“กสท.“ ให้สนง.ศึกษาแนวทางลดค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลใหม่ –พิจารณาอีกครั้ง12ต.ค.

“กสท.“ ให้ สำนักงาน ศึกษาแนวทางลดค่าธรรมเนียมทีวีดิจิตอลใหม่ –พิจารณาอีกครั้ง 12 ต.ค.

Summary from Broadcast Panel’s meeting today: No final solution for a revision of the ratio of regulatory/licenses fees yet after Office & sub-Com have suggested for 3 ways to calculate. Panel asked Office to elaborate once again with other actual factors & condition related to the expected incomes & legal contexts. Other issues are about law enforcement esp for cab/sat TV which the licenses are already expired & adverts exceeded more than 6 minutes per hour. Also a complaint from set-top boxes operators accusing that some officers asked for some bribe money for doing their routine job, so the Panel asked Office to set up a scrutiny committee to investigate and give answer to Panel within 15 days. More to report.

Off to home now. Likely done for today. Time to relax. Trying to tweet a daily report earlier now. Doing it at late night costs my health badly.

มติเรื่องสำคัญการประชุมบอร์ด กสท.วันนี้ เรื่องอัตราค่าธรรมกำกับดูแลไม่เกินร้อยละ 2 สรุปคือยังไม่ได้บทสรุปว่าจะเลือกแนวทางใดจาก 3 แนวทาง บอร์ด กสท. มีมติให้ สำนักงานด้านค่าธรรมเนียม กลับไปศึกษาเพิ่มเติมให้รอบด้าน รวมถึงการคำนวณรายได้ที่คาดว่าได้ และเหตุผล/หลักการในการปรับอัตรา

ประเด็นหลักๆที่ถกกันคือ กสท. สามารถปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมได้ โดยไม่สร้างภาระให้ผู้ประกอบการ แต่ กสท.ก็ต้องมีเงินรายได้พอในการทำงานด้วย ถ้า กสท.ปรับลดค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาตโทรทัศน์ลงไป แล้วรายได้เข้า กสทช.น้อย ทาง บอร์ด กทค.ก็อาจมองว่าจะไปกระทบการใช้งบของฝั่งโทรคมอีก

ที่ผ่านมา บอร์ด กสท.เก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตกำกับดูแลได้น้อยกว่าฝั่งโทรคมนาคมอยู่แล้ว เพราะแม้ทีวี-วิทยุหลายรายกว่า แต่เก็บได้น้อย เพราะทีวีช่องแอนะล็อกได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม กลุ่มวิทยุทดลองประกอบกิจการ 3 – 4 พันรายก็ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม เป็นต้น

ในขณะที่ฝั่งโทรคมนาคม แม้มีผู้ประกอบการน้อยรายแต่รายได้ต่อปีสูงมาก การเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ2 ต่อปีเข้า กสทช.จึงสูงมากกว่าฝั่งโทรทัศน์เยอะ บอร์ด กสท.จึงต้องพิจารณาว่า อัตราเก็บค่าธรรมเนียมฝั่งทีวีที่ไม่เป็นภาระผู้ได้รับใบอนุญาตจนเกินควร แต่ก็มีงบพอในการทำงาน เป็นเท่าใด เป็นต้น

นอกจากโจทย์ข้อแรกดังกล่าว ที่ต้องคาดการณ์รายได้ เพื่อคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องแนวคิดในการกำหนดอัตราแต่ละแบบ เมื่อทาง สำนักงาน เสนอแนวคิดออกมาเป็น 3 แนวทาง วันนี้บอร์ด ก็มีความเห็นกระจัดกระจายกันไปทั้ง 3 แนวทาง จึงยังไม่ได้ข้อสรุปที่ส่วนใหญ่เห็นร่วมกัน

ดังนั้น สำนักงานคงต้องกลับไปทำบทวิเคราะห์และเสนอทางเลือกให้บอร์ด กสท.พิจารณาอีกครั้ง พร้อมปัจจัยประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นคาดการณ์รายรับจริง ถ้าปรับลดค่าธรรมเนียมเฉพาะช่องฟรีทีวีดิจิตอล กลุ่มดาวเทียม เคเบิล MUX ก็อาจโวย แต่ถ้าปรับลดให้ทุกกลุ่มก็จะเก็บรายได้ไม่ได้เลย เป็นต้น

การกำหนดอัตราร้อยละของค่าธรรมเนียมใหม่หรือการปรับลดนั้น กสทช. มีอำนาจทำได้โดยกฎหมาย แต่ก็ต้องอธิบายตัวเลข หลักคิด เหตุผลประกอบได้ด้วยเช่นกัน ถ้าแนวทางได้อธิบายหลักการได้ชัดเจนถึงที่มาที่ไป กสท. ก็สามารถอธิบายเหตุผลในบอร์ดใหญ่ กสทช. ได้ ดังนั้นเรื่องนี้เสียงมติควรเอกฉันท์ ถ้า กสท. มีแนวทางปรับลดอัตราค่าธรรมเนียม แล้วรายได้รวมของ กสทช.ลด พอเข้าบอร์ดใหญ่ ทางบอร์ด กทค. ก็อาจจะถามบอร์ด กสท.ว่าทำไมลดจนเก็บได้น้อย พอทางฝั่ง กสท. เก็บค่าธรรมเนียมได้น้อย จนอาจไม่พอใช้ทำงานกำกับดูแล ที่ผ่านมาบอร์ด กทค.ก็เคยตั้งคำถามเชิงท้วงติงว่า ทำให้ต้องไปใช้งบฝั่งโทรคม

ทั้งนี้ใน ‪#‎คหสต. เมื่อรายได้เข้ามาเป็นงบรวม กสทช. งานฝั่ง กสท.ก็ควรมีสิทธิ์ใช้(ตามจำเป็น) เพราะรายได้รวมขององค์กรก็มาก(เกิน)พออยู่แล้ว สรุปยังไม่ได้บทสรุป แต่ก็มีความคืบหน้าเป็น 3 แนวทางที่ใช้เป็นตุ๊กตา แต่ สำนักงานต้องไปนวดมาอีกที และผูกโยงกับรายได้ช่องคู่ขนานด้วย (3-7-9&HD)

ประเด็นของช่องที่ออกเนื้อหา 2 ระบบ (ช่อง 3 – 7 – 9) คือ ใบอนุญาตแอนะล็อกระบบสัมปทาน เขาไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมร้อยละ2 แต่ใบอนุญาตช่องดิจิตอลHD ต้องจ่าย ปัญหาคือ ช่องที่ออกเนื้อหาคู่ขนาน 2 ระบบ(3-7-9) แจกแจงรายได้ที่มาจากใบอนุญาตแอนะล็อก และ ดิจิตอล ไม่ตรงกับแนวทางการคำนวณของ กสทช. ทางช่องแอนะล็อกเดิม พยายามบอกว่ารายได้ส่วนใหญ่มาจากระบบแอนะล็อกเดิม ซึ่งมันขัดกับความเป็นจริง เพราะ กสทช. นับการออนแอร์ผ่านดาวเทียมเป็นดิจิตอล

ระบบแอนะล็อกหรือสัมปทานได้รับการคุ้มครองก็จริง แต่คือระบบเดิม ลดน้อยลงทุกวัน ส่วนระบบดาวเทียม/เคเบิล(MustCarry)+T2 คือถือเป็นใบอนุญาตดิจิตอลแล้ว สมมติว่ารายได้100บาท แล้วช่องแอนะล็อกบอกว่า ได้มาจากระบบแอนะล็อก 90 บาท ระบบดิจิตอล 10 บาทนั้น ย่อมสวนทางกับข้อเท็จจริง ซึ่งจริงๆควรกลับกัน

ปัญหาต่อมาที่พบคือใน กสท. ก็ยังคำนวณตัวเลขไม่ตรงกัน เลยไม่ได้บทสรุปสักที แต่สำหรับดิฉัน มองว่า ถ้ารายเดิมแทบไม่ต้องจ่าย แต่เคี่ยวรายใหม่ ก็ใช่ที่ ถ้าคำนวณสูตรแบบช่องเดิมว่ารายได้มาจากแอนะล็อกส่วนใหญ่ แม้รายได้รวมนับหมื่นล้าน ก็จะจ่ายค่าธรรมเนียมดิจิตอลเล็กน้อยมาก ในขณะที่ช่องใหม่ต้องจ่ายเต็ม

ทั้งหมดคือโจทย์ยุ่งยากเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม เพราะมีทั้งประเด็นการจัดเก็บรายได้เข้า กสทช. และ ความเป็นธรรมในอุตสาหกรรมทีวีและการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การที่ช่องเดิม ยอมมาประมูลแล้วออนแอร์ 2 ระบบ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน ในฐานะ กสทช. ก็ขอขอบคุณในจุดนี้ ถือว่าเขายอมปรับตัว

เราก็ควรนับ merit จุดนี้มาคิดนโยบายทั้งหมด ว่าการที่เขา(ยอม)ปรับตัวสู่ระบบใหม่ ก็เป็น contribution แต่เราก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับรายใหม่ด้วยเช่นกัน ถ้ารายได้ 100 บาท ช่องใหม่เขาต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากฐาน 100 บาทเต็ม แต่ช่องเดิมเขาจะแยกรายได้จากแอนะล็อก – ดิจิตอลจากกัน ซึ่งทำให้ซับซ้อนมาก

จากความเห็นไม่ตรงกันนี้ ที่ผ่านมาบอร์ด กสท. มีมติมอบให้ สำนักงานไปทำแนวทางการสอบทานรายได้ของช่องเดิมที่แจกแจงมา 2 บัญชี และมีร่างแนวคิดการคำนวณ ร่างแนวคิดการคำนวณค่าธรรมเนียมแยก 2 ระบบ ของ สำนักงาน กสทช. ได้ผ่านการ focus group มาแล้ว มีความเห็นน่าสนใจ แน่นอนช่องเดิมไม่เห็นด้วยนัก

สรุปว่า รอความคืบหน้าต่อไป หลัง สำนักงาน กลับไปนวดแนวทางและผลการรับฟังความเห็นของแนวทางต่างๆ และบางร่างคงต้องไปทำโฟกัสกรุ๊ปต่อด้วย ‪#‎ค่าธรรมเนียม

วาระสำคัญที่ถกกันนานวันนี้เป็นเรื่องค่าธรรมเนียม ยากด้วย เพราะมีทั้งมิติทางเศรษฐศาสตร์ การเงินการบัญชี กฎหมาย สนใจถามท่าน Thawatchai Jittrapanun ได้ค่ะ #ค่าธรรมเนียม มันเป็นประเด็นกฎหมายด้วย การยกเว้นค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาต ทำไม่ได้อยู่แล้วตามกฎหมาย แต่ลดหย่อนได้ ซึ่งต้องมีเหตุผลอธิบาย ทางบอร์ด กสท. มีแนวนโยบายจะปรับลดอยู่แล้ว แต่ต้องรอบคอบข้อกฎหมาย และไม่ไปกระทบภาพรวมมาก เพราะบอร์ด กทค.อาจไม่เห็นชอบก็ได้เช่นกัน

ที่สำคัญ กสท./กสทช.ต้องตอบได้ด้วยว่า ถ้าปรับลดค่าธรรมเนียมที่ไม่เป็นภาระกับผู้ประกอบการแล้ว สุดท้ายผู้บริโภคจะได้อะไรเป็นรูปธรรม แนวคิดการปรับอัตราค่าธรรมเนียมวันนี้ ถ้าเข้ามาใหม่แล้วผ่านบอร์ด กสท. ก็ต้องไปรับฟังความคิดเห็น และต้องผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. ด้วยค่ะ

………….

ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่สำคัญวันนี้ คือปัญหาคูปองที่จ่ายเงินล่าช้า มีเรื่องร้องเรียนมาว่า มีคนใน สำนักงาน เรียกเงินจากคนขายกล่องถึงจะยอมจ่ายเงินค่าคูปองให้ วันนี้บอร์ด กสท. จึงมีมติให้ สำนักงาน ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว และรายงานกลับมาให้ กสท. ใน 15 วัน ‪#‎คูปอง ฝากเรียนไปยังผู้ประกอบการกล่องทั้งหลายที่รอการจ่ายเงินค่าคูปองจาก สำนักงาน กสทช.  ถ้ามีใครไปเรียกรับเงิน ให้มาร้องเรียนร่วมกัน อย่าปล่อยไปง่ายๆ วันนี้มีเรื่องร้องเรียนมาที่บอร์ด กสท. เรื่องปัญหาการจ่ายเงินคูปองล่าช้า การร้องเรียนไม่ได้ระบุชื่อ จนท. อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ ฝากท่านเลขาธิการ @TakornNBTC ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย และย้ำกับทุกฝ่ายให้ระมัดระวัง

วันที่ 1 ต.ค.58 นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานแม่น้ำ 2 สายเพื่อแก้ปัญหาดิจิตอลทีวี มีตัวแทนทุกฝ่าย ดิฉันจะสอบถามปัญหาร้องเรียนนี้ด้วย #คูปอง ขั้นตอนคูปองคือ หลังประชาชนแลกคูปอง คนขายกล่องต้องรวมเอกสารทั้งหมดมาขึ้นเงิน สำนักงานกสทช.จะเป็นคนตรวจสอบเอกสารก่อนจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการ บอร์ด กสท./กสทช. ไม่ได้ดูแลกระบวนการนี้เพราะเป็นภาคปฏิบัติ แต่ถ้าท่านประสบปัญหา ร้องเรียนมา ในฐานะบอร์ดจะติดตามให้ สำนักงานตรวจสอบชี้แจงต่อไป

……..

วาระอีกเรื่องวันนี้คือ สำนักงานตรวจพบช่องทีวีดาวเทียมที่ใบอนุญาตหมดอายุ แล้วไม่ได้มาต่อ แต่ยังออนแอร์ บอร์ดให้มีมติแจ้งความคดีอาญา ตัดสิทธิ์ 3 ปี บอร์ด กสท. มีมติให้ สำนักงานไปทำแนวทางในการพิจารณาลงโทษโครงข่ายทีวีดาวเทียม ที่ปล่อยให้ช่องที่ใบอนุญาตหมดอายุออนแอร์ รับผิดชอบด้วยเช่นกัน ย้ำตรงนี้ว่า ช่องรายการใดบนดาวเทียมและเคเบิลที่ไม่ได้มาต่อใบอนุญาต แล้วยังออนแอร์ จะถูกแจ้งความคดีอาญา และถูกตัดสิทธิ์ประกอบกิจการ3ปี แบล็คลิสต์กรรมการบริษัทด้วย

โครงข่ายหรือกล่องที่นำช่องที่ไม่มีใบอนุญาตไปออก จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ถ้าพบว่าให้ช่องออกอากาศโดยไม่รับอนุญาต โครงข่ายดาวเทียมจะต้องโดนลงโทษด้วย ช่องที่พบปัญหาการออนแอร์โดยไม่มีใบอนุญาตคือ Nice Channel หลังจากมีเรื่องร้องเรียนด้านโฆษณาผิดกฎหมาย อย. จึงพบว่าใบอนุญาตหมดอายุ ผิดหนักมากกว่า

รวมทั้งกรณีนิติบุคคลที่เคยประกอบกิจการช่อง OHO Channel แล้วทำผิดกฎหมาย อย. แล้ว บอร์ด กสท. ลดใบอนุญาตเหลือ 3 เดือน จึงได้ยกเลิกไปแล้วมาขอทำช่องชื่อใหม่ อนุคุ้มครองผู้บริโภคฯ ให้นำประวัติมาพิจารณาด้วย วันนี้ กสท. จึงได้ส่งเรื่องไปให้อนุผู้บริโภคฯเพื่อ เชิญบริษัทดังกล่าวมาชี้แจงและทำ MOU ให้เป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต ถ้าทำผิดอีก จะต้องโดนลงโทษทันทีในฐานะที่ทำผิดซ้ำแม้ว่าเป็นช่องใหม่ก็ตาม

…..

อีกเรื่องสำคัญวันนี้ บอร์ดมีมติให้ สำนักงานตรวจสอบ ช่องฟรีทีวีที่อยู่นอกกฎ MustCarry แล้วโฆษณาเกิน 6 นาที เพื่อออกคำสั่งเตือนทางปกครองต่อไป

ย้ำ !! โปรดฟังอีกครั้ง อันนี้สำคัญมาก ถึงช่องโครงข่าย/ช่องฟรีทีวีที่ไปออกนอก Must Carry แล้วโฆษณาเกิน 6 นาที ให้เริ่มแก้ไข ก่อนเจอมาตรการเตือนทางปกครอง

วันนี้บอร์ด กสท.ให้ สำนักงานไปสำรวจช่องบนโครงข่ายดาวเทียมแล้ว ถ้า สำนักงานสำรวจเสร็จแล้วเสนอเข้ามาเพื่อให้บอร์ด กสท. ออกมาตรการทางปกครองต่อ…ถ้าช่องใดไม่เห็นด้วย ไม่ทำตาม

จน กสทช.ต้องออกคำสั่งทางปกครอง แล้วช่องไปฟ้องศาลปกครอง ก็ค่อยไปว่ากันในศาล แต่ขณะนี้ สำนักงาน ก็ต้องดำเนินการตามกฏกติกา

….

ผลประชุมโดยภาพรวมประมาณนี้ค่ะ ขอกลับบ้านก่อน วันนี้ขอทวิตเร็วหน่อย เพราะจะได้นอนเร็วขึ้น หลังจากทวิตดึกๆมานาน จนร่างกายเริ่มไม่ไหว จึงต้องเริ่มปรับนาฬิกาชีวิตใหม่ หลังเลิกงานจะพยายามทวิตสรุปงานเลย ท่านใดที่คุ้นอ่านช่วงดึกๆ ขอปรับมาช่วงเย็น ยกเว้นวันยุ่งจริงๆขอไปช่วงดึกเช่นเดิมค่ะ…