ภาคอุตสาหกรรมควรรวมตัวกันเพื่อกำหนดมาตรฐานร่วมกันในการเซ็นเซอร์โฆษณา

Sum up: Just had a productive meeting with Advertising Association of Thailand on the collaboration to establish a self-regulatory system to standardize TV commercials based on legal framework & code of ethics with new 24 digital terrestrial channels.

วันที่ 11  เม.ย. 2557

วันนี้มีประชุมกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ถึงความร่วมมือในการทำงานระหว่าง กสทช. สมาคมฯ และ ทีวีดิจิตอล24 ช่องในการกำกับมาตรฐานโฆษณา

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ทำงานร่วมกับฟรีทีวีเดิมคือช่อง 3-5-7-9 มาตลอด19ปีตั้งแต่ไทยยกเลิกระบบระบบ คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์(กบว.)โดยรัฐมาเป็นระบบช่องเซ็นเซอร์โฆษณาเอง เวลานี้ฟรีทีวีเพิ่มจากเดิม4ช่องที่มีโฆษณาได้เป็น24ช่องธุรกิจ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมควรรวมตัวกันเพื่อกำหนดมาตรฐานร่วมกันในการเซ็นเซอร์โฆษณา

การกำกับโฆษณาจะมี 2 ระดับคือ 1. เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น อย. สคบ. เป็นต้น 2. กรอบจรรยาบรรณ จริยธรรมเช่นต้องไม่โอ้อวดเกินจริง ความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม สังคม สิทธิมนุยชน

การกำกับในชั้นกฎหมายจริงๆง่ายกว่า เพราะมีข้อกำหนดชัดเจน แต่ทีวีดิจิตอลรายใหม่อาจจะไม่คุ้นกับกฎระเบียบที่มากกว่าในฟรีทีวี ส่วนการกำกับจริยธรรมจรรยาบรรณ เป็นเรื่อง subjective มากกว่า ไม่ควรให้ กสทช. ใช้ดุลยพินิจเองในการตัดสินทุกเรื่อง อุตสาหกรรมควรกำกับตนเองก่อน

ผลจาการหารือร่วมกันวันนี้
1. สมาคมโฆษณาฯจะไปประสานความร่วมมือกับทีวีดิจิตอลทั้ง 24ช่องในการกำกับมาตรฐานโฆษณาร่วมกัน
2. กสทช.จะหารือ 24 ช่องพรุ่งนี้
3. กสทช. จะร่วมกับ สมาคมโฆษณาฯ อย. สคบ. จัด workshop อบรมข้อกฎหมาย กติกา มารยาทต่างให้ฝ่ายเซ็นเซอร์โฆษณาของทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง
4. พัฒนากลไกการทำงานร่วมกันในการกำกับโฆษณาระหว่าง กสทช. กับ สมาคมฯ ชมรมฯ สมาพันธ์ฯ และตัวแทนทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง ในระยะยาว

วันนี้ได้หารือกับตัวแทนสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ให้ช่วยหาแนวทางการปฏิรูประบบการวัดเรตติ้งความนิยมรายการทีวีด้วยเพื่อส่งเสริมแข่งขันเสรีเป็นธรรม

พรุ่งนี้เช้า สำนักงาน กสทช.เชิญตัวแทนทีวีดิจิตอล24ช่องมาชี้แจงเรื่อง
1. แผนการออกอากาศเพื่อรับมือเหตุภัยพิบัติ
2. กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและรับเรื่องร้องเรียน
3. แนวทางกำกับตนเองตามกรอบจรรยาบรรณของแต่ละช่อง

บ่ายพรุ่งนี้ สำนักงานเชิญตัวแทนช่อง H Plus ที่ออนแอร์รายการ *พลังปาฏิหาริย์* (เทพเพอซิอุส) มาชี้แจง ดิฉันและตัวแทน อย. จะร่วมพูดคุยด้วย

หลังจากที่อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ มีมติให้ สำนักงานเชิญช่อง H Plus มาชี้แจง ทางผู้บริหารช่องนี้ติดต่อมาขอสวัสดีปีใหม่ไทย แต่ดิฉันขอผลัดไปก่อน …

ช่อง H Plus เคยมีประวัติการโฆษณาผิดกฎหมายของ อย. และ กสทช. มีคำสั่งระงับไปก่อนหน้านี้แล้ว ใบอนุญาตที่ได้เป็นแบบมีเงื่อนไข สุดท้ายการตัดสินโดยกฎหมายนั้นใช้เวลาและกระบวนการ อีกทั้งช่องมีสิทธิสู้คดี ข้อ กฎหมายเราต้องชัด ดังนั้นการกดดันทางสังคมเรื่องจรรยาบรรณจะช่วยได้อีกทาง ทีมงานช่วยหาข้อมูลเพิ่มให้ว่า มีตัวอย่างคดีการอวดอ้างแบบนี้แล้วถูกศาลตัดสินอาญาข้อหา *ร่วมกันทุจริต หลอกลวงประชาชน* ซึ่ง สคบ.ต้องเข้ามาช่วยดูด้วย

**ช่อง H Plus นี้อยู่ในหลายกล่อง ทั้ง PSI – GMMz – CTH – RS และ True Visions ในแพคเกจความรู้ (Knowledge package) ด้วย ซึ่งเจ้าของ platform ควรต้องช่วยกลั่นกรองช่องความรู้ให้ดีกว่านี้ไหม?**

กสทช. มีอำนาจเฉพาะการกำกับช่องทีวี ดูเนื้อหาที่ออนแอร์แล้ว แต่เราไม่มีอำนาจไปดำเนินการกับคนที่อวดอ้างตน ขายสินค้า ต้องเป็น สคบ.มาดูแลส่งฟ้องศาล

ความคิดความเชื่อในลัทธินิกายต่างๆเป็นสิทธิเสรีภาพ แต่การค้ากำไรจากความเชื่อนั้นเป็นเรื่องสิทธิผู้บริโภค สคบ. ต้องมาช่วย กสทช.ดูแลเหมือน อย.

สคบ. มีอำนาจในการกำกับดูแลธุรกิจขายตรงและโฆษณาอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร ยา ดังนั้นขอเรียกร้องให้ สคบ.ช่วย กสทช.ในการตัดสินเบื้องต้นว่าขัด กฎหมาย หรือไม่อย่างไร

ทีมงานลองโทรไปตามข้อมูลที่ขึ้นหน้าจอ พบว่าสินค้านั้นขายตรงราคาด้ามละ 4-5 พันบาท ธุรกิจขายตรงแบบนี้ เป็นอำนาจหน้าที่ของ สคบ. ต้องเข้มงวดมากขึ้น รายการในทีวีมักเลี่ยงข้อกฎหมาย ไม่ขายของตรง แต่ให้เบอร์ไปโทรสอบถามหลังไมค์ แล้วขายของกันต่อ

สคบ. กับ กสทช. ควรมาช่วยกันอุดช่องโหว่ขายตรงบนทีวี ในเรื่องการกำกับดูแลโฆษณาอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผ่านมา อย. @fdathai ให้ความร่วมมือกับ กสทช.ดีมาก แต่โฆษณาสินค้าอื่นๆที่ สคบ.ดูแลกลไกร่วมกันยังหนืดๆ

พรุ่งนี้มารายงานผลทั้ง 2 งานเช้าบ่ายค่ะ