กสท.เตรียมคืนสิทธิทีวีดาวเทียมเพิ่ม พร้อมใช้ยาแรงหากพบการโฆษณาอาหาร – ยาเกินจริง

กสท.เตรียมคืนสิทธิทีวีดาวเทียมเพิ่ม พร้อมใช้ยาแรงหากพบการโฆษณาอาหาร – ยาเกินจริง

จันทร์นี้- กสท.เตรียมปล่อยช่องดาวเทียมเพิ่ม หลังทำMOU ปรับผังรายการใหม่ไม่ทำผิดกฎหมายโฆษณาอาหาร – ยา เกินจริง//ด้าน กสทช.ร่วมมือกับผู้บริโภคเตรียมเฝ้าระวัง หากพบการกระทำผิดโทษสูงขึ้น

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า วันจันทร์ 30 มิ.ย. 57 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 28/57 มีวาระการประชุมน่าสนใจ ได้แก่ การพิจารณาแจ้งยืนยันการประกอบกิจการโทรทัศน์ประเภทไม่ใช่คลื่นบอกรับสมาชิก หรือช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ล ที่นอกจากจะต้องทำตามเงื่อนไข กสทช. ทั้งการต้องเข้ารหัสตอนส่งขึ้นดาวเทียมและเอาลงกล่อง และอนุญาตโฆษณาชั่วโมงละไม่เกิน 6นาที แล้ว มติ กสท.ล่าสุดได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกิจการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตรวจสอบผลช่องทีวีที่ละเมิดและเอาเปรียบผู้บริโภคพร้อมทำเงื่อนไขใบอนุญาตเพิ่ม

วันพฤหัสบดี 26 มิ.ย. 2557 นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า “ที่ผ่านมา ตนในฐานประธานคณะอนุกรรมการฯ พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการและสำนักงาน และ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กสทช. ได้เชิญผู้ประกอบการทีวีแบบบอกรับสมาชิกที่เข้าข่ายการเอาเปรียบผู้บริโภคจากการโฆษราเกินจริง มาทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อยืนยันว่าได้รับทราบและเข้าใจหลักเกณฑ์ที่เป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 และแนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  ซี่งหากกรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตาม ผู้รับใบอนุญาตฯ ยินยอมรับผิดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช.กำหนด แม้ว่าจะเจอเสียงบ่นจากช่องทีวีที่เจอประสบปัญหาเศรษฐกิจ แต่อนุกรรมการฯได้ยืนยันว่าทุกช่องต้องลงนามข้อตกลง การไม่ทำความผิดในการโฆษณาและประกาศการละเมิดผู้บริโภคอีก จึงเตรียมเสนอรายชื่อให้บอร์ด กสท.พิจารณาวันจันทร์นี้ หากได้กลับมาออนแอร์ ช่องที่ลงนามจะต้องส่งเทปกลับมาให้สำนักงานตรวจเป็นเวลา 2 เดือน ในเดือนแรกให้ส่งทุก 7วัน หลังจากนั้นจะสุ่มเรียกตรวจเทปที่ออนแอร์เป็นระยะ ซึ่งรวมช่องที่ผ่านการพิจารณาครั้งนี้จำนวน 80 ช่อง ในนี้มีทั้งช่องที่เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภค 60 ช่อง และไม่เข้าข่ายสามารถพิจารณาผ่านได้ 20 ช่อง ส่วนอีก 22 ช่อง ยังไม่ผ่าน เนื่องจากหลักฐานเอกสารยังไม่ครบ และบางช่องยังติดประกาศ คสช. ซึ่งการพิจารณาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีนี้ไม่เกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมือง เป็นเรื่องการกำกับดูแลโฆษณาอาหารและยาที่เกินจริง ”

“…โดยส่วนตัวแล้วมีหลายช่องไม่อยากให้ผ่านและเคยลงมติสงวนความเห็นไม่ต่อใบอนุญาตให้ก่อนหน้านี้ เพราะกระทำผิดตามกฏหมาย อย. แต่ในเมื่อครั้งนี้ทุกช่องยินดีขอล้างผังเดิมเสนอผังใหม่ และ ให้คำสัญญาว่าจะผลิตรายการที่มีคุณภาพมากขึ้นไม่โฆษณาผิดกฏหมาย อย. สคบ. หรือโอ้อวดเกินจริงอีก จึงถือเป็นการให้โอกาสทุกช่องได้ปรับตัวใหม่ แต่ถ้าพบการทำความผิดอีกจะเสนอให้ บอร์ด กสท. ระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป จากนี้ไปหากใครพบการโฆษณาที่เอาเปรียบผู้บริโภคสามารถร้องเรียนเข้ามาได้ รวมทั้งจะหารือกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการทำร่วมมือกับ กสทช. เพื่อมอนิเตอร์ช่องทีวีดาวเทียมต่อไป รวมทั้งการเร่งส่งเสริมกลไกการกำกับดูแลกันเองของช่อง โครงข่าย ผู้ประกอบการสื่อให้จริงจังมากขึ้น โดยร่วมกับสมาคมโฆษณาฯ และ สมาคมทีวีดาวเทียมฯต่างๆ ให้มีไทยคมเป็นแกนหลักในการกลั่นกรองและพัฒนา ยกระดับเนื้อหาในทีวีดาวเทียมให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นมา เพราะจากนี้โครงข่ายทีวี และกล่องที่นำช่องดาวเทียมต่างๆไปลง อาทิ  PSI IPM True Vision GMM RS CTH  ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ถ้าช่องนั้นโฆษณาผิดกฎหมาย …”สุภิญญา กล่าว
ส่วนวาระอื่นน่าสนใจติดตาม แนวทางการกำกับดูแลการให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ วาระการอนุมัติผังรายการหลัก (หลังแก้ไข) ทีวีดิจิทัล 5 ช่อง ได้แก่ อัมรินท์ทีวี ONE  BIG เนชั่นทีวี และวอยซ์ทีวี ส่วนวาระอื่นๆ ชวนจับตา…