จันทร์5 ต.ค.58 งดประชุม : Sum up @supinya

29 ก.ย. 58

วันนี้บังเอิญในตารางตนเองไม่มีประชุมหรือ event ใดๆ ประเสริฐมาก เลยได้อยู่ห้องทำงาน เซ็นเอกสาร คิดอ่านโน่นนี่เงียบๆและแวบไปรักษาอาการเส้นเลือดขอด พักเรียนโยคะไปพักใหญ่แล้ว คงต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เอาชนะอะไร ไม่เท่าเอาชนะใจตนเอง
No meeting or any forum today, thanks to Goddess so I could spend time at my desk in my office & ponder after hectic weeks earlier. Tweeted abt content&advert rulings on TV, also about self-regulation, co-regulation & state regulation which NBTC is doing a model study for co-regulation. ThaiTV again would face another penalty for allowing criminal news which showed violences on the air without censoring it. ThaiTV just faced a penalty(half a million baht)by NBTC for showing gambling website written on a woman’s breast via free-to-air TV.

More to tell.

วันนี้ส่วนตัวไม่มีนัดหมายประชุม แต่ฝั่ง กสท. มีงาน focus group เรื่องแนวทางกำกับอัตราค่าเช่าโครงข่าย MUX รายละเอียดรอถามท่านThawatchai Jittrapanun เมื่อวานนี้อนุเนื้อหาฯเชิญตัวแทนช่องไทยทีวีมาชี้แจง เหตุออนแอร์เนื้อหาข่าวอาชญากรรมโดยไม่กลั่นกรองภาพ ส่อแววโดนลงโทษหนักซ้ำ ส่วนตัวไม่ได้เข้าประชุมอนุเนื้อหาฯแต่วันนี้คุยกับที่ปรึกษาซึ่งเป็นตัวแทนไปอยู่ในอนุชุดนี้เล่าให้ฟัง ยังไม่ได้ดูเทปเอง แต่ฟังแล้ว คิดว่าอาการโคม่า
อนุเนื้ิอหาชงมาให้ลงโทษปรับสูงสุดและมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ‪#‎ไทยทีวี

คงต้องรอดูมติการพิจารณาของ กสท.จันทร์12 ต.ค. 58 (จันทร์5 ต.ค.58 งดประชุม)

สิ้นเดือนตุลาคมนี้ จะครบกำหนดที่ตกลงกันต่อหน้าศาลปกครอง เรื่องการหาคนมาร่วมทุนเพื่อใช้หนี้ค่าคลื่นความถี่และอื่นๆ แต่ก็ถูกปรับสะสมไปเรื่อยๆ #ไทยทีวี กรณีปล่อยภาพข่าวอาชญากรรมออกทีวีโดยไม่กลั่นกรอง  ถ้าไม่แรงมาก ปรกติ กสท. จะไม่ลงโทษตามมาตรา37 เพราะมองเป็นเรื่องจรรยาบรรณให้ตักเตือน แต่เคสนี้รอดูผลการลงมติ

ถ้าบอร์ด กสท. ลงมติตามอนุเนื้อหาฯให้ลงโทษปรับเคสนี้ตามมาตรา37 ก็จะขยับบรรทัดฐานการกำกับดูแลโดยกฎหมายขึ้นมาอีกขั้น กรณีที่ขัดจรรยาบรรณรุนแรงจนกลายเป็นผิดกฎหมาย

หลักคิด: กำกับดูแลตนเอง+กันเอง ขยับมาเป็นการกำกับดูแลร่วมกัน มาจนสุดทางคือกำกับโดยกฎหมาย ของเรายังไม่มีตรงกลาง บางเรื่องจะข้ามมาใช้ กฎหมายเลย

สากลเขาจะใช้การกำกับดูแลกันเองเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณ แต่บางเรื่องที่ละเอียดอ่อนเช่นการคุ้มครองเด็ก เขาจะยกระดับเป็น co-regulation ตามกฎหมาย กสทช.และกฎหมายวิทยุ-ทีวี ปัจจุบันนี้จะมีแค่ 2 โมเดล คือการกำกับดูแลกันเองของสื่อ vs. การกำกับดูแลโดยรัฐ ที่หายไปคือ co-regulation ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าทาง สปช.สายสื่อจะผลักดันร่างกฎหมายที่ยกระดับไปสู่co-regulation แต่ก็มีเสียงค้านกันเองว่าล้ำเส้นไป พอดี สปช.หมดวาระก่อน ระหว่างที่รอ สปท.และ กรธ.มาว่ากันต่อเรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายใหม่ กสทช.ก็จะพยายามทำหน้าที่ของตนเองไปก่อน ปีนี้ก็สั่งลงโทษปรับไปหลายรายแล้ว

ปีนี้ สนง. กสทช. ได้ว่าจ้างทางศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ทำวิจัยเรื่องโมเดล co-regulation ของไทย โดยจะศึกษาจาก UK & Australia และประเทศในแถบอาเซียน เปรียบเทียบ งานวิจัยดังกล่าวคงเสร็จราวต้นปีหน้า ก็รอติดตามดูว่ามีอะไรน่าสนใจ (ให้ทุกฝ่าย) นำไปใช้งานผลักดันนโยบายต่อได้บ้าง

แนวคิดย่อๆของ co-regulation หรือการกำกับดูแลร่วมกัน คือ เริ่มต้นให้องค์กรวิชาชีพกำกับดูแลกันเองก่อน ถ้าไม่ได้ ก็ให้ส่งองค์กรกำกับตัดสิน (บางเรื่อง) ตัวอย่างของประเทศอังกฤษมีการกำหนดชัดเจนก่อนว่ากรณีใดจะเข้าข่ายใช้การกำกับดูแลร่วมกัน หรือ co-regulation ได้ เป็นเรื่องสำคัญแต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง ไว้มีโอกาสจะมาเล่าแนวคิดเรื่อง co-regulation เพิ่มเติมค่ะ มันมีเส้นแบ่งบางๆอยู่ ตรงกลางระหว่าง self-regulation และ state regulation

……

ส่วนกรณีที่ผิดกฎหมายชัดเจนคือ เรื่องร้องเรียนโฆษณาเกินเวลาเข้ามาอีกแล้ว ช่องฟรีทีวี HD เตือนไว้แล้วให้ระวัง ผิดครั้งแรกเจอใบเหลือง ครั้งต่อไปเจอปรับ1ล้าน ช่องทีวีดาวเทียมก็มีร้องเรียนเข้ามาอีกเช่นกัน ถ้าครั้งแรกเจอใบเหลือง ครั้งที่สองเจอปรับ 5 แสนบาท ‪#‎โฆษณาเกินเวลา

กองทุน กสทช. (กทปส.) จะเพิ่มพูนขึ้นก็จากค่าปรับทางปกครองนี่เอง คงคล้ายๆภาษีบาป คือ นำเงินจากโทษปรับไปเปิดให้คนมาขอทุนวิจัยและพัฒนาฯต่อ เรื่องร้องเรียนด้านเนื้อหาและโฆษณาทยอยเข้ามา จะเพราะคนดูร้องเรียนหรือคู่แข่งอาจจับตาร้องเรียนกันเอง แต่ถ้าผิดกฎกติกาส่งเข้า กสท. ก็เสี่ยงถูกปรับทุกราย ดังนั้นสิ่งใดที่เป็นกฎกติกาชัดเจนอยู่แล้วเช่นโฆษณาเกินเวลา หรือ โฆษณาไม่ผิดกฎ อย. สคบ. กรมวิชาการเกษตร ก็ควรระวังไม่ให้ผิดซ้ำซาก

เรื่องร้องเรียนโฆษณาเกินเวลาที่เข้ามาใหม่ ผ่านไปยังอนุเนื้อหาฯ แต่ต้องส่งให้อนุผู้บริโภคฯ พิจารณาก่อน เสนอบอร์ด กสท. วันก่อนเจอตัวแทนทีวีช่องหนึ่งบ่นว่าปรับ 1 ล้านมันสูงมากเลย เราบอกว่าเข้าใจ แต่มันขัดกฎหมายสำคัญต้องปรับแรง จริงๆกฎหมายให้ปรับสูงสุด 5 ล้านด้วยซ้ำ ก็ระวังๆกันให้มากขึ้นนะคะ…