เก็บตกประเด็นจากการประชุมบอร์ด กสท. by @supinya

4 มิ.ย. 58

Summary from Broadcast Panel’s meeting yesterday on various agenda in order to revoke digital TV licensees who are not able to pay a spectrum fee, new regulation for fair competition in satellite platform & more on content rules on nudity.

Also a brief report from today meeting & press conference with digital TV’s network operators & TV channels updating a progress for terrestrial coverage up to 80% nationwide & more communication action to solve those challenges for households to access to digital TV.

เก็บตกประเด็นจากการประชุมบอร์ด กสท. เมื่อวานนี้ หลายประเด็น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในลิงค์ข่าวในคอมเมนท์) และผลการประชุมร่วมกับคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินทุกราย ร่วมกับตัวแทนช่องเพื่อแถลงผลการตรวจสอบสัญญาณในพื้นที่ 50 % ของปีแรก และความคืบหน้าในการวางโครงข่ายครบปีที่2 ครอบคลุม 80% ของครัวเรือนในสิ้นเดือนนี้

ผลคือภาคส่งโครงข่ายมีความคืบหน้าไปแล้วตามแผน แต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่ภาครับมากกว่าคือความเข้าใจของครัวเรือนในการใช้กล่องดิจิตอลทีวีและการติดตั้งสายอากาศ ที่ต้องแก้ปัญหาด้วยการให้ สำนักงาน เร่งแผนทำประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมโดยด่วนทีสุด หลังจากบอร์ด กสทช. เห็นชอบให้ใช้งบประมาณกว่า 63 ล้านบาทไปตั้งแต่ปีที่แล้ว (แต่กระบวนการร่างทีโออาร์และการจัดซื้อจัดจ้างยังล่าช้าเกินกว่าเหตุ) รวมทั้งการทบทวนโครงสร้างอัตราค่าเช่าโครงข่าย MUX เพื่อลดภาระของช่อง และ การทำแผนเพื่อยุติทีวีอนาล็อกที่ สำนักงานจะเสนอเข้า กสท. ในการประชุมครั้งหน้าคือ 15 มิถุนายนนี้ อีกทั้งแนวทางที่จะไม่ให้โครงข่ายทีวีดาวเทียมนำช่องฟรีทีวีดิจิตอลมาออกซ้ำใน 10 ช่องแรก เพราะก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมในกลุ่มดิจิตอลทีวีด้วยกัน ซึ่งจะมีการโฟกัสกรุ๊ปวันที่ 10 มิถุนายนนี้

เช้าวันพรุ่งนี้มีนัดจะไปพบผู้บริหารของไปรษณีย์ไทย ตามจี้เรื่องยังค้างส่งคูปองไม่ถึงมือประชาชนนับล้านใบ และจะมีอีกเวทีในการประชุมร่วมกับกรมการปกครอง และ บริษัที่ขายกล่องดิจิตอลทีวีเพื่อสะสางปัญหาที่ค้างคาเช่นการจ่ายเงินค่าคูปองล่าช้า คูปองไม่ถึงมือ ความเข้าใจของประชาชนในการติดตั้งและอื่นๆเป็นต้น รายละเอียดจะแจ้งต่อไปค่ะ
………………

3 มิย. 58

ประชุมบอร์ด กสท. วันนี้มติส่วนใหญ่ออกมาเอกฉันท์ตามข่าว เว้นเรื่องช่อง13สยามไทยว่าขัด MOU ดิฉันเห็นต่างเหมือนกรณี PeaceTVที่ควรใช้มาตรา37ก่อน

ส่วนกรณีช่องไทยทีวี และ ช่อง S.E.XY. ดิฉันเห็นด้วยในการปรับขั้นต่ำตามฐานของมาตรา 37 ซึ่งเป็นกฏหมายที่อยู่ในอำนาจของ กสทช.ตามปรกติ

เพราะกรณีช่อง 13 สยามไท เมื่อ กสท. ใช้ฐานอำนาจของ MOU จากนี้เส้นทางก็จะเหมือนช่อง PeaceTV คือถ้า กสท.เห็นว่าผิดซ้ำก็จะถูกพักใช้และ เพิกถอนได้

พรุ่งนี้จะมีประชุมกับผู้รับใบอนุญาตโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน (MUX) และจะมีการแถลงข่าวร่วมกันเรื่องความคืบหน้าของโครงข่ายทั่วประเทศ

เก็บตกประชุมบอร์ด กสท.วันนี้ ก็มีเรื่องที่ทำเอาลำบากใจอยู่ 2 – 3 วาระ แต่ก็ต้องตัดสินใจ บางเรื่องใช้ฐานกฎหมาย บางเรื่องใช้ดุลยพินิจ

วาระแรกก็คงเป็นประเด็นใบอนุญาตช่องไทยทีวีและช่องโลกา ถือเป็นแนวทางที่โหดอยู่ แต่ฝ่ายกฎหมายยืนยันว่าต้องไปตามแนวทางนี้ คือต้องจ่ายทั้งหมด

รวมทั้งค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล 2% และค่าเข้ากองทุนฯ 2% เพิ่งทราบว่าทีวีดิจิตอล 22 ช่องมาจ่ายครบแล้ววานนี้ ขาด2ช่องเครือทีวีพูลเช่นเดิม

สรุปทีวีดิจิตอล 22 ช่องมาจ่ายเงินประมูลงวด 2 ที่ส่งเข้าคลังและค่าธรรมเนียม กสทช. อีก 4 % ครบแล้วตามเดดไลน์ ยกเว้นช่องไทยทีวีและโลกา

ทราบคร่าวๆว่า ค่าธรรมเนียม 4% ปีแรกของ 22 ช่องทีวีดิจิตอลประมาณรวมไม่ถึง100 ล้านบาท สำนักงานจะทำรายงานการเก็บค่าธรรมเนียมเข้า กสท.ครั้งหน้า

ค่างวดประมูลส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ค่าธรรมเนียม 2% เป็นรายได้เข้า กสทช. ส่วนอีก 2%เข้ากองทุนฯ ที่จะเกี่ยวข้องกับ กม. DE ในอนาคต

ค่าประมูลก็คือมูลค่าคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของรัฐ เมื่อประมูลไปแล้วก็ต้องจ่ายตรบตามสัญญา ส่วนรายได้(จากผลงาน) กสทช.อยู่ที่ค่าธรรมเนียม2%

‪#‎คหสต. ถ้า กสทช.ทำงานกำกับดูแลไม่ได้ตามเป้า ผู้รับใบอนุญาตอาจประท้วง(ด้วยการฟ้อง)ไม่จ่ายค่าธรรมเนียม 2% ก็จะตรงกว่าค่างวดประมูลที่เข้าคลัง เพราะค่าธรรมเนียม2% ที่เก็บจากรายได้ผู้ประกอบการ(คนละก้อนกับค่าประมูลคลื่น) ก็คือรายได้ที่เก็บมาเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานของ กสทช.นั่นเอง

ปล. แต่ค่าธรรมเนียมกำกับดูแล 2% ปัจจุบันนี้ มูลค่ารวมก็น้อยกว่าค่าประมูลคลื่นมาก

กรณีช่องไทยทีวีและโลกา #คหสต. กสทช.ก็คงต้องบังคับใช้กติกากรณีเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ไปตามกฎ แต่ช่องก็ยังขออุทธรณ์เรื่องระยะเวลาจ่ายได้ ถ้า กสทช. จำเป็นต้องยึดแบงก์การันตี ทางต่อสู้ในข้อพิพาทด่านสุดท้ายของผู้ประกอบการก็ยังอยู่ที่ศาลปกครอง

เรื่องใหญ่ขนาดนี้ สุดท้ายถ้าจบไม่ลง ก็ต้องไปจบลงที่ศาลเหมือนหลายกรณีก่อนหน้านี้ อาทิ MUX กรมประชาสัมพันธ์ ที่ กสท.ให้ปรับ แต่เขาก็ฟ้องศาล

ถ้านับค่าปรับกรมประชาสัมพันธ์ที่วางโครงข่ายล่าช้าตอนนี้ก็น่าจะราว10ล้านบาทได้ (แต่ยังไม่ได้เงินสักบาท) แม้ศาลเรียกไกล่เกลี่ยแต่ กสท.จะปรับ

กสท.ควรยืนยันจะปรับกรมประชาสัมพันธ์เช่นเดิม จากนั้นอาจนำไปสู่การพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาตได้ … เว้นแต่ศาลปกครองจะคุ้มครองชั่วคราวกรมประชาฯ

ในมุม กสท.ก็คงต้องบังคับใช้กตกาไปตามกฏหมาย โดยเฉพาะเรื่องเงิน แต่อย่างที่บอก กฏ กสทช.ถูกคานดุลได้ที่ศาลปกครอง ผู้รับใบอนุญาตยังมีสิทธิ์เสมอ

ทางเลือกมีแต่ก็ไม่มากนัก สุดท้ายถ้ายังไม่อยากคืนใบอนุญาตก็อาจเลือกหนทางให้ผู้อื่นมาเช่าเวลาหรือหาผู้ร่วมทุนใหม่ แต่ช่องก็ต้องปรับตัวเองบ้าง

กติกา กสท./กสทช. ออกแบบมาไม่ได้อยากให้คนทิ้งคลื่นที่จัดสรรไปแล้วด้วยการประมูล จึงเปิดกว้างให้หาผู้ร่วมทุนใหม่ได้ (แบบไม่ขัดสัดส่วน) และให้ผู้อื่นเช่าเวลาได้ถึงร้อยละ 40

เทียบกับคอนโด ถ้าทำสัญญากู้แบงค์มาจ่ายโอนแล้ว แม้หลังเข้าอยู่จะไม่พอใจ ก็ยังต้องผ่อนหนี้แบงค์อยู่ดี ทางออกคือหาคนมาเช่าช่วยค่าผ่อนงวด

เพียงแต่คลื่นต่างจากคอนโด เพราะมันเป็นทรัพยากรสาธารณะ มีจำกัด ไม่สามารถจัดสรรให้ทุกคนได้ จึงต้องมีการประมูลเพื่อแข่งขันกันอย่างเสรีภายใต้กติกาเดียวกัน และมีระยะเวลาการใช้ได้ 15 ปี ดังนั้นเมื่อจัดสรรไปแล้วก็ต้องเป็นไปตามสัญญานั้น ถ้าปรับแก้สัญญา จะมีปัญหากฎหมายทั้ง2ฝ่าย

คอนโดของเราอาจขายต่อได้ แต่คลื่นความถี่ขายต่อไม่ได้ เว้นแต่หาเจ้าของร่วมหรือแบ่งให้เช่าเกือบครึ่งหนึ่งได้ อยู่ที่การบริหารจัดการทรัพยากรด้วย

ถ้าคอนโดนั้นมีปัญหาเช่นหลังคารั่ว ถนนทางเข้าไม่เสร็จ ก็ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นรายกรณีไป แค่ถ้าจะขอคืนคอนโดหลังโอนก็ยากเสียแล้ว ถ้าจะขอคืน ไม่อยู่คอนโดนั้นแล้วก็ได้ แต่ก็ต้องไปเคลียร์กับธนาคารที่ไปกู้เงินเพื่อวางหลักประกันไว้อยู่ดี สัญญากับรัฐยิ่งหนักกว่าเอกชนด้วยกัน

#คหสต. สมัยสัมปทานที่อิงการเมืองในอดีต เวลาเอกชนมีปัญหา อาจมีการเจรจาเพื่อปรับเงื่อนไขสัญญาสัมปทานกันมา แต่ ยุคใบอนุญาตแบบ กสทช.ทำได้ยาก

เพราะระบบใบอนุญาตแบบ กสทช. เป็นระบบเปิด แข่งขันสูง เป็นpeer pressure อาทิช่องหนึ่งจ่าย ช่องหนึ่งไม่จ่าย มันก็มีข้อเปรีบเทียบ สังคมเห็นได้ชัด

ส่วนอีกวาระที่ตัดสินยาก คือกรณีมาตรา 37  กับความผิดของเนื้อหารรายการอากาศเป็นใจ ที่ผู้ประกาศแต่งหวิวพยากรณ์อากาศ จริงอยู่ไม่เหมาะสมมากๆ แต่ #คหสต. ก็ชั่งใจอยู่นานว่าจะให้ผิดกฎหมายไหม

เพราะภาพในจอไม่ถึงกับลามกอนาจาร ส่วนเรื่องขัดศีลธรรมอันดี จริงๆก็แล้วแต่มอง เพราะแต่งตัวแบบนี้ออกช่องอื่นก็มี สุดท้ายเป็นดุลยพินิจจริงๆในการตัดสินใจ

ถ้าจะบอกว่าเป็นข่าวพยากรณ์อากาศ ต้องแต่งกายให้ดูน่าเชื่อถือ ลองดูข่าวพยากรณ์อากาศช่อง 7 ที่แต่งองค์ทรงเครื่องยิ่งกว่ารายการตลก คนยังชอบ รับได้

ยอมรับว่าวาระนี้ตัดสินยากลำบากใจ แต่สุดท้ายดิฉันก็ลงมติว่าผิดมาตรา 37 ให้ปรับขั้นต่ำสุด ไว้จะมาอธิบายว่าสุดท้ายทำไมตัดสินใจแบบนี้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าช่องไม่พอใจกับคำตัดสินดังกล่าว ก็ฟ้อง กสทช. ที่ศาลได้เช่นกัน เป็นสิทธิ์ของผู้รับใบอนุญาตเสมอ ‪#‎มาตรา37

………………………………..

4 มิถุนายน 2558

กสทช.ร่วมกับMUX แถลงความคืบหน้าสัญญาณดิจิตอลทีวี
พบปัญหาอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ใช้สายอากาศนอกอาคาร หรือในอาคารแบบมีไฟเลี้ยง

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 58นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. และผู้ประกอบการโครงข่ายดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน ทั้ง 4 ราย ได้แก่ กองทัพบก ไทยพีบีเอส อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการขยายโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ของคณะทำงานติดตามคุณภาพสัญญาณพื้นที่ครอบคลุม และการขยายโครงข่ายภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยมีตัวแทนจากกลุ่มผู้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่าย(MUX) ผู้รับใบอนุญาตช่องดิจิตอลทีวี นักวิชาการเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน ที่ผ่านมาคณะทำงานได้มีการทดสอบคุณภาพสัญญาณเสมือนการรับชมผ่านกล่อง Set-Top-Box จำนวน 5 ยี่ห้อ รวมทั้งตรวจสอบการส่งสัญญาณของแต่ละโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่ตามการ Simulation หรือไม่ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยสำนักงาน กสทช. ตรวจวัดสัญญาณคู่ขนานกับการดำเนินการของคณะทำงานฯ โดยใช้อุปกรณ์การวัดสัญญาณโดยใช้เครื่องมือวัดตามมาตรฐาน

ซึ่งรายงานผลตรวจวัดสัญญาณทั้งหมด 34 จุด ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สงขลา พัทุลง นครราชสีมา เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน โดยภาพรวมพบว่าทุกจุดสามารถรับสัญญาณของทุกโครงข่ายได้ ค่าที่วัดได้จากกล่อง STB คุณภาพสัญญาณโดยเฉลี่ยเกินกว่า 60% และค่า MER จากเครื่องวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ กำลังส่ง (Power) ของแต่ละ MUX แตกต่างกันตามพื้นที่ สามารถรับชมได้ครบทุกช่องทุก MUX ยกเว้นโครงข่ายจากกรมประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่มีการออกอากาศจริง

นายธวัชชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการขยายโครงข่ายในสถานีหลักดำเนินการไปได้ 80 % ของครัวเรือน แล้ว แต่ยังคงต้องเร่งการขยายโครงข่ายในสถานีเสริมต่อไป ในขณะนี้ทุกโครงข่ายพยายามเร่งการติดตั้งสถานีเสริมทั้งหมดตามแผนที่วางไว้ ทั้งนี้ โครงข่ายกรมประชาสัมพันธ์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะสามารถติดตั้งได้ 22 สถานี

ด้านนางสาวสุภิญญา กล่าวว่า ปัญหาหลักตอนนี้คงอยู่ที่การดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในการติดตั้งอุปกรณ์การรับชม(Set – Top – Box) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้งสายอากาศรับสัญญาณแบบนอกอาคาร หรือสายอากาศในอาคารแบบมีไฟเลี้ยงในตัว(Active Indoor Antenna) ที่จะทำให้การรับชมทีวีระบบดิจิตอลมีประสิทธิภาพ ส่วนในวันพรุ่งนี้(5 มิ.ย.58) จะมีการประชุมหารือกับ บ.ไปรษณีย์ถึงสถานการณ์ปัญหาการแจกคูปองล็อตที่ผ่านมา และความพร้อมในการดำเนินการแจกคูปองล็อตสุดท้ายด้วย…