แต่การส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ ถือว่าเป็นทางออกที่วิน-วินในเวลานี้

Sum up 6 ม.ค. 57

Good news for me: after so much opposition on draft Content Rule (Article 37) & NBTC’s legality so today Broadcast Panel agreed to send this draft Rule to the Council of State for legal clarification if NBTC has authority to enforce this kind of rules. It’s a win-win so far.
Gonna have a beauty sleep for next few months while waiting. But still gotta work hard on promoting self-regulation for media ethics esp during this political crisis. Thanks to Committee for Law Reform & Media professional groups for strongly opposing this draft content rules.

Big thanks to Broadcast Panel for listening to those dissenting voices. I am happy now in our Panel, we prefer to have a consensus gradually than just voting to win by a majority. Good sign but stay alert.

ข่าวดีอีกหนึ่งข่าวแม้จะยังไม่สุดๆ แต่ก็ทำให้นอนหลับอุ่นใจไปได้น่าจะหลายเดือน นั่นคือบทสรุปเวลานี้ของร่างประกาศการกำกับเนื้อหาตามมาตรา 37 ที่ยื้อกันมานาน

วันนี้บอร์ด กสท.ถกกันเครียดด้วย หลังจากคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย (คปก.) ส่งจดหมายมาคัดค้านว่า กสทช.อาจไม่มีอำนาจออกร่างประกาศฯดังกล่าว และ อาจเป็นการขัดสิทธิเสรีภาพ

บอร์ด กสท.วันนี้มีมติให้ สนง.ส่งร่างประกาศคุมเนื้อหามาตรา37 ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อน โดยยังไม่ผ่านร่างที่มีปัญหา แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นยกเลิกร่างประกาศมาตรา37ร่างนี้เสียทีเดียว แต่การส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า กสทช. มีอำนาจออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ ถือว่าเป็นทางออกที่วิน-วินในเวลานี้

ส่วนตัวก็โล่งใจไปได้อย่างน้อยอีก 1-2 เดือน เพราะต่อสู้คัดค้านร่างประกาศควบคุมเนื้อหาตามมาตรา37มาตั้งแต่ต้น วันนี้บอร์ดยอมให้ส่งตีความแล้ว ยังมีเวลาได้คิดแก้ปัญหากันต่อ

ขอบคุณ คปก. และ องค์กรวิชาชีพที่ยืนหยัดหลักการเรื่องนี้อย่างเข้มแข็ง วันนี้บอร์ด กสท. ฟังเสียงของท่านแล้ว ส่วนตัวขอบคุณบอร์ด กสท. ทุกท่านด้วย เราถกเถียงกันมาก ได้เรียนรู้กันและกันและเมื่อถูกคัดค้านอย่างหนัก ท่านก็รับฟังและถอยให้มีการตีความทางกฏหมายก่อน โดยไม่ต้องเสี่ยงไปต่อสู้คดีกันในศาล

วันนี้ก็มีความสุขเล็กๆกับการทำงาน ชอบบรรยากาศของการหาฉันทามติ ไม่ใช่การโหวต คิดว่าปีนี้บอร์ด กสท. ได้ผ่านจุดที่ตึงเครียดมาแล้ว จากนี้คงคุยกันด้วยเหตุและผลได้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความขอบคุณจากใจจริงค่ะ

จากนี้ร่างประกาศมาตรา 37 ก็พักยก รอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า กสทช.มีอำนาจออกประกาศนี้หรือไม่คะ

ปล. อย่างไรก็ตามวันนี้สังคมไทยยังมีประเด็นเรื่องจริยธรรมสื่อ ทั้งสื่อของรัฐและเอกชน ทั้งประเด็นการบิดเบือน หรือ hate speech ที่ต้องช่วยกันดูแลต่อไป หวังในการสร้างกลไกองค์กรวิชาชีพ วิชาการ และ ภาคประชาสังคมช่วยกันสร้างจุดที่พอดีระหว่างสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบร่วมกัน ยากมากๆ แต่เราก็ต้องไม่ท้อถอยที่จะพูดและแก้ปัญหาเรื่องนี้ร่วมกันค่ะ