สตง.ไม่ได้เสนอแนะตัวเลข 690 แต่เสนอว่า กสทช.ต้องหา *ราคากลาง* ต้นทุนที่เหมาะสม

Sum up : 24 ก.ค.57

มติบอร์ด กสทช. วันนี้ข่าวดีคือกลับมายืนที่เดิม นานๆจะได้เสียงเอกฉันท์ 10:0 

After pending for a long while, today NBTC Panel made an unanimous decision, surprisingly, on subsidy scheme for digital TV devices by going back to the same agreement before the auction.

To give cash coupon worth Bt690 to each of 22.9 million households for buying either a digital TV set-top box or a TV set with digital TV tuner.

The coupons will be distributed in September. The coupon cannot be used to buy satellite TV set-top box, only for terrestrial reception devices.

It’s decided based on legal safety, also a win-win solution so far. This consensus came after all NBTC commissioners received the urgent letter from The Office of the Auditor General of Thailand.
It ended a tedious dispute. Great & glad that I am not in a minority this time.

Later of today, We had a meeting with ThaiCom & satellite TV networks providers to develop action plan for setting up self-regulatory bodies which leads to co-regulation mechanism. Good start that everyone are in good term to uplift the industries standard to protect consumer rights & Code of ethics.

สรุปมติบอร์ดใหญ่ กสทช.วันนี้เรื่องคูปองทีวีดิจิตอล เคาะที่ราคา 690 บาท แลกอุปกรณ์รับทีวีภาคพื้นดินเท่านั้น ตามแนวทางก่อนประมูล *กลับมายืนที่เดิม*

ก่อนหน้าบอร์ดเสียงแตกกันอยู่บ้าง แต่วันนี้ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มติออกมาเป็นเอกฉันท์ 10:0 เพราะจดหมายฉบับหนึ่งด่วนที่สุดจาก *สตง.* มาปิดเกม

ผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชน ออกมาหลากหลายแนวทาง สุดท้ายบอร์ด กสทช.ให้น้ำหนักการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงทางกฏหมายน้อย ตามข้อแนะนำจาก สตง.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ส่งความเห็นถึงประธาน กสทช. ยาว 4 หน้า ชัดเจน ตรงประเด็น อาจจะขัดใจหลายท่านบ้าง แต่ตรงกับจุดยืนดิฉันพอดี
สตง.ไม่ได้เสนอแนะตัวเลข 690 แต่เสนอว่า กสทช.ต้องหา *ราคากลาง* ต้นทุนที่เหมาะสม บอร์ดเลยตัดสินใจกลับไปตัวเลขเดิมที่อยู่ในประกาศฯแล้ว

690บาทจึงไม่ไช่ตัวเลขที่อิงการคำนวณต้นทุนมูลค่าหรือราคากลางกล่อง เพราะเราเลือกการแจกคูปองเงินสดไม่ใช่แจกกล่อง แต่คือเงินประมูลที่คืนให้ ปชช.

ตัวเลข 690 บาท มาจากการคำนวณมูลค่าคลื่นขั้นต่ำ ที่ถูกประกันไว้ก่อนการประมูลว่าจะคืนให้กับประชาชนเพื่อการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตอล

ดังนั้น690บาทจึงเป็นคูปองเงินสด ที่จะช่วยสนับสนุนประชาชนไปใช้เป็นส่วนลดในการซื้อทีวีรุ่นมีดิจิตอลในตัวหรือกล่องพร้อมสายอากาศตามกลไกตลาดต่อไป

ส่วนครัวเรือนที่ไม่จำเป็นต้องใช้คูปองเงินสดนี้ ก็ช่วยรัฐประหยัดด้วยการไม่ใช้สิทธิ์นั้น เงินก็จะคืนกลับมาที่คลังเป็นเงินแผ่นดินต่อไป

ถ้าอ่านระหว่างบรรทัดในจดหมายของ สตง. ความเห็นส่วนคิดว่าคงอยากให้ราคาคูปองลดลงกว่า 690 บาทอีกเพื่อใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างประหยัด

อย่างไรก็ตามบอร์ด กสทช. 10 คน ใช้ดุลยพินิจแล้วว่า 690 บาท ก็พอสมเหตุสมผล อธิบายได้มีหลักพิงทางกฏหมายระดับหนึ่ง จึงตัดสินใจตามนั้น

หลังจากนี้เรื่องทั้งหมด ทั้งมติบอร์ด กสทช.วันนี้และจดหมายของ สตง.จะถูกส่งไปยัง คสช. เพื่อพิจารณาสุดท้ายว่า ผลจะเป็นอย่างไรค่ะ

เนื่องจากการแข่งขันตอนนี้สูงมาก จึงมีแนวโน้มว่าแต่ละบริษัทจะต้องปรับราคาหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคตัดสินใจซื้อทีวีหรือกล่องต่างๆ

อย่างที่ดิฉันเคยทวิตไปนานแล้วว่า ถ้าจะให้งานเดินเร็วก็ควรยืนที่หลักการเดิมก่อนการประมูล คือ 690 บาท และสนับสนุนเครื่องรับภาคพื้นดินเท่านั้น

วันนี้เราก็ได้กลับมามติเดิม แม้จะเสียเวลาไปบ้าง แต่กระบวนการที่ผ่านมา รวมทั้งการตรวจสอบเข้มจาก สตง. ก็ทำให้เรื่องนี้มาถูกทางขึ้นมาก

ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่ทักท้วง เสนอความเห็น โดยฉพาะ สตง. เพราะช่วยทำให้การใช้ดุลยพินิจของ กสทช.เสี่ยงคุกเสี่ยงตารางน้อยลง ประหยัดเงินหลวงได้

ส่วนประเด็นเงื่อนไขการใช้คูปอง จดหมายจาก สตง.พูดชัดเจนว่าต้องทำตามเงื่อนไขก่อนการประมูลที่ กสทช. *ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้* คือไม่รวมดาวเทียม

“กรณีดาวเทียมและเคเบิ้ล ควรให้เป็นไปตามกลไกตลาดที่ผู้ประกอบการของทั้งสองธุรกิจจะต้องไปบริหารจัดการเองเพราะไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมประมูล”

“จะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่ได้จ่ายเงินประมูลคลื่นความถี่ และอาจนำไปสู่การฟ้องร้อง..จนทำให้การแจกคูปองต้องล่าช้าในที่สุด”

จุดยืนดิฉัน ไม่เห็นด้วยการแลกกล่องทีวีดาวเทียมและเคเบิลแต่แรกอยู่แล้ว เพราะขัดหลักการเดิมที่วางไว้ก่อนประมูลและทำให้รับทีวีชุมชนไม่ได้

ประเด็นการต้องลงทะเบียนก่อนแลกคูปองนี้ ดิฉันเห็นต่างจาก สตง. เพราะมองว่าการสร้างกระบวนการที่ยุ่งยากขึ้น จะยิ่งทำให้เกิดนายหน้ามาค้าสิทธิ์แทน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากประเด็นนี้ก็มีนัยยะสำคัญที่ สตง.เสนอมาและมีบอร์ดบางท่านเห็นต่างจากมติ จึงเห็นควรให้ สำนักงานเสนอไปให้ คสช.พิจารณาสุดท้ายค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับข้อกังวลของ สตง. ถึงกระบวนการแจกและแลกคูปองว่าจะมีผู้ไม่หวังดีมาสวมสิทธิ์แทนประชาชน จึงได้เสนอให้ต้องมีมาตรการจริงจัง

อาทิ กรณีบริษัทวินเนอร์ดิจิตอลหรือบริษัทการศึกษาก้าวไกล ที่แจกใบปลิวทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเรื่องคูปอง วันนี้บอร์ดมีแนวทางให้แบล็กลิสต์เลย

หลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. ต้องไปออกแบบกระบวน แจกและแลกคูปองทีรอบคอบรัดกุมมาเสนอให้กรรมการทราบ รวมทั้งเสนอต่อ คสช.ต่อไปด้วยค่ะ
สำนักงานกสทช. ควรร่วมมือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ อาทิ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หรือตำรวจ เพื่อวางแนวทางการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการแจกคูปอง

ในส่วนของการประหยัดงบประมาณ (แทนการต้องลงทะเบียนก่อน) อาจมีการณรงค์ให้คนที่ไม่จำเป็นต้องใช้คูปอง ไม่ต้องใช้สิทธิ์นี้ เงินก็จะเหลือคืนรัฐ

ดิฉันเสนอไปว่า เงินที่จะเหลือคืนรัฐจากครัวเรือนที่สละสิทธิ์เพราะไม่จำเป็นต้องใช้คูปอง ให้ทำโครงการช่วยเหลือครัวเรือนนอกทะเบียนราษฎร์ต่อไป

ปล.แบบคูปองที่จะพิมพ์แจก สวยงามและมีความหมาย บางครัวเรือนอาจอยากเก็บคูปองไว้ ไม่ใช้สิทธิ์ เงินก็จะยังคงอยู่ที่รัฐไปใช้ทำอย่างอื่นต่อไป ที่คอนโดของดิฉันเอง ซื้อทีวีดิจิตอลในตัวไปแล้ว เมื่อได้คูปองมาไม่จำเป็นต้องใช้ อาจจะยกให้คนอื่นที่จำเป็นหรือไม่ใช้สิทธิ์นั้น เก็บคูปองไว้

สรุป ขอบคุณองค์กรผู้บริโภค ภาคประชาสังคม สตง. สำนักงาน และ บอร์ด กสทช. ที่นำมาซึ่งมติบอร์ดสุดท้ายที่คิดว่าพอรับร่วมกันได้ในที่สุด ส่วนตัวดีใจที่ไม่ต้องโหวตแพ้เป็นเสียงส่วนน้อยแล้ว มติเอกฉันท์สังคมไม่กังขามาก งานอื่นๆจะได้เดินหน้าต่อไป จากนี้ก็คงต้องช่วยตรวจสอบกระบวนการแจกคูปอง แลกกล่องและทีวีต่อไปค่ะ
…………….
หลังประชุมบอร์ด กสทช. ช่วงบ่ายมีประชุมกับตัวไทยคมและผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมทั้งหมดเพื่อจัดตั้งกลไกการกำกับดูแลตนเอง/กันเอง/ร่วมกัน

อ่านสรุปประเด็นการประชุมร่วมกับไทยคม และ ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมได้ที่ TL Nbtc Rights โมเดลการกำกับดูแลมาตรฐานสากลมี 4 ระดับคือ
1. กำกับตนเอง
2. กำกับกันเอง
3. กำกับร่วมกัน
4. กำกับโดยรัฐ
ขึ้นอยู่กับความหนัก-เบาของเรื่องด้วย

การประชุมร่วมกับโครงข่ายทีวีดาวเทียมวันนี้ ดิฉันเสนอให้ แต่ละโครงข่ายทีวีดาวเทียมทำแนวทางกำกับตนเองกับช่องรายการที่มาเป็นลูกค้า

จากนั้นเสนอให้ไทยคมในฐานะเป็นผู้ให้เช่าดาวเทียมทั้งหมด ควรทำกลไกกำกับกันเองระหว่างโครงข่ายต่างๆ เพื่อสร้างมาตรฐานร่วม (standardization)

เนื่องเพราะที่ผ่านมาแต่ละโครงข่ายอาจมีมาตฐานต่างกันมาก อาทิโครงข่าย A ค่อนข้างอนุรักษ์นิยม ส่วนโครงข่าย B เสรีนิยม ดังนั้นควรช่วยกันทำกติกากลางที่เห็นด้วยกันก่อน

เมื่อโครงข่าย A-B-C-D ต่างทำกลไกกับดูแลตนเองแล้ว จากนัั้นไทยคมอาสาเป็นตัวกลางในการทำกติการ่วมของทุกโครงข่าย จากนั้นเชื่อมกับ กสทช.กำกับร่วม

ถ้ากลไกทั้งหมดยังไม่ได้ผล กสทช.ก็ใช้อำนาจของตัวเองกำกับตรงคือลงโทษทางปกครองในกรณีที่ผิดกฏหมายชัดเจน ส่วนด้านจริยธรรมต้องส่งองค์กรวิชาชีพ

วันนี้โครงข่ายดาวเทียมที่มาประชุมรับปากไปสร้างกลไกกำกับดูแลช่องลูกค้าของตนเอง อาทิทางPSI เริ่มมีพนักงานประจำที่มาดูแลเรื่องเนื้อหาเต็มตัว

จากนี้ถ้าผู้บริโภคร้องเรียนเนื้อหาในรายการทีวีดาวเทียม สำนักงานจะแจ้งช่อง และแจ้งโครงข่ายให้เร่งตรวจสอบด้วย ถ้าพบความผิดให้ระงับทันที

จากนี้ สำนักงานจะทำงานต่อเนื่องให้การพัฒนากลไกกำกับดูแลตนเอง/กันเอง/ร่วมกัน กับผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดาวเทียม รวมทั้งกับช่องด้วยในอนาคต เพื่อให้เกิดรูปธรรมที่ยั่งยืน