สุภิญญา : พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถปิดสื่อและเน็ทได้หรือไม่?

Sum up

22 – 23 ม.ค. 57

Emergency Decree cannot shut down internet system. All ISP are regulated by NBTC according to regular Rules. However, Govt still can block website via Computer Crime Act as before so CCA needs an amendment sooner or later when we have a proper parliament.

ศรส. มาปิดสถานีโทรทัศน์ที่ถูกกฎหมายเองได้หรือไม่?

ทำเองไม่ได้เพราะอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อยู่ที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถ้าจะปิด ต้องสั่งผ่าน กสทช. เว้นเป็นสถานีเถื่อน(ที่ไม่ได้รับใบอนุญาต) ส่วนสถานี BlueSky และอื่นๆ เพิ่งได้รับการต่อใบอนุญาตอีก 2 ปีจากบอร์ด กสท./กสทช. จึงได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย ต่างจากในอดีตที่สถานีวิทยุ – โทรทัศน์อาจถูกปิดได้ง่ายกว่า เพราะเป็นสถานีที่ใช้คลื่นผิดกฎหมายไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งยังไม่มีกสทช.

ขณะนี้ทีวีดาวเทียมส่วนใหญ่ได้รับอนุญาตแล้ว ส่วนช่องที่หมดอายุก็จะสามารถต่อใบอนุญาตได้อีก 2 ปี ยกเว้นสถานีที่ถูกร้องเรียนจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังไม่สามารถต่อใบอนุญาตเพราะต้องมาเคลียร์ตนเองก่อนใน 30 วันจากนี้ ส่วนช่อง BlueSky ได้ต่อใบอนุญาตไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ม.ค.57

ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเฉพาะการนำมาใช้ควบคุมสื่อ สมัยปี 53 เป็นเอ็นจีโอก็ค้าน ตอนนี้เป็น กสทช. ยิ่งไม่เห็นด้วย รัฐธรรมนูญให้อำนาจ กสทช. ในฐานะองค์กรอิสระมากำกับดูแลสื่อตาม พ.ร.บ. ถ้ารัฐบาลเคารพรัฐธรรมนูญต้องไม่ overrule อำนาจ กสทช.

กสทช. ต้องยืนหยัดความเป็นอิสระจากรัฐบาลในการธำรงสิทธิเสรีภาพของสื่อ เราทำงานตามกรอบ กฎหมายของเรา

ผู้ประกอบการสื่อไม่ต้องตื่นตกใจ ใบอนุญาตของท่านคือเกราะป้องกันเสรีภาพในเวลานี้ มีข้อข้องใจเสนอหรือหารือมาที่ กสทช. ไม่ต้องกลัวเกินไป แต่ให้รับผิดชอบต่อประชาชนหรือคนดู

ตนได้ทำหนังสือเสนอให้ สำนักงาน กสทช. ทำความเข้าใจกับผู้รับใบอนุญาตให้เข้าใจข้อกฎหมาย จะได้ไม่ต้องตื่นตระหนกกับ พ.ร.ก.ฉบับนี้จนเกินไปค่ะ…

มีคำถามต่อเนื่องว่า ศรส.(ศูนย์รักษาความสงบ) สามารถใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน(พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548) มาตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ทได้ไหม? ซึ่งทำไม่ได้โดยง่าย ทั้งในทางเทคนิคและทางกฎหมาย เพราะ ISP หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ท เป็นผู้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย กสทช. การไปตัดสัญญาณกระทบผู้ใช้บริการทั้งหมด ISP ต้องรับผิดชอบ เพราะเน็ทเป็นท่อส่งข้อมูลข่าวสารของคนทั่วโลก แต่การปิดเฉพาะเว็บ รัฐบาลใช้อำนาจผ่านกระทรวงไอซีที ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พระราชบัญญัติ พ.ศ. 2550ได้อยู่แล้วตามปรกติ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ต้องขอหมายศาล (พ.ร.บ.คอมพ์นี้ควรถูกปรับแก้ให้รัฐใช้อำนาจรัดกุมขึ้น)

อย่างไรก็ตามในยุค 3G 4G การปิดกั้นเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นการกระทำที่สวนทางกับความเป็นจริง รัฐบาลต้องทำใจ

ขอบคุณข้อมูลจากทีมงาน กสทช.ประวิทย์ ที่ดูแลด้านโทรคมนาคมและ ISP

วันนี้ได้รับแจ้งว่าการกวนสัญญาณทีวีดาวเทียมดีขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังกันวันต่อวัน ฝากมอนิเตอร์ต่อเนื่องค่ะ

ตอนนี้มาอ.ชะอำ มาร่วมเวทีหารือการพัฒนา ‘เพชรบุรีโมเดล’ เพื่อวางกลไกการมอนิเตอร์โฆษณาอาหารและยาเกินจริงผ่านสื่อในระดับจังหวัด ร่วมกับกลไกภาคประชาสังคมระดับภูมิภาคนำโดย คุณบุญยืน ศิริธรรม ขอปรับโหมดจากการเมืองหนึ่งวันค่ะ…