สุภิญญา เสนอ เปิดเผยต้นทุนเพื่อเป็นข้อมูลให้กองทุนตัดสินใจอนุมัติราคากล่องดิจิตอล

Sum up from Broadcast Panel’s meeting today:
วันที่ 12 พ.ค. 57

ประชุมบอร์ด กสท.เช้านี้เสร็จแล้ว สรุปดังนี้

-                      ดิฉันมีความเห็นต่างจากความเห็นของ สำนักงานที่จะตอบองค์กรผู้บริโภคเรื่องโครงการคูปองทีวีดิจิตอล แต่วันนี้บอร์ด กสท.ยังไม่ลงมติรับรองให้ สำนักงานไปปรับอีกรอบ ไว้จะทำบันทึกความเห็นส่งให้และ ยืนยันเสนอให้บอร์ด กสท.และ สำนักงาน กสทช.ทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นเรื่องคูปอง เปิดเผย ข้อมูล เพราะตัวเลขของฝ่าย สำนักงานกสทช. VS. องค์กรผู้บริโภคฯ นั้นยังต่างกันอยู่ สำนักงานควรเปิดเผยต้นทุนและให้โต้แย้งกันในเวทีสาธารณะ เพื่อเป็นฐานข้อมูลรอบด้านให้บอร์ดกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ พิจารณาตัดสินใจอนุมัติราคา อย่างไรเสียตอนนี้ สำนักงาน กสทช.ก็ต้องรอบอร์ดกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ประชุมเพื่อสรุปอีกทีราว 27 พ.ค.อยู่แล้ว มีเวลา2สัปดาห์ ควรเป็นเวทีสาธารณะถกกัน เพราะฝ่ายองค์กรผู้บริโภคเสนอตัวเลขเป็นราคาแบบ *ค้าส่ง คือ กสทช.แจกกล่องเองแต่สำนักงานกสทช.เสนอตัวเลขเป็นราคาแบบ *ค้าปลีก เพราะให้ครัวเรือนไปเลือกซื้อเองในตลาด  ต่างคนต่างมีเหตุผล ประเด็นคือต้องดูมาร์จิ้นที่แท้จริงและเหมาะสมเพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์แท้จริง ไม่มีภาระเพิ่ม การบริหารงบประมาณชัดเจน โปร่งใส อธิบายได้ หารือกันในเวทีสาธารณะ เอาข้อมูลมาแชร์และดีเบตกันจนได้ข้อสรุป ไหนๆก็ช้าแล้ว เพราะต้องรอบอร์ดกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ พิจารณาปลายเดือนนี้ ถ้าบอร์ดกองทุนฯไม่อนุมัติงบ สำนักงานกสทช.ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ……. 

-                      ส่วนวาระเรื่องร้องเรียนเนื้อหา 3 กรณีคือ 1.ซีรีย์ Dexter 2.ละครกุหลาบไฟ 3.ซีรีย์ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น — วันนี้บอร์ด กสท.ยังไม่เคาะ เรื่อง1 กับ 3 ว่า ขัดมาตรา 37 ไหม ส่งกลับ สำนักงานไปดูให้รอบคอบในหลายประเด็น

-                      ส่วนซีรีย์ฮอร์โมนส์ฯ #คหสต. ไม่ห็นด้วยอยู่แล้วกับการใช้มาตรา 37 ส่วนซีรีย์ Dexter ที่มีฉากรุนแรงต้องดูว่าจะใช้มาตรฐานเดียวกับหนังต่างชาติทุกเรื่องหรือไม่ โดยเฉพาะที่ฉายทางเพย์ทีวี (PayTV) เช่น TrueVisions – CTH – GMMz -RS เป็นต้น 

-                      กรณีเรื่องร้องเรียนละครกุหลาบไฟช่อง 3 วันนี้บอร์ด กสท.ลงมติว่าการจัดเรตความเหมาะสมของเนื้อหาผิดพลาด ให้ระวังและห้ามนำมารีรันกลางวันอีก อันนี้เป็นแนวทางที่ดี 

-                      ดิฉันเสนอให้บอร์ด กสท. ใช้มาตรา37กับพวกละครหรือภาพยนตร์ให้น้อยลง แต่มากำกับเรื่องการจัดเรทความเหมาะสมของเนื้อหาให้จริงจังขึ้นดีกว่า

-                      วันนี้บอร์ด กสท. อนุมัติใบอนุญาตให้ช่องทีวีดาวเทียมใหม่อีก 3 ช่อง แต่ดิฉันสงวนความเห็นช่องใหม่ของบริษัทบุญรักษา มหาโชค ที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามากรณีการโฆษณาขายเครื่องรางของขลังที่กระทบผู้บริโภค จริงๆ สำนักงานควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนให้ใบอนุญาต กรณีนี้ดิฉันเห็นต่างแต่เมื่อให้ใบอนุญาตแล้ว ดิฉันจะตามเรื่องและชงเข้าบอร์ด กสท. ให้ปรับต่อไปถ้าเขาโฆษณาขัด กฎหมาย อย.และอื่นๆที่ต้องร่วมกับตำรวจผู้บริโภคกำกับด้วย 

-                      การให้ใบอนุญาตทีวีดาวเทียมหลายครั้งที่ผ่านมารวมวันนี้ นอกจากเรื่องโฆษณาผิด กฎหมายแล้ว ดิฉันยังตั้งข้อสังเกตต่อช่องรายการที่ละเมิดลิขสิทธิ์หนัง ที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของลิขสิทธิ์ว่าบางช่องรายการในเคเบิลและดาวเทียม ละเมิดสิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เรื่องนี้กระทบต่อการแข่งขัน เชื่อในเรื่อง fair use แต่ในกิจการทีวีที่ลักลอบมาหากำไร มันไม่ใช่แฟร์ยูส 

-                      แม้ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์จะไม่ใช่งาน กสทช. โดยตรงที่ต้องพิสูจน์ แต่ถ้ามีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเราก็ต้องมีกระบวนการตรวจสอบ ไม่เพิกเฉย เพราะถ้าเราให้บางช่องทีวีออกรายการละเมิดลิขสิทธิ์ได้จริงๆ ก็จะไม่เป็นธรรมต่อช่องที่ทำถูก กฎหมายโดยเฉพาะฟรีทีวีที่เขาต้องเสียเงินค่าลิขสิทธิ์แพง

-                      เข้าใจ สำนักงานว่าการกำกับดูแลทีวีดาวเทียมและเคเบิลกว่า700ช่องเป็นเรื่องยาก แต่การเสนอให้บอร์ดพิจารณาใบอนุญาตต้องรอบคอบและการกำกับต้องดีพอ แต่คงตามมอนิเตอร์ทุกเรื่องไม่ทั่ว กรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ฝากท่านThawatchai Jittrapanun ช่วยดูแล้วกันนะคะ เพราะมันกระทบการแข่งขันเสรีเป็นธรรมของภาคเอกชน

-                      ใบอนุญาตต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ถ้าออกใบอนุญาตไปแล้วไม่มีแนวทางการกำกับดูแลที่เข้มข้นชัดเจนในปีที่3นี้ สำนักงานกสทช.จะสอบตกอีกแน่นอน cc: @TakornNBTC 

-                      ตอนไปสัมมนาที่ซาอุดิฯ ได้หารือกับทีมทีวีพูลรวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยที่ไปงานเดียวกันด้วย พบข้อท้าทายในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากฟรีทีวี6ช่องสู่27ช่อง ที่ท่านเคยถามมากรณีการเตือนภัยพิบัติ การนำเสนอข่าวในพระราชสำนักและการถ่ายทอดสดพระราชพิธี/รัฐพิธีต่างๆในฟรีทีวีดิจิตอล ที่ต้องให้ทีวีพูลรวมการเฉพาะกิจเป็นเจ้าภาพหลักก่อน เรื่องนี้มีรายละเอียด แต่แจ้งเพื่อทราบว่าได้มีการประสานงานระหว่าง กสทช.-ทีวีพูลรวมการเฉพาะกิจ และ 24ช่องใหม่แล้วเพื่อความราบรื่นในการออนแอร์ 

-                      กรณีการเตือนภัยพิบัติ หารือเบื้องต้นกับทางทีวีพูลรวมการเฉพาะกิจแล้วว่าจะจัดเวทีประชุมร่วมให้เขาร่วมกับ24ช่องใหม่และศูนย์เตือนภัยฯ เร็วๆนี้ บางเรื่องต่างฝ่ายต่างคาดไม่ถึง พบปัญหาข้อท้าทายใหม่ๆทุกวัน ผู้ประกอบการก็ร้องเรียนปัญหามา กสทช.ก็จะพยายามหาทางแก้ไขต่อไป 

-                      ดิฉันได้คุยกับทีวีรวมการเฉพาะกิจฯ จริงๆเข้าไม่ยุ่งการเมือง รัฐบาลไหนจะไปสั่งเขาให้ถ่ายทอดไม่ได้ หลักๆเขาดูเรื่องถ่ายทอดข่าวในพระราชสำนัก ราชพิธี รัฐพิธี กีฬา ภัยพิบัติ ทีวีพูลร่วมการเฉพาะกิจเป็นการรวมตัวของฟรีทีวีอะนาล็อก4ช่องคือ 3-5-7-9 มีสมาชิกสมทบคือช่อง11+ @ThaiPBS แต่ตอนนี้เขาต้องทำงานร่วมกับทีวีดิจิตอลช่องใหม่ด้วย

-                      พูดเรื่องถ่ายทอดกีฬา นอกจากบอลโลกที่กำลังมีประเด็นแล้ว การประมูลลิขสิทธิ์กีฬาโอลิมปิค 2016 ใกล้เข้ามา มีประเด็นที่ต้องเคลียร์เนิ่นๆเช่นกัน การเกิดขึ้นของฟรีทีวีดิจิตอลอีก 24 ช่องและกติกาต่างๆอาทิ Must Have ของ กสทช. ทำให้วงการปั่นป่วนทีเดียว ถ้าจะให้ดีกับคนดู กสทช.ก็ต้องตั้งหลักกำกับดีๆ……