อยากให้ภาครัฐ จริงจัง ฉับไวกับปัญหาการกำกับดูแลโครงข่าย ให้เข้มข้นพอๆกับเรื่องการกำกับเนื้อหาตามมาตรา 37 บ้าง

Sum up 16 พ.ย. 57

Prep for Broadcast Panel’s meeting tmr on a controversial agenda related to content rules under Martial law & Article 37 of Broadcast Media Act against 4 political tv channels on satellite.

I would possibly be in a minority vote this time, perhaps as always when it comes to content-related rules which go beyond a proportionate means. More to tell, discuss & explain.

เตรียมประชุมบอร์ด กสท. วันจันทร์ที่ 17 พ.ย. 57 วาระอุ่นๆร้อนๆ ปรับจากโหมดคูปอง – กล่อง – MUX มาเป็นการกำกับเนื้อหา เรื่องช่องทีวีดาวเทียมการเมือง มติคงเป็นฟรีโหวตแบบไม่เอกฉันท์ ต้องลองถกกันก่อน

หลังจากสัปดาห์ก่อนอึมครึม อึดอัดเรื่องเรื่องการแก้ปัญหาโครงข่าย MUX ดิจิตอลทีวี สัปดาห์นี้มาอึมครึมต่อเรื่องมาตรา 37 ที่ อนุกรรมการกำกับเนื้อหาฯเสนอบทลงโทษ 4 ช่องทีวีการเมือง ที่กลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อใหม่หลังถูก คสช. แบนหลังรัฐประหาร งานคงเข้าล้นอีก

#‎คหสต อยากให้ภาครัฐ โดยเฉพาะ กสทช. จริงจัง ฉับไวกับปัญหาการกำกับดูแลโครงข่าย MUX ให้เข้มข้นพอๆกับเรื่องการกำกับเนื้อหาตามมาตรา 37 บ้าง ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา37เพื่อควบคุมการแสดงความคิดทางการเมืองเข้มเกิน (แม้สถานการณ์ ณ บัดนี้จะอยู่ในช่วงกฎอัยการศึกก็ตาม)

ส่วนการกำกับ hate speech ควรวางกติกากลาง (Code) ว่า อันไหนเข้าข่ายรุนแรง ก่อนจะมีบทลงโทษ ที่สำคัญคือการใช้ดุลยพินิจตัดสินใจว่าอะไรคือ hate speech จนถึงขั้นมีความผิดทางกฎหมาย เราควรมีกรอบและผู้เชี่ยวชาญช่วย กสทช.วินิจฉัยเป็นระบบ

เหมือนโฆษณาเกินจริงที่ขัดกฎหมาย ก่อนที่ กสทช.จะลงโทษก็ต้องให้ อย. ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นเป็นผู้วินิจฉัยก่อนตาม กม. ไม่ใช่การใช้ดุลยพินิจเฉพาะของกรรมการ 5 คน อย่างไรก็ตามมาตรา 37 ให้อำนาจ กสท. 5 คนในการใช้ดุลยพินิจว่าอะไรขัดหรือไม่ขัดมาตรา37 รอฟังผลการลงมติต่อไป ถ้าผู้รับใบอนุญาตเห็นต่างก็ฟ้องศาลได้

บทลงโทษตามมาตรา 37 ขั้นต้นคือการปรับทางปกครอง อยู่ระหว่าง 50,000 – 500,000 บาท การปรับทางปกครองมีข้อกำหนดทางกฎหมายบังคับไว้ จะปรับสูงกว่านั้น หรือ ต่ำกว่านั้นไม่ได้

ส่วนอีกวาระต่อเนื่องคือร่างประกาศส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการและวิชาชีพสื่อตามมาตรา 39 – 40 ก็เข้าบอร์ด กสท. เช่นกัน ร่างนี้มีใจความในการสนับสนุน+ส่งเสริมการรวมกลุ่มของสื่อและวิชาชีพในการกำกับดูแลกันเองตามกรอบจรรยาบรรณ ถกกันกว่า 2 – 3 ปี มีทั้งคนเชียร์และค้าน

ก่อนหน้านี้มีองค์กรวิชาชีพสื่อค้าน ด้วยเกรงว่ามีมาตราที่ให้อำนาจ กสทช. แทรกแซงมากเกินไป ร่างสุดท้ายที่ปรับได้ยกมาตราดังกล่าวออกไปแล้ว ร่างนี้ให้บทบาทองค์กรวิชาชีพสื่อต้องรวมตัวกัน รับเรื่องร้องเรียนไปกำกับดูแลกันเองเป็นหลัก แต่ถ้าบางเคสไม่มีบทสรุป กสทช.อาจหยิบมาพิจารณาด้วย

รายละเอียดของร่างประกาศส่งเสริมการวมกลุ่มเพื่อการกำกับดูแลกันเองตามกรอบจรรยาบรรณนี้ ผลักดันโดย กสทช. Thawatchai Jittrapanun ด้วย มีอะไรถามได้ค่ะ ถ้าผ่านบอร์ด กสท. ก็จะไปเข้าบอร์ดใหญ่ เพื่อประกาศใช้ต่อไป

นอกนั้นมีเรื่องข้อกฎหมายการเก็บค่าธรรมเนียมทีวีอนาล็อกในระบบสัมปทานเดิม (ช่อง7และช่อง3) ที่ยังค้างคา จะเสนอวาระ กสท.ด้วย ไว้มาสรุปผลเพื่อทราบต่อไปค่ะ….