดท้าย #payTV

วานนี้เชิญตัวแทนฝ่ายกฎหมาย #CTH มาชี้แจง ติดตามเคสร้องเรียนอีกรอบ หลังจากมีคดีที่ศาลปกครองประเดิมไปแล้ว คาดว่าจะตามมาอีกหลายคดี ปัญหาเขาค่อนข้างแยะทีเดียว

นอกนั้นก็พิจารณาเรื่องร้องเรียน ‪#‎GMM Z จำนวน 16 วาระรวด จากบ่ายครึ่งถึง5โมงเย็น ส่วนใหญ่ไกล่เกลี่ยชดเชยเยียวยาได้ แต่ก็ถือว่ากระทบสิทธิ์ผู้บริโภค

….

ตามด้วยวาระการเชิญทางตัวแทนบริษัทซุปเปอร์เช็ง แซทเทิลไลท์ / อย. / ตำรวจผู้บริโภค ปก.ปคบ. และ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคมาชี้แจงเพิ่มเติม กรณีที่บริษัทดังกล่าวได้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดาวเทียม แต่บอร์ด กสท. ยังไม่พิจารณาอนุญาตให้ เนื่องจากประวัติการกระทำผิดในอดีต

แม้ว่าวันนี้ทางตัวแทนบริษัทจะชี้แจงว่าได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบกรรมการบริษัทฯ (โดยไม่มีป้าเช็งร่วมแล้ว) และ ผังรายการจะไม่โฆษณาน้ำหมักเป็นอาหารและยาแล้ว แต่บอร์ด กสท.ก็มีมติให้อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ มาพิจารณาผลกระทบและมิติทางกฎหมายอีกรอบ เคสนี้น่าหนักใจ

….

เมื่อวานบ่ายที่ สนง. มี focus group เรื่องร่างประกาศเรียงลำดับช่องและการจัดหมวดหมู่ใหม่ด้วย แต่ไม่ได้เข้าฟัง เพราะติดประชุมอนุคุ้มครองแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว

จริงๆเป็นบอร์ด กสท./กสทช. ไม่ต้องลงมาเป็นประธานอนุกรรมการเองก็ได้ เพราะงานจะจุกจิกมาก แต่ก็เลือกเป็นเอง จะได้เห็นรายละเอียดเคสก่อนเข้า กสท.

ส่วนอนุกรรมกรชุดอื่นๆ ไม่ได้ไปนั่งในอนุ กก.เอง แต่ใช้วิธีส่งตัวแทนไปติดตามเรื่อง แล้วมาบรีฟก่อนที่ สนง.จะชงเรื่องต่างๆจากอนุกรรมการฯเข้าบอร์ด

ตอนนี้อนุกรรมการส่วนใหญ่ของ กสทช. ส่วนใหญ่ถูก pending คือยังไม่ต่ออายุให้ รอปฏิรูปโครงสร้างองค์กรใหม่ แต่ของฝั่ง กสท. มีต่ออายุอนุกรรมการฯ 5 ชุดคือ

1.อนุคุ้มครองผู้บริโภค
2.อนุส่งเสริมการแข่งขัน
3.อนุติดตามคดีปกครอง
4.อนุกำกับผังและเนื้อหารายการ
5.อนุกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ (เคเบิลทีวี และ ทีวีดาวเทียม)

อนุกรรมการ 5 ชุดดังกล่าว คือ 5 ชุด ที่กรรมการ กสท. 5 คน แบ่งงานกัน ก็คงจับคู่ได้ว่า บอร์ด กสท. 5 คน คนไหน กำกับดูแลอนุกรรมการชุดใด ก่อนชงเรื่องตรงเข้า กสท.

หลังจากหั่นจำนวนอนุกรรมการลงตามนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร ตอนนี้เป็นขั้นตอนหั่นสำนักงานภายใน กสทช.เอง ซึ่งยากกว่าพันเท่าเพราะกระทบพนักงานประจำ

บอร์ดใหญ่ กสทช. หารือยกแรกที่บางแสนไปเมื่อวันเสาร์ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแต่ยังไม่ฟันธง คลื่นใต้น้ำใน สนง.ก็มากอยู่ บอร์ดจะกล้าจัดระเบียบใหม่แค่ไหน ในขณะที่ปัจจัยภายนอกเข้ามาจัดระเบียบบอร์ด กสทช. ตอนนี้บอร์ด กสทช. ก็เลยมาจัดระเบียบโครงสร้างต่างๆในองค์กรต่อ แต่จะไปได้แค่ไหน ต้องติดตาม

ได้แต่ภาวนาว่าไม่ใช่จัดระเบียบไปมา สรุปโครงสร้างองค์กรใหม่เนียนๆ ขยายเพิ่มเชิงซับซ้อนกว่าเดิม เหมือนหน่วยราชการอื่นๆ (หรือเหมือนเรื่องการคิดค่าโทรเป็นวินาทีที่ถูกทำให้ซับซ้อนกว่าเดิมอีก)

เท่าที่ดูประวัติส่วนราชการไทย หลังปฏิรูปโครงสร้าง จะเกิดองคาพยพใหม่ ตำแหน่งใหม่ กลไกใหม่ ยากจะเลิกจ้างบุคคลากรรัฐที่ล้นเกิน แค่ปรับรูปแบบใหม่เท่านั้นเอง

มีผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อนาคตไทยอาจเหมือนกรีซ คือรัฐจะไม่มีเงินจ่ายเงินบำนาญหรือค่าจ้างข้าราชการหรือบุคคลากรของรัฐ ถ้าไม่บริหารใหม่ให้ดีกว่านี้

ถ้าระบบราชการไทยบริหารข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพเหมือนเอกชน อาทิ มีระบบประเมินงานตาม merit จะช่วยพัฒนาศักยภาพหน่วยงานรัฐได้ดีกว่านี้

ปัญหาของหน่วยงานราชการหรือพนักงานของรัฐ มักจะชงเรื่องตามทิศทางของผู้มีอำนาจบริหารในองค์กรเวลานั้น มากกว่าจะยึดหลัก public service/interest โดยแท้

เรามักเห็นปรากฏการณ์แบบ ใครใกล้ชิดนายมักได้ดี ส่วนใครตั้งใจทำงาน ตรงไปตรงมาดีมักโดนเขม่น พอปล่อยไปสักพักก็จะเข้าสู่ระบบตามน้ำ ข้าราชการหรือพนักงานดีๆ ก็จะถอดใจ

….

โครงสร้างใน กสทช. ถือว่า ‘บวม’ และ ‘บาน’ ออกเรื่อยๆ ถ้าเทียมกับองค์กรกำกับหรือ regulator ในอังกฤษอย่าง OFCOM / FCC ในสหรัฐฯ ที่ขอบข่ายงานคล้ายกัน

ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่จะปฏิรูปองค์กร แต่ขอแบบปรับให้กระชับ สมส่วนขึ้น ไม่ใช่บวมกว่าเดิม

เป็นบอร์ด กสทช. แล้วมาทวิตแบบนี้ ก็คงไม่ได้ใจ พนง.เท่าไหร่ แต่ก็พูดความจริงจากใจ ไม่ใช่ไม่รักองค์กร ถ้าเราไม่ปฏิรูปตนเองก่อน คนอื่นจะยุบเราแทน ตอนนี้สังคมก็แทบไม่ยืนข้าง กสทช. อยู่แล้ว

ในฐานะบอร์ดเสนอให้สำนักงาน/พนง. ปฏิรูปองค์กร ส่วนตัวก็พยายามเคร่งครัดตนเองด้วย ไม่ใช่เป็นบอร์ดที่สุขสบายแล้วมาเคร่งครัดแต่ พนง.ฝ่ายเดียว เพราะบอร์ดก็ควรต้องปรับปรุงตัวเองด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่าง ปีที่ผ่านมาตนเองเดินทางไปต่างประเทศน้อยกว่า ผู้อำนวยการสำนักบางสำนักใน กสทช. (ไม่ใช่บ่นหรือน้อยใจ แต่ยกตัวอย่างข้อเท็จจริง)

ทั้งนี้ระดับผู้อำนวยการสำนัก กสทช. มีสิทธิ์บินในชั้นธุรกิจทุกคน ซึ่งตอนนี้ กสทช. มี 50 กว่าสำนักแล้ว (เยอะกว่ากรมในกระทรวงอีกกระมัง แต่สังคมไม่ค่อยรู้)

ระบบที่ผ่านมาคงหลวมไปจริงๆ

ผู้เชี่ยวชาญจากอนุกรรมการบริหารงานบุคคลที่มาร่วมประชุมที่บางแสน ถึงกับเอ่ยปากว่า สำนักใน กสทช. เยอะเกินไป มากเกินกว่าจะรับได้ แนะ กสทช. ต้องตั้งปณิธานในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรจริงจังสักที

‪#‎คหสต บางเรื่องระดับพนักงาน/สนง. ก็ spoiled กว่าบอร์ดอีก (แต่บอร์ดบางเรื่อง บางท่านก็ spoiled มากไปเช่นกัน)
แน่นอนส่วนหนึ่งมีความจำเป็นและเป็นการเสริมแรงใจให้พนักงาน เพราะไม่เช่นนั้นคนเก่งจะออกจากราชการไปทำงานกับเอกชนหมด แต่สุดท้ายก็ต้องหาจุดที่พอดี ทั้งข้าราชการการเมือง (แบบบอร์ด) หรือข้าราชการประจำ (แบบพนักงาน)

ล่าสุด กสทช. ก็มีนโยบายจำกัดการเดินทางไปต่างประเทศทั้งของบอร์ดและพนักงานแล้ว ภาพรวมดูดีขึ้น แต่ก็ต้องดูภาคปฏิบัติจริงต่อไป รวมทั้งการประกาศจะปฏิรูปองค์กรในมิติอื่นๆด้วย ก่อนที่ปัจจัยภายนอกจะมาเปลี่ยนแปลงหรือยุบองค์กรนี้ทิ้งในที่สุด

จากกระแสข่าวองค์กรจะถูกยุบและการตรวจสอบธรรมาภิบาลที่ผ่านมา ด้านบวกก็ส่งผลให้องค์กรและคนใน กสทช.ตื่นตัวมาปรับปรุงมากขึ้น แต่คงไม่ใช่แบบไฟไหม้ฟางนะ

สังคมต้องช่วยติดตามต่อไป ยืนยันรักษาความเป็นอิสระขององค์กร กสทช. แต่แก้ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล ประสิทธิภาพการทำงานทั้งบอร์ด และ สำนักงาน

พรุ่งนี้ต้องไปพูดเรื่องนี้อีกรอบในเวทีข้อเสนอ *การปฏิรูปสื่อ และอนาคต กสทช.* ที่ ThaiPBS ไว้มาขยายรายละเอียดหเพิ่มเติมค่ะ

….