ความยากมักอยู่ตรงนี้ คนจำเป็นสุดมักตกสำรวจ(ตามกฎหมาย)คนไม่จำเป็นเลยมีสิทธิ์ (ตามกฎหมาย) #ดิจิตอล

4 พ.ย. 57

Summary of a round-table discussion with rep from Department of Provincial Administration, Minister of Interior & reps from civil society on having more lists for NBTC to subsidize cash coupon for digital TV. So complexed & it reflects an unequality of households in Thai society. After all, more of actual houses are than real households registered, it means Millions own more than one house & Millions don’t own any house either. Some have too much & many have too little than it should be. C’est la vie but must be positive for a better future…

NBTC has plan to subsidize non-registered households in urban-poor communities as well. More to update.
วันนี้อยู่ในโหมดมหาดไทย  สรุปงานใน TL ดังนี้นะคะ

ช่วงเช้ามีประชุมโต๊ะกลมร่วมกับตัวแทนกรมการปกครอง สำนักงาน กสทช. และภาคประชาชน อาทิ องค์กร NGOs ด้านชุมชนแออัด แรงงาน ผู้บริโภค เรื่องการแจกคูปอง ตามที่บอร์ด กสทช. มีนโยบายให้สนับสนุนคูปองเพิ่มเติมให้กับครัวเรือนอื่นๆ และกลุ่มคนรายได้น้อย เป็นต้น วันนี้ได้เคลียร์ความชัดเจนกับทางตัวแทนกรมการปกครองในเรื่องตัวเลขครัวเรือนทางทะเบียนราษฎร์ของประเทศไทยพบว่าซับซ้อนจริงอะไรจริง จาก 22 ล้านกว่าครัวเรือน มีราว14.1ล้านครัวเรือนที่มีเจ้าบ้าน ส่วน 6.9ล้านมีบ้านจริงแต่ไม่มีชื่อคนอาศัย (อาจเป็นบ้านหลังที่2อยู่เองหรือให้เช่า)

กลุ่ม 6.9 ล้านครัวเรือนนี้ เราจะยังไม่ส่งคูปอง เพราะมีตัวบ้านแต่ไม่มีรายชื่อคนอยู่ในบ้านเลย ส่วนฐานคนเช่าบ้านก็ยากลำบากในการพิสูจน์สิทธิ์ ทางกรมการปกครองเสนอแนะว่า อยากให้เจ้าของบ้านใน 6.9 ล้านนี้มาแสดงตัวตน เพื่อได้สิทธิ์คูปอง จะได้เป็นโอกาสในการอัพเดทฐานครัวเรือนที่แท้จริง จากข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยมีบ้าน คอนโด หรือที่พักตากอากาศ หลังที่ 2 หรือ 3 มากทีเดียว

กสทช.ตั้งใจแจกคูปองให้ครบตามแผนเดิม แต่ 6.9 ล้านครัวเรือน เป็นบ้านที่ไม่มีรายชื่อคนอาศัย ถ้าส่งไปสิทธิ์ก็อาจเป็นของเจ้าของบ้านซ้ำซ้อน อีกกลุ่มคือราว 2.3 ล้านครัวเรือน อันนี้มีบ้าน มีรายชื่อคนอยู่อาศัยแต่ไม่มีเจ้าบ้าน วันนี้ได้ข้อยุติว่ากรมการปกครองจะส่งรายชื่อเพิ่มให้ กสทช. เพื่อส่งคูปอง ความท้าทายของ 2.3 ล้านครัวเรือนคือ ถ้าบ้านนั้นมีชื่อผู้อยู่อาศัยเกินกว่า1คน (แต่ไม่มีเจ้าบ้าน) ถามว่าจะให้สิทธิ์ใครในบ้านมาใช้คูปอง

พบข้อมูลว่ายังมีครัวเรือนที่มี ‘ทะเบียนบ้านชั่วคราว’ ราว8หมื่นกว่าราย (มีบ้านแต่ไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน) ได้ข้อยุติคือกรมการปกครองจะส่งรายชื่อให้เพิ่ม เฟสแรกนี้ท่านใดข้องใจว่าทำไมบ้านตนไม่ได้รับคูปอง ทั้งที่มีสิทธิ์ ต้องสำรวจว่าบ้านท่านมีเจ้าบ้านหรือไม่ ถ้าเจ้าบ้านเสียชีวิตคือไม่มีเจ้าบ้าน ข้อแนะนำของกรมการปกครองคือบ้านใดที่เจ้าบ้านเสียชีวิตแล้วไม่ได้ไปแจ้งเปลี่ยนเจ้าบ้านใหม่ คือเป็นบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน (ยังไม่ได้คูปอง) กลุ่มที่เพิ่งแจ้งเปลี่ยนเจ้าบ้านใหม่หรือเพิ่งแจ้งย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้านช่วงนี้ยังไม่ได้คูปอง ต้องรอรอบเก็บตก เพราะกรมการปกครองตัดข้อมูลต้นปี

สรุป ถ้าทางกรมการปกครองส่งรายชื่อเพิ่มเติมให้กับ กสทช. (2.3ล้าน และ 8 หมื่นครัวเรือน) สำนักงาน ก็จะมีการส่งคูปองย้อนหลังให้ใน21จังหวัดแรกด้วย

กรมการปกครองสนับสนุนโครงการนี้เพราะต้องการกระตุ้นให้มีการ cleansing หรืออัพเดทฐานข้อมูลครัวเรือนประเทศไทยตามสภาพการณ์จริงๆ ทาง กสทช. มีแนวโน้มจะเก็บตกครัวครัวเรือนตกหล่นเพิ่มใน 6.9 ล้านครัว (ที่ไม่มีรายชื่อในบ้าน) แต่ต้องมีการมาลงทะเบียนเป็นเจ้าบ้านจริงๆก่อน หนึ่งบุคคลสามารถเป็นเจ้าบ้านได้หลังเดียว ถ้ามีบ้าน2หลังขึ้นก็ต้องใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าบ้าน จึงจะได้สิทธิ์ต่างๆของเจ้าบ้านนั้น ครัวเรือนที่เจ้าบ้านเสียชีวิตจำนวนมากแต่ไม่ได้ไปแจ้งชื้อเจ้าบ้านใหม่ อันนี้จะกลายเป็นครัวเรือนตกสำรวจ อยู่กลุ่มไม่มีเจ้าบ้านด้วย ต้องเร่งแจ้ง

ส่วนครัวเรือนในชุมชนแออัด ส่วนมากไม่มีฐานข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ (แต่เขาต้องมีชื่ออยู่ในบ้าน ต่างจังหวัด) กลุ่มนี้ทาง NGOs ต้องการให้ กสทช. ดูแลสิทธิ์ด้วย

วันนี้ตัวแทนกรมการปกครองบอกว่า การใช้คำว่า ‘ครัวเรือนนอกทะเบียนราษฎร์’ นั้นไม่ถูกต้อง คือคนไทยทุกคนต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ไหนสักแห่ง ดังนั้นกลุ่ม 2.3 ล้านครัวเรือน จะไม่ใช่ครัวเรือนนอกทะเบียนราษฎร์ แต่เป็นกลุ่มผู้อยู่อาศัยในทะเบียนราษฎร์ แต่ไม่มีหรือไม่ได้เป็น ‘เจ้าบ้าน’ ครัวเรือนในชุมชนแออัด ที่ย้ายรกรากมาเมืองไทยแต่ชื่ออยู่บ้านต่างจังหวัด อันนี้ก็ไม่ได้สิทธิ์ แต่มีข้อเสนอวันนี้ให้ กสทช. สนับสนุนคนรายได้น้อยด้วย

จึงเสนอ สำนักงาน ให้ตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐ และ ภาคประชาสังคมอื่นๆ

กรณีการแจกคูปองนี้ทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมชัดเจนขึ้นอีกมิติ คือคนมีบ้านมากกว่า 1 หลัง หลายล้าน และ คนไม่มีบ้านของตนเองหลายล้าน ความยากของเรื่องมักอยู่ตรงนี้ คนจำเป็นสุดมักตกสำรวจ (ตามกฎหมาย) คนไม่จำเป็นเลยมักมีสิทธิ์ (ตามกฎหมาย) มากมาย กรมการปกครองบอกว่า คนไทยที่ตกสำรวจในทะเบียนราษฎร์คือคนเถื่อน ฟังแล้วก็เศร้าลึกๆ ส่วนกลุ่มคนไร้บ้าน หรือ home less ไม่ได้แจกคูปอง เพราะขาดปัจจัยพื้นฐานคือ ไม่มีบ้าน ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีทีวี …