สรุปผลการประชุมบอร์ด กสท.10 ส.ค. 58

10 สค. 58

A brief summary from Broadcast Panel’s meeting today. Exhausted.
สรุปผลการประชุมบอร์ด กสท.วันนี้ เรื่องมาตรา37 – โฆษณาเกินเวลา -โฆษณาผิด อย.

(มีดราม่ากันพอประมาณ ถกเถียงกันจนเหนื่อย)

1. Case against @amarintvhd on Article 37 (Content rules), no conclusion yet. IMHO, case against @amarintvhd does not meet a criteria to violate Article 37 but it may involve Code of ethics/Conduct of media.

Therefore, instead of NBTC exercising a legal sanction on @amarintvhd , the channel should find it way to consider/solve this case. Right of reply should be exercised when media received a complaint on its impartiality or so.

It’s about ethics than a legal punishments. If it’s about a criticism to someone on TV, libel suits could be an option, rather than NBTC giving a penalty unless it has a public ramifications as well. Maybe I’m weird, often against content ruling by NBTC. Yes, I’m defending press freedom unless it is violating the rules.  But who set the rules?

Always a line btw press freedom & harmful content. If it is a harmful content, I will say it’s guilty.  If there are the critical speeches, do tolerate.

However, thanks to Broadcast Panel today for not having a penalty to @amarintvhd on its controversial talk-
show yet. Wait & see.

2. Broadcast Panel agreed on a criteria to fine radio&TV licensees if violating Rules for Advert Time allowed on the air after @Mono29TV got a complaint. 1 million Baht& plus 100,000 Baht per each day are an initial penalty for free-to-air TV licensees if violating Advert Time Rule (12.5 min per hr). 1 million Baht & plus 100,000 Baht per day for digital TV licensees if violating Consumer Protection Rules by having false FDA adverts on air.

3. Concerning on false @FDA advert, since NBTC has to wait for @fdathai ‘s Ruling therefore 20,000 Baht is a warning for all accused licensees. I am supporting Rules to protect media consumers but often defending media licensees on a matter of press freedom when it comes to speeches. Those adverts rulings are violating consumers by a clear Rules, but speeches are subjected to individual commissioner’s views.‪#‎imho

I have my own views & judgment when it comes to regulating speeches on TV & radio as explained in many cases earlier & today on @amarintvhd .
More to come.

สรุปภาคภาษาไทยดังนี้ค่ะ

1. วาระอนุด้านเนื้อหาเสนอลงโทษปรับรายการ ‘ต่างคนต่างคิด’ ช่อง @amarintvhd ฐานผิดมาตรา37 แต่ วันนี้ประธานอนุด้านเนื้อหาขอนำวาระกลับไปดูใหม่ การถกเถียงใน กสท. กรณีรายการต่างคนต่างคิด บอร์ดส่วนใหญ่ ยังไม่แน่ชัดว่าจะเข้าข่ายขัดมาตรา 37 แต่ยังไม่ได้ลงมติ เพราะประธานอนุฯขอไปพิจารณาใหม่ ดังนั้นในวันนี้ จึงไม่มีการลงมติว่า @amarintvhd กระทำผิดมาตรา37 แต่เรื่องก็ยังไม่จบ กลับไปอยู่ในชั้นอนุกรรมการด้านเนื้อหาอีกรอบ ดูต่อไปค่ะ

‪#‎คหสต.ประเด็นในรายการต่างคนต่างคิด เป็นเรื่องของผู้ร่วมรายการพาดพิงบุคคลที่ 3 ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องหมิ่นประมาทกันเองให้ศาลตัดสินก็เป็นได้ ส่วนการพิจารณาว่าผิดกฎมาตรา37ของ กสทช.หรือไม่คือต้องดูผลกระทบในภาพรวมต่อสังคม เช่นเรื่องความมั่นคงของชาติ ศีลธรรมอันดี ลามกอนาจาร ฯลฯ อย่างไรก็ตามรายการตอนนี้อาจมีประเด็นแนวจรรยาบรรณของช่อง เรื่องให้สิทธิผู้ที่ถูก พาดพิงได้ชี้แจงผ่านสื่อของช่องหรือไม่

การวิจารณ์บุคคลสาธารณะย่อมทำได้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ แต่ความรับผิดชอบอยู่ที่ผู้แสดงความเห็นนั้นตามกฎหมาย ส่วนตัวกลาง (ช่อง) ต้องรับผิดชอบด้วยไหม ต้องดูบริบท อาทิ ถ้าตัวกลางหรือช่องปล่อยให้ผู้แสดงความคิดเห็นพูดจาหยาบคายหรือผลิตความเกลียดชังโดยจงใจมาก อันนี้อาจกระทบสาธารณะจนเข้าข่ายมาตรา 37ได้ ถ้าเป็นการวิจารณ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลที่ดูก้ำกึ่ง ทางผู้ถูกพาดพิง อาจใช้สิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาล แต่ถ้า กสทช.ไปตัดสินถูกผิดเอง กสทช.ก็จะกลายเป็นศาลได้

ยกตัวอย่าง ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์ออกทีวีกล่าวหาว่าตัวดิฉันเองทำงานไม่ได้เรื่อง ทำไม่ถูกต้องอย่างโน้นอย่างนี้ นิสัยไม่ดี ฯลฯ แม้จะ(ไม่)เป็นความจริง ดิฉันรู้สึกว่าตนเองเสียหาย แต่ใช่ว่าจะไปตัดสินว่าช่องผิดทันทีได้ กรณีแบบตัวอย่างที่ยกมาคือ ดิฉันอาจมีทางเลือกในการขอชี้แจงข้อมูลอีกด้านไปกับทางช่อง หรือ ดิฉันไปฟ้องหมิ่นประมาท แทนการให้ กสทช. มาลงโทษช่อง เป็นต้น แต่ในทางตรงข้าม สมมติคนที่วิจารณ์ดิฉันออกทีวี ใช้ภาษาหยาบคายมากๆและดูถูกดิฉันในความเป็นผู้หญิง/เหยียดผิวพรรณ ละเมิดสิทธิมนุษยชน/ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันนี้อาจมองว่ากระทบต่อภาพรวมสังคมได้

ดังนั้น การที่บอร์ด กสท.จะลงมติ ว่าสื่อหรือตัวกลางที่นำเสนอผิดไหม ควรดูเจตนา บริบทและผลที่ออกมาว่ากระทบปัจเจกบุคคลหรือผลกระทบรวมต่อสังคม อย่างไรก็ตาม แม้ในที่สุดกรณีนี้อาจ *ไม่* ขัดกฎมาตรา37 แต่ถ้าขัดหลักจรรยาบรรณช่อง  ฝากทาง @amarintvhd พิจารณาการกำกับดูแลตนเองในกรณีนี้และอื่นๆ การพาดพิงผู้อื่นในขอบเขตที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สาธารณะ  จริงๆทำได้ แต่ก็ต้องยึดหลักจรรยาบรรณ ให้สิทธิผู้นั้นได้ชี้แจง (Right of reply)

กรณีนี้ จริงๆเรื่องยังไม่ต้องถึงขั้น กสท.ตัดสินตามาตรา 37 แต่ควรให้ช่องกลับไปพิจารณาตามกรอบจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ของช่องเองก่อน มันมีเส้นแบ่งบางๆ ในการจะพิจารณาว่าเนื้อหาใดกระทบต่อปัจเจกบุคคล หรือ กระทบสังคมภาพรวม ถ้ากระทบสังคมโดยรวม กฎหมายให้อำนาจ กสทช.ไว้ระดับหนึ่ง เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับอัตวิสัยของคนตัดสินมากๆ ที่กล่าวมาก็เป็นแนวทางในการพิจารณาของดิฉัน ส่วนของท่านอื่นก็อาจต่างกันไปค่ะ ‪#‎กสท.‪#‎มาตรา37

การพิจารณาด้านเนื้อหา ยากมาก เพราะไม่มีกรอบตายตัว ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและบริบท คือต้องใช้เวลา สมาธิ ข้อกฎหมาย องค์ความรู้ ไตร่ตรองหลายรอบ (วันนี้ขอบคุณหลายท่านที่ช่วยให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและอื่นๆค่ะ)

ปล.รายการต่างคนต่างคิด ที่มีประเด็นเข้าบอร์ดวันนี้ เป็นเรื่องการโยกย้ายตำรวจ มีอดีต ผบ.ตร. มาวิจารณ์การทำงานของผู้บริหารตำรวจบางท่าน

สรุปอีกครั้ง กรณี @amarintvhd วันนี้ กสท. ยังไม่มีการลงติ อนุกรรมการด้านเนื้อหาขอนำเรื่องกลับไปพิจารณาใหม่ #มาตรา37

……

อยากให้สื่อและสังคมดูรูปแบบของ Twitter เรื่อง Right of Reply ใครพาดพิงใคร ก็เปิดให้คนนั้นตอบกลับ ได้และคนต้นเรื่องควร RT เพื่อให้คนติดตามเห็น การพาดพิง(mentions) เปิดให้มีการตอบกลับ/ตอบโต้(reply) และฝ่ายที่พาดพิงยินดี(RT) ให้ฝ่ายถูกพาดพิงใช้สิทธิ์ในการชี้แจง (Right of reply) นอกจาก RT แล้ว ยังสามารถ mention ผู้ถูกพาดพิงใหม่ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ถ้าไม่เคลียร์กันจริงๆก็ต้องไปฟ้องศาลตามกระบวนการยุติธรรมในที่สุด

ผู้ถูกผู้อื่นพาดพิงใน Twitter คงไม่สามารถไปบอกให้คนดูแลระบบทวิตเตอร์ลงโทษหรือแบนคนนั้นได้ เว้นแต่การพาดพิงนั้นกระทบหลักการกลางที่ระบบวางไว้ เป็นต้นค่ะ

พอสังเขป

ตามนั้น

จะสรุปวาระอื่นๆต่อไปบ้าง

ดังนี้

……..

2. วาระร้องเรียนช่อง @Mono29TV โฆษณาเกินเวลา อนุผู้บริโภคให้ปรับเลยเพราะทำความผิดแล้ว(ดิฉันเห็นด้วย) แต่มติบอร์ด กสท.ให้เตือนก่อน ถ้า ผิดอีกจะปรับ 1 ล้านบาท วันนี้บอร์ด กสท.วางแนวทางการกำกับโฆษณาเกินเวลา ครั้งแรกจะโดนเตือนทางปกครองก่อน ครั้งถัดไปถ้าเป็นทีวีดาวเทียมปรับ5แสน ฟรีทีวีปรับ 1 ล้านบาท

มติบอร์ด กสท.วันนี้ช่อง @Mono29TV ยังไม่โดนปรับจริงแต่โดนภาคทัณฑ์ ถ้าผิดอีกจะโดนยาแรงเลยคือปรับ1ล้านบาทและรายวันวันละ5หมื่น ‪#‎โฆษณาเกินเวลา บรรทัดฐานนี้ก็จะใช้กับช่องอื่นๆ เช่นเดียวกัน ทั้งฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม เคเบิล วิทยุหลัก วิทยุทดลอง โดยฐานการปรับจะต่างกันตามฐานการเข้าถึงคนดู

ส่วนวาระการปรับกรณีอาหารและยา วันนี้มี 2 กรณี โดนปรับทั้งคู่ ต่างกันอยู่ ค่อนข้างซับซ้อน วันนี้บอร์ด กสท. สั่งปรับทีวีดาวเทียมช่อง Nice Channel ฐานโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. @fdathai 5แสนบาท ถ้าฝ่าฝืนปรับต่อรายวันวันละ1แสนบาท กรณีนี้เป็นเคสแรกที่ถูกปรับฐานมาตรา 31 ตอนนี้ช่อง Nice Channel หมดอายุใบอนุญาตไปแล้ว คงต้องดูว่าจะมาจ่ายค่าปรับหรือมาต่อใบอนุญาตหรือไม่

สำนักงานจะมีการบันทึกประวัติการทำความผิดของกรรมการบริษัท เพื่อเป็นฐานพิจารณาในกรณีอาจมีการไปตั้งบริษัทใหม่ เพื่อยื่นขอใบอนุญาตมาใหม่ ช่องทีวีดาวเทียมที่มีประวัติโดนร้องเรียนกรณีโฆษณาผิด อย. นอกจากโดนปรับแล้ว จะส่งผลต่อการยื่นต่อใบอนุญาต จะถูกลดเวลาลงเหลือ 3เดือน-1ปี

กรณี Nice Channel ที่รอบนี้ถูกปรับแพงได้ เพราะทำผิดซ้ำมาก่อน และยอมไปเปรียบเทียบปรับกับ อย. แล้ว จึงมีความผิดสมบูรณ์กับ กสทช. ต่างกับเคส RS ช่อง8 เครือ RS โฆษณาผิด อย.เช่นกัน แต่อยู่ในขั้นต้น บอร์ดให้ปรับ2หมื่นฐานขัดคำสั่งของ กสทช.ก่อน ถ้าไปเทียบปรับที่ อย.แล้วจะถูกปรับที่ กสทช.อีก1ล้านบาท

กระบวนการคือ อย.แจ้งว่าผิด- กสทช.สั่งระงับ-ช่องไม่ระงับ-กสทช.ปรับ2หมื่น-ช่องยอมไปเปรียบเทียบปรับที่ อย.- กสท.ปรับต่อ1ล้าน+รายวันจนกว่าระงับ ช่อง Nice Channel กสทช.เคยออกจดหมายสั่งระงับไปแล้วและทำผิดอีก สุดท้ายช่องยอมไปเปรียบเทียบปรับกับ อย. วันนี้บอร์ด กสท.จึงสั่งปรับ 5 แสนบาท กรณีช่อง 8 RS กสทช.มีจดหมายสั่งระงับไปแล้ว แต่ช่องยังไม่ไปเปรียบเทียบปรับกับ อย. บอร์ดจึงลงโทษฐานฝ่าฝันคำสั่งก่อน2หมื่น รอปรับโทษจริง1ล้าน ฐานการปรับถ้าความผิด อย.สมบูรณ์คือ ฟรีทีวีปรับ1ล้านบาท บวกรายวันวันละ1แสนบาท ช่องทีวีดาวเทียมปรับ 5 แสนบาทบวกรายวันวันละ1แสนบาท ‪#‎ผิด_อย.

ถามว่าถ้า กสทช.ออกคำสั่งแล้ว ช่องยังไม่ยอมไปเปรียบเทียบปรับกับ อย.ทำอย่างไร คำตอบคือช่องนั้นอาจยังไม่โดนปรับ 5แสน-1ล้าน แต่อาจโดนคดีอาญา อย. เพราะการที่ช่องไม่ยอมไปเปรียบเทียบปรับกับ อย. หมายความช่องนั้นไม่ยอมรับความผิด สุดท้าย อย.อาจต้องให้ศาลท่านตัดสินด้วยการส่งฟ้องคดีอาญา แม้จะใช้เวลาในการสู้คดีชั้นศาล แต่ถ้าสุดท้ายช่องนั้นถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดในคดี อย. ก็จะทำให้บริษัทนั้นมีประวัติอาญา ส่งผลต่อใบอนุญาตทีวี ช่องฟรีทีวี ถ้าถูก อย.ส่งฟ้องศาล ก็จะมีความเสี่ยงต่อประวัตินิติบุคคลและอาจขัดคุณสมบัติผู้รับใบอนุญาต ส่วนทีวีดาวเทียมอาจไม่ได้ต่อใบอนุญาต ดังนั้นถ้าช่องใดได้รับคำสั่งทางปกครองจาก กสทช. และ อย. ก็ควรไปเปรียบเทียบปรับที่ อย. แล้วยอมมาเสียค่าปรับที่ กสทช. ดีกว่าต้องไปสู้คดีในศาล

เว้นแต่ช่องนั้นๆมั่นใจว่า ไม่ได้ทำความผิดจริงๆ ก็ใช้สิทธิ์สู้คดีในชั้นศาลได้เช่นกัน แต่ก็ต้องมั่นใจว่าโฆษณาดังกล่าวได้รับการอนุญาต อย.แล้ว ประเด็นเรื่องโฆษณาอาหารและยา จะซับซ้อนหน่อย เพราะเป็นการใช้กฎหมายของ อย. คู่กับ กฎหมาย กสทช. ส่วนโฆษณาเกินเวลาคือกฎหมาย กสทช.เป็นหลักเลย ความผิดฐานโฆษณาเกินเวลา จริงๆปรับได้สูงสุดถึง 5 ล้านบาท แต่มติตอนนี้เริ่มขั้นต้น 1 ล้านบาท อาจค่อยๆยกระดับขึ้นตามฐานความผิดซ้ำซาก บทบัญญัติเรื่องโฆษณาเกินเวลาอยู่ในมาตรา 23 ของ พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ. 2551รับผิดตามมาตรา 57(3) ปรับได้ 5 แสนถึง 5 ล้านบาท มาตรา 23 พรบ.ประกอบกิจการฯ 2551 ระบุว่า ฟรีทีวีโฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง รวมทั้งวันเฉลี่ยไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

นอกจากขัดมาตรา23พรบ.ประกอบกิจการฯที่กำหนดระยะเวลาในการโฆษณาแล้ว ยังเข้าข่ายขัดประกาศ กสทช.ว่าด้วยเรื่องการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคอีกด้วย กรณีความผิดฐานโฆษณาอาหารและยา ค่าปรับจะแตกต่างกันตรงที่ประเภทใบอนุญาต ระดับชาติหรือท้องถิ่นและดูว่าฐานความผิดนั้นสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ด้วย อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ

………………………………………………………………………………………………………….

สรุปการแถลงข่าวมติบอร์ด กสท.

บอร์ดกระจายเสียง / กสทช. แถลงผลการประชุมครั้งที่ 26/2558 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2558

วันนี้ (10 สิงหาคม 2558) ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณาแนวทางการกำหนดค่าปรับทางปกครองกรณีบริษัท ยูนิเวอร์แซล โปร จำกัด ช่องรายการ Nice Channel ซึ่งฝ่าฝืนคำสั่ง กสท. ที่ให้ระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและยาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและยา ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ดังนี้

1. ผู้ประกอบกิจการวิทยุทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 50,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 50,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
2. ผู้ประกอบกิจการวิทยุที่ดำเนินการอยู่ก่อนพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 100,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
3. โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (โทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นหรือระดับภูมิภาค) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 200,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
4. โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีระดับชาติ) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 500,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
5. โทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ (ดิจิตอลทีวี) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 1,000,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
ทั้งนี้ ที่ประชุม กสท. ได้กำหนดค่าปรับทางปกครอง กรณี บริษัท ยูนิเวอร์แซล โปร จำกัด กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาฯ เป็นจำนวน 500,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง และให้มีคำสั่งแจ้งเตือนการพักใช้ใบอนุญาต เป็นเวลา 30 วัน หากยังฝ่าฝืนคำสั่ง

ต่อมาที่ประชุม กสท. พิจารณากรณีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ กสท.กำหนดเกี่ยวกับการการโฆษณาทางธุรกิจเกินกว่าระยะเวลาที่ กสท. กำหนด คือ 12นาทีครึ่งต่อชั่วโมง ตามมาตรา 23 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 อันเป็นการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามมาตรา 31 วรรคสองแห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสท. ในกรณีดังกล่าวได้กำหนดหลักการกำหนดค่าปรับทางปกครองให้ผู้รับใบอนุญาตชำระ ดังนี้

1 ผู้ประกอบกิจการวิทยุทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 500,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 20,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
2 ผู้ประกอบกิจการวิทยุที่ดำเนินการอยู่ก่อนพ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 750,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 50,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
3 โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (โทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นหรือระดับภูมิภาค) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 750,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 50,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
4 โทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ (โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวีระดับชาติ) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 1,000,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 50,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง
5 โทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ (ดิจิตอลทีวี) ลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 1,000,000 บาท และปรับทางปกครองวันละ 50,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่ง

โดยกรณีช่อง MONO 29 มีการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5 (8) เนื่องจากบริษัทฯ ออกอากาศรายการโดยมีการโฆษณาบริการหรือสินค้าเกินกว่า 12นาทีครึ่งต่อชั่วโมง ซึ่งเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงมีคำสั่งให้บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค พ.ศ. 2555 ข้อ 5(8) อย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนให้ มีคำสั่งกำหนดค่าปรับทางปกครองตามแนวทางที่กำหนดไว้

และที่ประชุม กสท. ได้พิจารณากรณีบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) มีการโฆษณาอาหารและยาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและยา ซึ่ง กสท. ได้ที่คำสั่งทางปกครองให้บริษัทฯระงับการกระทำดังกล่าวแล้ว แต่บริษัทฯได้มีการโฆษณาอาหารและยาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและยาซ้ำอีก จึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กสท. ที่ให้ระงับการโฆษณาฯ ที่ประชุม กสท. จึงมีมติกำหนดค่าปรับทางปกครองให้บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ชำระเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาทต่อวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ หากบริษัทฝ่าฝืนไม่มาชำระค่าปรับภายในเวลาที่กำหนดให้ใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึด หรืออายัดทรัพย์สิน และขายทอดตลาด เพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน ตามพ.รบ.วิธีปฏิบัติทางปกครอง มาตรา 57…