“พลังของผู้ใช้ในโลกออนไลน์จะคอยถ่วงดุลระหว่างผู้ดูแลระบบซึ่งอยู่อีกซีกหนึ่งของโลกกับรัฐชาติ ความโปร่งใสคือหัวใจของ *network* ทั้งองคาพยพ”

10 ส.ค. 59

NBTC has no legal power to ban online game ‪#‎PokemonGo, we need a peer-to-peer NOT top – down approach to handle all disruptive technology/economy.  Notice & take down measure is a regular practice but it should be transparent & engaged by all (global) users & within society. Literacy should be encouraged. More to discuss.

ถามมามากเรื่อง ‪#‎PokemonGOth ตอบว่า

1.วันนี้ประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.ไม่มีวาระนี้แต่อย่างใด

2. กสทช.ไม่มีอำนาจ ‘แบน’ เพราะเกมไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาต

สำหรับความเห็นส่วนตัวเลขาธิการ กสทช.นั้นท่านได้ชี้แจงผ่าน @TakornNBTC ไว้แล้วว่าไม่ได้พูดว่าจะแบนและ กสทช.ก็ไม่มีอำนาจแบนเกม #PokemonGOth

กสทช.ไม่มีอำนาจแบนเกมเพราะบริการ “แอพ” ทั้งหลายไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาต ส่วนการขอให้ผู้พัฒนาเกมลบบางพื้นที่เป็นกระบวนปรกติ ขอไปก็รอเขาตอบกลับมา

นอกจาก กสทช.(ยัง)ไม่มีอำนาจ’แบน’เกมออนไลน์แล้ว ก็ไม่มีอำนาจกำหนดเวลาประชาชนทั่วไปในการเล่นเกม แต่ขึ้นอยู่กับ กฎหมายเฉพาะหรือกฎของหน่วยงานนั้น

อำนาจ กสทช.ตรงคือการกำกับดูแลผู้ให้บริการมือถือเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคในแง่คุณภาพของสัญญาณ ราคา เป็นต้น หรือการส่งเสริมให้มี Game/online literacy. เรื่อง #PokemonGOth ยังไม่ถึงมือบอร์ด กสทช. แต่อยู่ในระดับ สำนักงานช่วยประสานงานกับภาคส่วนต่างๆและตามที่หน่วยงานภาครัฐขอความร่วมมือมา ในการขอความร่วมมือไปที่ผู้พัฒนาเกม กสทช.ทำงานแบบ Commissioner ดังนั้นทุกคนสามารถแสดงความเห็นส่วนตัวได้อย่างอิสระ แต่ที่จะมีผลตาม กฎหมาย ต้องเป็น “มติบอร์ด” หรืออำนาจสั่งการบางเรื่องได้ในระดับสำนักงาน การแบนออนไลน์ไม่ใช่ทางออกอยู่แล้ว แต่กระบวนการ Notice & Take down (แจ้ง ร้องขอให้นำออกจากระบบ) เป็นเรื่องปรกติ เขาเรียกว่าการดูแลร่วมกันระหว่าง รัฐ สังคม และ ผู้ดูแลระบบ ในหลายประเทศที่การไล่จับตามเกมไปทับซ้อนในพื้นที่เฉพาะ เช่น สุสาน หรือสถานที่รำลึกเหตุการณ์สงครามโลก ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เขาก็แจ้งขอให้ลบออก ผู้ดูแลระบบก็ลบให้ กระบวนการ Notice & Take down หรือการแจ้ง ร้องขอ ให้นำออกจากระบบ ด้วยเหตุผลต่างๆ นำไปสู่การเจรจากับผู้ดูแลระบบ แต่ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการ

โลกออนไลน์หรือเทคโนโลยีแบบนี้มีลักษณะ disruptive(ก่อกวน ปั่นป่วน)ในตัวของมันเองอยู่แล้ว แต่มันก็มีพลังสร้างสรรค์มาก ซึ่งรัฐชาติและ สังคมต้องปรับตัว ยกเว้นประเทศที่ยังไม่พร้อมจะจัดการกับภาวะ disruptive ของเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ เขาก็อาจต้องเลือกทางปิดกั้นหรือสร้างระบบของตนเองเช่น โมเดลจีน เช่นเดียวกับใน facebook ที่รัฐชาติไม่มีอำนาจไปแบนเนื้อหาที่วิ่งอยู่ในระบบ แต่จะมีกลไกให้เจรจากับผู้ดูแลระบบ ซึ่งควรต้องเปิดเผยโปร่งใสในกติกา การที่รัฐชาติส่งจดหมายขอเจรจากับผู้ดูแลระบบควรทำให้เปิดเผยมากกว่างุบงิบ เช่นเดียวกับการตอบกลับของผู้ดูแลระบบด้วย โดยมีคนทั้งโลกคอยมีส่วนร่วม

“พลังของผู้ใช้ในโลกออนไลน์จะคอยถ่วงดุลระหว่างผู้ดูแลระบบซึ่งอยู่อีกซีกหนึ่งของโลกกับรัฐชาติ ความโปร่งใสคือหัวใจของ *network* ทั้งองคาพยพ”

การจัดการกับ disruptive technology/economy ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการในรูปแบบเก่าแบบ Top down แต่จะเป็นแบบ peer to peer มากขึ้น คงเพราะเป็นเรื่อง “เกม” จึงทำให้หน่วยงานรัฐไทยแถลงเปิดเผยว่าขอเจรจากับผู้ดูแลระบบออนไลน์ ซึ่งจริงๆควรทำให้เปิดเผยโปร่งใสในทุกเรื่องที่ขอนำเนื้อหาออกจากระบบออนไลน์ ท่ามกลางความสับสนในข่าวเรื่อง #PokemonGOth ทุกภาคส่วนควรสรุปบทเรียนหาโมเดลที่ควรเป็นในการจัดการกับ disruptive technology อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ปิดกั้น ส่วนการส่งเสริมให้เด็กเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันเกม หรือ โลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่ควรและต้องทำอยู่แล้วตั้งแต่ในโรงเรียน กสทช.ช่วยหนุนเสริมได้ ภารกิจการส่งเสริมเรื่องรู้เท่าทันสื่อ/ออนไลน์ สำนักงาน กสทช.ทำมาอยู่แล้ว ก็ควรขยายผลมากขึ้น เป็นงานเย็นระยะยาวที่ดีๆ

….

เลยยังไม่ได้สรุปการประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.วันนี้ มีร่างประกาศฝั่ง กทค.ออกไปรับฟังความเห็น และงานบริหารภายในเช่นการปรับฐานเงินเดือนพนักงาน กสทช. เป็นต้น ไว้มาสรุปให้ทราบวันหลังค่ะ รวมทั้งความคืบหน้างานเรื่องอื่นๆด้วยค่ะ จริงๆช่วงนี้วุ่นวายกับปัญหาเรื่อง ‪#‎CTH วันนี้ทาง GMM ก็มีปัญหามาหารือ วันก่อนก็ไทยคม เพิ่งได้มาตามข่าว #PokemonGOth เพราะมีเมนชั่นถามมาเยอะ