…ว่าด้วยเรื่องงบประมาณ กสทช.

21 ตุลาคม 2558…ว่าด้วยเรื่องงบประมาณ กสทช.

A summary from NBTC Panel’s special meeting today on draft annual budget for 2016. Incomes from licenses’ fees are much bigger than actual expenses. The fixed expenses are okay but project-based activities shall be considered in term of priority, efficiency & impact as a regulator.‪#‎annualbudget

More to tell when Office brings back all details of 2016 annual budget for Panel’s consideration.

สรุปงานวันนี้ เช้ามีประชุมคณะทำงาน 5 ฝ่ายแก้ปัญหาเรื่องคูปอง กล่อง การทำความเข้าใจดิจิตอลทีวี และ แผนงานการยุติแอนะล็อกที่เกาะสมุย บ่ายมีประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. นัดพิเศษเรื่องกรอบงบประมาณปี 2559 มีมติให้คงตามกรอบเดิมเหมือนปี 2558 และ ให้ สำนักงานเสนออนุกลั่นกรองฯ ก่อนลงมติอีกครั้ง สำนักงานเสนอตัวเลขคาดการณ์รายรับที่ 8,xxx ล้านบาท ตั้งงบค่าใช้จ่ายราว 5,xxx ล้านบาท

ตอนแรกบอร์ดถกกันว่าจะเพิ่มกรอบงบประมาณปีหน้าขึ้นร้อยละ10ไหม แต่งบปีนี้ยังใช้กันไม่หมดเลย สรุปคงกรอบเดิมเท่าปีนี้ และให้ สำนักงานปรับรายละเอียดใหม่ ภาพรวมดูเข้มมากขึ้นในการวางกรอบงบประมาณและการใช้ แต่ถ้าดูตัวเลขภาพรวมราว 5,xxx ล้านบาทก็ยังถือว่าสูงใน ‪#‎คหสต.

รายรับของ กสทช. ที่มาจากค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาตก็สูงขึ้นทุกปีในภาพรวม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากฝั่งโทรคมนาคม ปีหน้ารายรับจะสูงขึ้นถึง 8,xxx ล้านบาท ถือว่า สำนักงาน กสทช. เก็บค่าธรรมเนียมได้มากกว่าต้นทุนการกำกับดูแลที่ใช้จริงๆ งบที่เกินมาส่วนหนึ่งก็อาจส่งเข้ากองทุนต่างๆตามกฎหมาย และส่งให้คลัง

งบประมาณภาพรวมของ กสทช. ถ้าแตกย่อยออกมา หลักๆ คือ งบค่าตอบแทน เงินเดือน และสวัสดิการของบุคคลากรทั้งองค์กร และ งบประจำเช่นการจัดประชุม สัมมนาต่างๆ อีกก้อนใหญ่คืองบโครงการต่างๆ (กิจกรรมที่จ้างคนนอกช่วยทำส่วนใหญ่) และงบพวกวัสดุอุปกรณ์ ระบบ เครื่องมือ งบประจำที่ใช้ค่อนข้างเยอะ น่าจะเป็นพวกงบจัดประชุม สัมมนา อบรม (รวมก้อนใหญ่คือเบี้ยประชุมอนุกรรมการคนนอก)  งบ PR งบวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลาย

ส่วนงบโครงการที่เยอะคืองบวิจัย/ศึกษา ถ้านั่งไล่ดูงบโครงการ(กิจกรรม) ของ กสทช. ที่จ้างคนข้างนอกในการศึกษาวิจัย ที่รับทุนบ่อยๆ อาทิ @ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมสากล รวมไปถึงบริษัทคอนซัลแทนท์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ

กสทช. ใช้งบจ้างที่ปรึกษาอย่าง ITU แทบทุกปี ตั้งแต่เรื่องประมูลคลื่นทำ3Gมาถึง4G ทีวีดิจิตอล ทีวีชุมชน ฯลฯ ปีหน้าจะมีงบขอจัดงานใหญ่ สูงทีเดียว ที่เห็นโครงการวันนี้คือทางรัฐบาลจะร่วมกับ กสทช. และ @ITU จัดงาน ITU Telecom Wolrd 2016 ขออนุมัติกรอบงบประมาณจาก กสทช. หลักมากกว่าร้อยล้านบาททีเดียว #คหสต. ไม่ได้คัดค้านการจัดงานใหญ่อย่าง  ITU Telecom World 2016 แต่คิดว่าถ้าจะจัดใช้งบสูง ก็ควรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจริงๆ ไม่ใช่แค่งานพิธีกรรม

นอกจาก @ITU แล้ว กสทช.ใช้งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาและสถาบันการศึกษาต่างๆค่อนข้างมาก ส่วนตัวก็ไม่ได้ค้านถ้าจำเป็นในการศึกษาเพื่อออกนโยบายและได้ใช้ประโยชน์จริง งานวิจัยศึกษาหลายชิ้นถ้ามานอนนิ่งอยู่บนเว็บไซต์หรือที่เขาว่าวางไว้บนหิ้ง มันก็จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุด #คหสต. จึงชอบงานที่เป็นรูปธรรม ใช้งานจริง มีปฏิบัติการมากกว่า

กสทช. ไม่ใช่ สกว. เราอาจไม่ต้องเน้นงานศึกษาวิจัยเพื่อวิชาการ (แต่กองทุนวิจัยและพัฒนาฯก็ควรสนับสนุนได้)

งานโครงการของ กสทช. ควรเป็นไปตามกรอบงานในแผนแม่บทฯ การศึกษาวิจัยโดยจ้างผู้เชี่ยวชาญข้างนอก ก็มีข้อดีหลายอย่าง แต่ข้ออ่อนคือคนใน กสทช. อาจไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการวิเคราะห์เช่นกัน ดิฉันได้อภิปรายในที่ประชุม กสทช.ว่าให้ลดโครงการที่ไม่จำเป็น ลดงานวิจัยเพื่อวิจัยลง  แต่เน้นงานการ ‘กำกับดูแล’ ให้มากขึ้น กสทช.ชุดนี้ ทำงานมาก็ขึ้นปีที่5แล้ว อีกไม่ถึง 2 ปีก็ครบวาระ บางครั้งถ้าเรามัวแต่จ้างผู้เชี่ยวชาญศึกษาวิจัยว่า ‘จะกำกับดูแลอย่างไร’ เราก็จะยุ่งจนไม่ได้มีเวลา ‘กำกับดูแล’ จริงๆ

แต่ก็เห็นพ้องว่าถ้าเป็นเรื่องใหม่ๆ ก็ควรมีการศึกษาวิจัยให้ทำงานมีพลวัต ทันเหตุการณ์ อาทิ เรื่องการกำกับดูแลบริการ OTT ซึ่งเรายังไม่มีข้อมูลเป็นต้น งานวิจัยของ กสทช. ส่วนใหญ่ต้องเปิดเผยผลงานขึ้นเว็บอยู่แล้ว แต่ค่อนข้างหายาก ต้องตั้งใจหา เพราะเว็บค่อนข้างรก สารพัดข้อมูลปะปนกันไป กสทช. ทำโครงการหรือว่าจ้างสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยมากทีเดียว แซวกันเล่นว่าแทบจะครบทุกมหาวิทยาลัยแล้วกระมัง ภาควิชาการจึงค่อนข้างเป็นมิตรกับ กสทช. ถ้ามีเวลานั่งค้นข้อมูลก็คงน่าสนใจว่า กสทช. ทำโครงการไปแล้วกับกี่มหาวิทยาลัย สถาบันหรือนักวิชาการใดรับทุนมากที่สุด ซึ่งทาง สตง.คงจับตาอยู่ การให้ทุนมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็ดีในแง่จะถูกตรวจสอบสองทาง
สตง. ต้องตรวจทั้งใบเสร็จของ กสทช. และใบเสร็จของฝั่งมหาวิทยาลัย คู่กันไป การจัดซื้อจัดจ้างผ่าน organizer ของเอกชน น่าจะเป็นจุดที่มีช่องโหว่มากที่สุด แต่พักหลังนี้ สำนักงาน ก็เข้มงวดกับ TOR ขึ้น คงเพราะถูกตรวจสอบมากขึ้น

กสทช.น่าจะเป็นองค์กรแรกๆที่ถูก คสช.ตรวจสอบงบประมาณทั้งหมด มีการปรับหลายอย่างดีขึ้น แต่ก็ยังมีหลายประเด็นถูกจับตา แต่ยังไม่มีใครออก/ถูกปลด

กสทช. ไม่ค่อยได้ให้ทุนกับ NGOs หรือองค์กรพัฒนาหรือภาคประชาสังคมเยอะเหมือน สสส. งบ กสทช. สัดส่วนงบประมาณ กระจายไปที่สถาบันวิชาการ/รัฐ/เอกชน เยอะทีเดียว สถาบันทีดีอาร์ไอก็มีรับทำงานทุนวิจัยจาก กสทช. ก็ถือว่า สำนักงานใจกว้างขึ้น คือทำงานกับทีดีอาร์ไอที่วิจารณ์ กสทช.ได้ เพราะยังเคยไปฟ้องนักวิชาการเขาด้วย

ในประเด็นค่าใช้จ่ายของบอร์ดปี ที่ผ่านมาหลังถูกตรวจสอบมาก ก็วางกรอบเข้มขึ้น อาทิ กำหนดเพดานวงเงินการเดินทางไปต่างประเทศ แต่การเดินทางของแต่ละคนก็ยังไม่เท่ากันอยู่ดี

3ไตรมาสที่ผ่านมาดิฉันไม่ค่อยได้เดินทางมากนัก แต่กำลังจะต้องไปประชุม 2 ครั้งในปีนี้ ไว้มาเรียนให้ทราบค่ะ

ปีที่ผ่านๆมาก็พยายามใช้งบเดินทางและงบรับรองของกรรมการเท่าที่จำเป็นอยู่แล้ว ยิ่งช่วงปีนี้ก็ระวังมากขึ้นอีก
ถ้าเดินทางไปไหนทำอะไรจะรายงานค่ะ ปีนี้ในประเทศเองก็เดินทางน้อยกว่าปีก่อนๆ จริงๆชอบไปออก ต่างจังหวัด แต่ตอนนี้จะไปเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพราะอยู่กรุงเทพก็มีงานไม่เว้นแต่ละวัน

ปลายปีนี้มีงานต้องไป ตจว. 3 ที่คือ อ.เกาะสมุย อ.ฝาง และ จ. ร้อยเอ็ด ล้วนเกี่ยวข้องกับงานยุติทีวีระบบแอนะล็อก

ไว้มาเรียนให้ทราบต่อไปค่ะ…