ประกาศกสทช. ฉบับนั้นออกแบบมาเพื่อป้องกันการครอบงำกิจการด้วย ไม่ใช่แค่กันฮั้วประมูลเท่านั้น

3 ก.พ. 58

Summary of Monday’s work, for Tuesday at work will summarize tmr.

Hectic week again on political, economic & technical issues.

More to elaborate.

สรุปงานของเมื่อวันจันทร์ ยาวนิด แถมบ่นหน่อยๆ ส่วนของวันอังคารค่อยมาสรุปวันพุธค่ะ เรื่องเยอะ สัปดาห์นี้เครียด จนต้องหนีไปฝึกโยคะเลย แต่เครียดกว่าเดิม เพราะไม่ยอมปล่อยวางให้กาย-จิตผ่อนคลาย
……

2 ก.พ. 58

สรุปผลประชุมบอร์ด กสท.โดยย่อ ดังนี้ค่ะ

บอร์ด กสท. 3:2 เห็นชอบตามมติอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ ให้คงการการบังคับใช้กติกาเรื่องการกำหนดสัดส่วนการถือครองช่องทีวี ตามมาตรา 31

ดิฉันเป็นเสียงข้างมาก 1 ใน 3 อีกครั้งวันนี้ในการลงมติเรื่องใหญ่ (เช่นเดียวกับกรณีคู่ขนาน)
สรุป กสทช.ต้องยึดกติกาในการกำกับการครอบงำตามมาตรา31

กว่าเดือนที่บอร์ด กสท. เสียงแตกในประเด็นว่าประกาศที่ออกกติกาก่อนการประมูลฯ มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องหรือไม่ จนต้องส่งถามอนุกรรมการที่ปรึกษา กฎหมาย

จนอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ ลงมติ 3 ประเด็นว่าประกาศต่างๆมีผลบังคับใช้ต่อเนื่อง จันทร์นี้ สนง. จึงเสนอ กสท. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

บอร์ด กสท. ลงมติเห็นชอบตามความเห็นของอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายฯ และมอบให้สำนักงานไปตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดและสรุปผลกรณี SLC/NMG/GMM

อีกทั้งมอบให้สำนักงานต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาชี้แจงตามกระบวนการทางปกครองอย่างรอบคอบ อย่าเปิดช่องให้ใครอ้างเหตุในการฟ้องร้องกระบวนการ

กรณีนี้ สนง.ควรรัดกุม รอบคอบข้อกฎหมาย และสังเกตว่าดิฉันไม่ค่อยทวิตรายละเอียดประเด็นนี้ บทเรียนจากกรณีพิพาท ‘คู่ขนาน’ คราวก่อน ทำให้ต้องระวัง

ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ทุกฝ่ายต่างทำการบ้านของตนเอง เพียงแค่เรื่องไม่เอิกเกริกแบบประเด็น ‘คู่ขนาน’ ส่วนหนึ่งเพราะความซับซ้อนทางเทคนิคกฎหมาย

รอบนี้มติบอร์ด กสท. มีความเห็นของอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. เป็นหลังพิงด้วย เพื่อยืนยันการบังคับใช้กฎ กติกาที่ กสทช. ออกมาเอง

การต่อสู้ในกรณีนี้ไม่ใช่เป็นประเด็นระหว่าง SLC vs. NMG แต่คือประเด็นการรักษาหลักการสัดส่วนการถือครองทีวีที่เรากำหนดตามโรดแมป

เมื่อสร้างบรรทัดฐานให้กรณีนี้ได้ ก็จะเป็นบรรทัดฐานของทุกกรณี ไม่ว่าคนถือครองหุ้นจะเป็น SLC NMG GMM หรือ ABC DEF XYZ ก็ตาม

อย่างไรก็ตามแม้ กสท. และ สนง.จะรัดกุมในการกระบวนการทางกฎหมาย แต่คาดได้ว่าประเด็นนี้สุดท้ายคงไปจบที่ศาลปกครองเช่นเดิม ดังนั้นคงไม่เร็วนัก การทำงานทุกวันนี้ของบอร์ด กสท.และ สนง.ที่ยืนหลักการดังกล่าว ท้ายสุดเพื่อใช้ต่อสู้คดีในชั้นศาลที่รอบคอบรัดกุม เพื่อการรักษาเจตนารมณ์และตัวบท

คาดว่าทีมกฎหมายของผู้เกี่ยวข้องในประเด็นถือหุ้นคราวนี้ จะ tough กว่าทีมกฎหมายกรณีคู่ขนานก่อนนี้ Lol

เป็นเรื่องยากเหมือนๆกัน ก็ต้องทำงานหนักกันทุกฝ่าย

กรณีมติเรื่องนี้ สมควรที่นักเรียนกฎหมายจะมาศึกษา อยากบอกว่า หลังจากที่ถกกันเรื่องเจตนารมณ์ แต่จุดน็อคอยู่ที่การอ้างมาตรา 31 ในอารัมภบทของประกาศ

ถ้าประกาศฉบับดังกล่าว ไม่ได้อ้างมาตรา31ของ พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ฯ มติเรื่องนี้คงไปยากเหมือนกัน อ้นนี้ถือว่าเป็นฝีมือคนร่าง หลายกรณีที่ถกเถียงกันเรื่องเจตนารมณ์แล้วจบไม่ลง นักกฎหมายจะถามหาตัวบท ดังนั้นคนทำกฎหมายจึงต้องละเอียดกับทุกตัวบทและทุกถ้อยคำมีความหมาย  ให้เครดิตสำนักกฎหมายและสำนักส่งเสริมการแข่งขันของ กสท. ที่ใส่รายละเอียดไว้ตั้งแต่ตอนทำร่าง

ถือว่ารอบคอบระดับหนึ่งแต่ก็มีปมใหม่ให้ต้องแก้เสมอ ถามว่า “มาตรา 31” สำคัญอย่างไร ?  เพราะเป็นตัวบ่งบอกว่าประกาศ กสทช. ฉบับนั้นออกแบบมาเพื่อป้องกันการครอบงำกิจการด้วย ไม่ใช่แค่กันฮั้วประมูลเท่านั้น

มาถึงจุดนี้ คาดว่าฝ่ายที่เห็นต่างจากมติ กสท. วันนี้ก็คงตั้งทีมกฎหมายหาทางแก้ปมมาตรา 31 ดังกล่าว

ดังนั้นดิฉันคงไม่ทวิตมากนัก

แต่ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า นอกจากมาตรา 31 ของ พรบ.ประกอบฯ แล้ว ข้อ 8.4  8.5 และ 7.2 ของประกาศดังกล่าวคือประเด็นสำคัญที่เห็นแย้งกัน

ส่วนฝ่ายที่เห็นต่างจะใช้ตัวบทข้อ 13.10 ของประกาศดังกล่าว มาคัดง้าง งานนี้คือตัวบทสู้ตัวบท แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ตัวบท (หลัก) !

อุปมาเหมือนคนกลุ่มหนึ่งสร้างประกาศขึ้นมามีตัวตน แล้วสุดท้ายตัวตนนี้ก็แยกร่างโต้ตอบกันเอง ราวกับปีศาจประกาศมีชีวิตแยกตนสู้ในร่างเดียวกัน สุดท้ายไม่รู้ฝ่ายใดจะชนะ LoL

เหนื่อยในการทำงาน ไม่เหนื่อยเท่าการต้องสู้กับอะไรบางอย่างที่อธิบายได้ยากมาก แต่มันก็ท้าทายเหมือนเรากำลังเล่นหมากรุกตลอดเวลา ต้องใช้สมาธิ ประสบการณ์ ห้ามพลาด ไม่เช่นนั้นอาจถูกรุกฆาต!

กระนั้นการทำงานเรื่องนโยบายที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก ก็ยังสนุกกว่าการต้องไปวิ่งช่วย สนง.ติดตามไปรษณีย์แจกคูปอง คนละฟีลแต่รากปัญหาคล้ายๆกันกระมัง

วันก่อนมีข่าวว่าเอกชนอาจใช้สิทธิ์ทางกฎหมาย ถ้ามติ กสท.ทำให้เขาเสียหาย วันนี้องค์กรผู้บริโภคมายื่นหนังสือบ้าง ถ้าไม่ทำหน้าที่กำกับก็จะโดนอีกฝั่งฟ้องได้เช่นกัน

00000

 

กลับมามติเรื่องเบาๆบ้าง การบังคับกติกากำกับระดับเสียง Audio loudness จริงๆ grace period ครบ 90 วันช่วง เม.ย. แต่นัดกับทุกช่องและ MUX เริ่ม 1 มี.ค.เลย

ส่วนเรื่อง Electronic Program Guides (EPG) หรือผังรายการทางหน้าจอทีวี ที่หลายท่านรอคอย ทุกช่องจะนัดกันพร้อม 8 มี.ค. ส่งผังมาที่ server กสทช. เป็นตัวกลาง คนดูจะได้ประโยชน์ ในการหาข้อมูลผังรายการย้อนหลัง ล่วงหน้า

00000

 

เมื่อจันทร์นี้ยังมีวาระ @ThaiPBS ฟ้องบอร์ด กสท.ที่สั่งลงโทษปรับกรณีรายการตอบโจทย์ในอดีต ศาลนัดไต่สวนเร็วๆนี้ ทางผู้ฟ้องอ้างความเห็นต่างของดิฉันด้วย

สนง.เสนอบอร์ด กสท.จึงตัองแต่งตั้งตัวแทนไปสู้คดีกับ @ThaiPBS ดิฉันจึงเดินออกห้องประชุม ไม่ได้พิจารณาวาระนี้ เนื่องจากเห็นเหมือนฝ่ายที่ฟ้องบอร์ด กสท. บางเรื่องเราก็เป็นข้างมาก บางเรื่องก็เป็นข้างน้อย กรณีนี้เห็นพ้องไปทาง @thaipbs ได้เปิดเผยความเห็นไปแล้ว ถือว่าเราต่างมีความคิดเป็นอิสระ

0000

 

วันอังคารเช้ามีประชุมกับกรมที่ดิน เครือข่ายคอนโด ติดตามความคืบหน้าการติดตั้งสายอากาศกลางรับทีวีภาคพื้นดิน บ่ายประชุมอนุคุ้มครองผู้บริโภค ไว้มาสรุปยาวๆ

0000

 

ส่วนวันที่ 5 ก.พ. สลับโหมดมาเรื่องจรรยาบรรณสื่อกับสิทธิมนุษยชน เปิดเวทีไตรภาคีสรุปบทเรียนจากกรณีคุณวัลลีและอื่นๆ ที่ สนง.กสทช. เรียนเชิญทุกท่านค่ะ…