ว่าด้วยมติเสี่ยงแห่งปีของ กสทช. กรณี คลื่น ‪#‎2600MHz

3 ก.ย. 58

ว่าด้วยมติเสี่ยงแห่งปีของ กสทช. กรณี คลื่น ‪#‎2600MHz

My brief minority report on #2600MHz against MCOT’s frequencies ownership after NBTC Panel’s decision Monday. The most legally a risky case for the majority ‪#‎imho.

คลื่น 2600 MHz นั้น ในแผนความถี่ฯ กสทช. ระบุไว้ว่าเป็นกิจการด้านโทรคมนาคม ถ้ารัฐวิสาหกิจจะถือครองคลื่นเพื่อทำ กิจการต่อโดยไม่ประมูลก็ต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง (จริงๆ) ถ้ารัฐวิสาหกิจยังถือครองคลื่นความถี่ไว้เองและใช้ทำธุรกิจ แต่บอกว่าไม่ใช่เป็นแนว “สัญญาร่วมการงาน” แต่ให้เอกชนมา “รับจ้าง” ทำของให้สังคมจะงงไหม?

ถ้าจะใช้คลื่นโทรคมนาคม 2600MHz เพื่อทำธุรกิจ ตามกฎหมายต้องประมูลคลื่นก่อนไหม เพราะแม้แต่ CAT และ TOT ยังต้องเข้าประมูลคลื่น #900 #1800 ก่อนเลย กรณีคลื่น #900 #1800 ถ้าตีความว่าคลื่นนั้นยังเป็นของรัฐวิสาหกิจหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด กสทช.ก็จะนำมาประมูลไม่ได้ แต่ #2600 ไม่ต้องประมูลเช่นกันกับคลื่นอื่นๆที่หมดสัญญาสัมปทาน?

คลื่น2600 MHz เดิมทีนั้น สัญญาสัมปทานระหว่าง @TrueVisions กับ อสมท.สิ้นสุดไปแล้ว แต่บอร์ด กสทช.(ข้างมาก) บอกว่า อสมท. ยังมีสิทธิ์ในคลื่นอยู่ต่อไป ‪#‎เครียดแทน

คลื่น1800 และ 900 บอร์ด กสทช. เห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์ว่าต้องนำคลื่นมาจัดสรรใหม่โดยการประมูล 4G หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด แต่กรณีคลื่น #2600 อสมท. กลับเห็นต่างกัน ถ้า CAT & TOT ลุกขึ้นมายืนยันสิทธิในการถือครองคลื่นความถี่เดิมไว้หลังสัมปทานสิ้นสุด โดยอ้างการกลับมติ กสทช.กรณี #2600 ของ อสมท. บ้าง อะไรจะเกิดขึ้น? แม้บอร์ด กสทช. จะมีเหตุผลในการอธิบายข้อกฎหมายว่าทำไม อสมท. ยังมีสิทธิ์ในการถือครองคลื่นความถี่หลังสัมปทานสิ้นสุด แต่เรื่องนี้เสี่ยงมากๆ‪#‎คหสต.

ที่สำคัญ กรมประชาสัมพันธ์ที่ถือครองคลื่นในลักษณะเดียวกันกับ อสมท.ก่อนหน้านี้บอร์ด กสทช. ลงมติฟันธงไปแล้วว่า สัญญาภายหลังขัด ไม่มีสิทธิ์ในการถือครองต่อ จึงทำให้ทางกรมประชาสัมพันธ์ไปฟ้องศาลปกครองต่อมติ กสทช. ดังกล่าว ในขณะที่กรณี อสมท.บอร์ดใหญ่ใช้ 7 เสียงโหวตทบทวนมติเดิมให้ถือครองคลื่นต่อได้

เรื่องคลื่นลักษณะเดียวกัน แม้คนละหน่วยงาน แต่บอร์ด กสทช. ลงมติต่างกันไปคนละทาง #‎PRD ‪#‎MCOT ‪#‎MMDS กรณีคลื่น 2600 MHz ครั้งแรกบอร์ดใหญ่ลงมติตามบอร์ด กสท. ไปแล้วว่าสัญญาของ อสมท.กับเอกชนหลังสัมปทานนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและสิทธิ์ในคลื่นสิ้นสุด แต่บอร์ดใหญ่มาโหวตทบทวนมติใหม่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา #MMDS

ส่วนตัวสนับสนุนการมีเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย หรือทีวีบรอดแบรด์ BWA แต่ถ้าบรรทัดฐานเรื่องสิทธิ์ในการถือครองคลื่นและการประกอบกิจการยังไม่เคลียร์ ปัญหาจะยุ่งเหยิงตามมา

ถ้าใครยังไม่ลืมกรณี ‪#‎BFKT ‪#‎CAT ‪#‎TrueMove ที่เรื่องนี้ กสทช. (กทค.) ยังมีคดีค้างอยู่ที่ ป.ป.ช. การประกอบกิจการคลื่น 2600 MHz จึงเสี่ยงมาก ‪#‎เสี่ยงมาก

เห็นตัวอย่างกรณี ‪#‎กรุงไทย แล้วสยองมาก อดีตมันไล่ล่าเราเสมอ ดูเหมือนไม่มีปัญหาวันนี้แต่เราก็ไม่อาจรู้อนาคต จึงต้องระวังรอบคอบให้มากที่สุด เรื่องนี้ยาวแน่นอน จับตาดูต่อไป #คหสต. ที่บอร์ดใหญ่กลับมติให้ อสมท.ถือครองคลื่นต่อได้อาจยังไม่เสี่ยงเท่า ตอนจะออกใบอนุญาตการประกอบกิจการฯให้ต่อจากนี้ ถามว่าแล้วบอร์ดเล็ก กสท. หรือ กทค. จะต้องเป็นคนออกใบอนุญาต (ต้องดูว่าจะขอทำกิจการอะไร) แต่ในแผนแม่บทคลื่นความถี่ของ กสทช. เอง #2600MHz ระบุไว้เป็นกิจการโทรคมนาคม ส่วนตัวแสดงจุดยืนในการลงมติไว้แล้ว จะทำคำสงวนความเห็นต่อไป โหวตแพ้ก็เริ่มปล่อยวาง แต่เป็นห่วงบอร์ดเสียงข้างมากมากว่า เคสนี้จะวัวพันหลัก เสี่ยงทางกฎหมาย

ย้ำอีกครั้ง การใช้คลื่นเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมทางธุรกิจ กฎหมายปัจจุบันยังระบุว่าต้องผ่านการประมูล(แม้มีข่าวว่าจะแก้ กฎหมายใหม่แต่ยังไม่เกิด) ถ้าหลายท่านอาจนึกภาพความสับสนยุ่งเหยิงไม่ออก ลองไปทบทวนข่าวกรณีการประกอบกิจการโทรคมนาคม #BFKT ในอดีต

เวลานี้ สังคมคงจะงงเรื่องนี้ แต่ถ้า อสมท.ไปว่าจ้างเอกชนมาให้บริการ ‘ทีวีบนมือถือ’ ผ่านเทคโนโลยี BWA บรอดแบนด์ไร้สายขึ้นมาจริงๆ เรื่องคงดัง เพราะผลคงจะกระทบคงชิ่งถึงทั้งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไร้สาย และอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินที่ลงทุนประมูลคลื่นแพงๆกันไปด้วย #2600MHz

จากนี้ก็รอดูว่าทาง อสมท.จะมายื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการคลื่น 2600 จาก กสทช. (กทค. หรือ กสท.?) เพื่อนำไปทำอะไร แล้วบอร์ดจะให้อนุญาตลักษณะใดกัน ย้ำเรื่องนี้ เพื่อแจ้งให้ทุกท่านทราบจุดยืนโดยทั่วกัน ไว้เป็นทวิต+FBอ้างอิงเชิงประจักษ์ คู่ไปกับบันทึกสงวนในรายงานการประชุมบอร์ด กสทช. #2600MHz

ต่างคนต่างทำหน้าที่ ต่างความคิด จุดยืน ต่างต้องผิดชอบการตัดสินใจของตน ถ้ามั่นใจแล้ว ที่เหลือก็ปล่อยให้สังคมและกฎหมายทำงานต่อไป เราคงไปอธิบายความคิดของคนอื่นไม่ได้ แต่เราต้องอธิบายความคิดของเราเองได้ และตอบตนเองได้ทุกข้อว่าทำไมเราถึงตัดสินใจเช่นนั้น ‪#‎ปล่อยวาง

…….

Btw, ยังไม่ได้สรุปงานวันที่ผ่านมาเลยค่ะ ยังไม่ได้ตอบ Q&A หลายท่านในทวิตเตอร์ วันนี้สมาธิจดจ่อเรื่องอื่นๆ ไว้มาชดเชยพรุ่งนี้ มีเรื่องน่าสนใจด้วย เล่าสั้นๆว่า มีตัวแทนบริษัทช่องรายการทีวีของอินเดียในไทยมาพบเพื่อหารือ (บริษัทที่ผลิตหนังพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก) เขามีช่องดาวเทียมใน CTH ด้วย ภาพยนตร์ในลิขสิทธิ์ของกลุ่มสื่ออินเดียช่องนี้ กำลังมีคิวจะออนแอร์ในดิจิตอลทีวีอีก คาดว่าคนดูคงติดตามไม่แพ้เรื่องพระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก แนะนำเขาว่าควรขายสิทธิ์ให้ฟรีทีวีเยอะๆ จาก feedback เรื่องพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก คนไทยชอบไม่น้อย แต่เขาวางโพสิชั่นจะโปรโมทช่องเขาเองในดาวเทียมด้วย

วันนี้เขายังมาร้องเรียนปัญหากล่อง IPTV ละเมิดลิขสิทธิ์ช่องภาพยนตร์ผ่านระบบOTT ที่ยังมีช่องโหว่ใน กม.ไทย ให้ กสทช.และหน่วยงานรัฐอื่นๆต้องแก้ไข ไว้มาขยายความค่ะ

……..

การสนับสนุนแนวทางสำรวจเรตติ้งระบบใหม่สะดุดอีก วันนี้บอร์ดกองทุน กทปส. ตีเรื่องกลับมา กสทช.หลัง บ.นีลเส็นและช่อง7 ยื่นหนังสือทักท้วงการให้ทุน MRB สำรวจเรตติ้ง ต้องเจออุปสรรคได้ทุกเรื่องทุกราวจริงๆ ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวี ทั้งมติเทคโนโลยี และ การแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมในระบบใบอนุญาต

……

สุดท้ายวันนี้ สลดใจกับข่าวเด็กชายตัวน้อยผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมาก ปัญหาใหญ่ของยุโรป ที่ต้องหาทางออกให้ได้ พลังมนุษยธรรมของพลเมืองในยุโรปก็เริ่มส่งเสียงดังขึ้นๆ ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหาผู้ลี้ภัย คือการยุติสงครามกลางเมืองหรือการก่อสงครามในประเทศใดๆ แต่ถ้ายังยุติสงครามไม่ได้ ก็ต้องหาทางช่วยเหลือชีวิตคนไว้ก่อน

…….