ถ้าท่านใดที่สละสิทธิ์คูปองไปก็ไม่ต้องเสียใจ เงินนั้นจะไปใช้สนับสนุนครัวเรือนอื่นๆ

Summary of today: In a meeting with stakeholders discussing further on the subsidy scheme for households. ‪#‎DigitalTV‪#‎settopbox ‪#‎DTV4ALL Biggest challenge: The Have Nots mostly don’t have official registration as householders. Other means needed for info. Today, we’ve got a framework before submitting to NBTC Panel & NCPO to approve the budget reserved from spectrum fees.More to update.

Tmr gonna be outdoor in an engineering mode visiting a high rise condo in suburb BKK which setting up a master antenna system within a building. #DTV4ALL

15 ตค. 58

สรุปงานวันนี้ เช้ามีประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางการสนับสนุนครัวเรือนที่ยังไม่ได้สิทธิ์คูปอง ‪#‎ดิจิตอลทีวี กับภาคเอกชนและผู้บริโภค สืบเนื่องจากคำมั่นสัญญาที่ กสทช. วางไว้ก่อนการประมูลว่าจะกันเงินจากการประมูลสนับสนุนการเข้าถึงของครัวเรือนราว 22 ล้าน แต่ตอนนี้แจกไปเพียง 13 ล้านกว่า ทั้งนี้เนื่องจากการที่ กสทช. ถูกฟ้องร้องและข้อเรียกร้องจากประชาชนกลุ่มที่ยังไม่ได้รับคูปอง คณะทำงานแม่น้ำ 5 สายของ กสทช. จึงให้จัดเวทีระดมข้อเสนอวันนี้

เบื้องต้นในเวทีประชุมได้ข้อสรุปว่าจะสนับสนุนการเข้าถึงดิจิตอลทีวีเพิ่มเติมให้กับครัวเรือนที่ยังไม่ได้รับสิทธิ์ 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มสิทธิ์ตกค้าง คือกลุ่มที่ กสทช. แจกคูปองไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับ และ กลุ่มที่ทำคูปองหาย

2. กลุ่มที่ยังไม่แจกคูปอง อาทิ ครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านแต่ไม่มีเจ้าบ้าน/ครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านชั่วคราว/ครัวเรือนเกิดใหม่หลังปี2557เป็นต้น

3. กลุ่มที่ไม่มีฐานข้อมูลในทะเบียนราษฎร์เลย แต่จัดเป็นครัวเรือนรายได้จำกัดถึงน้อย อาทิชุมชนในเขตเมืองแออัด แต่ต้องหาข้อมูลอื่นๆอ้างอิง

4. กลุ่มผู้ขาด/ด้อยโอกาส/องค์กรสาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลรัฐและอื่นๆ รวมการเยียวยาครัวเรือนแอนะล็อกที่ตกค้างก่อนการยุติทีวีแอนะล็อก

กลุ่ม 1 และ 2 มีฐานข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองอยู่แล้ว แต่กลุ่ม 3 และ 4 ต้องขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ และสำรวจเพิ่มเติม ส่วนวิธิการส่งมอบสิทธิ์ อาจต้องมีการทบทวน เพราะพบว่าการส่งทางไปรษณีย์มีปัญหาบางประการ แต่ก็ต้องดูว่าวิธีใหม่ ปัญหาจะไม่มากกว่าเดิม จะให้ สนง.หารือเพิ่มเติมกับทางกรมการปกครองกรณีกลุ่มที่2คือครัวเรือนที่มีฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ มีทะเบียนบ้าน มีคนอยู่ในบ้านแต่ไม่มีเจ้าบ้าน

กลุ่มแรกที่ กสทช.แจกคูปองไปแล้ว13ล้านกว่าครัวเรือน คือกลุ่มที่ข้อมูลสมบูรณ์แบบ คือมีทะเบียนบ้าน มีชื่อผู้อาศัยอยู่ในบ้าน และมี ‘เจ้าบ้าน’ ส่วนกลุ่มที่ กสทช.ยังไม่มีแผนจะแจกคูปองคือ กลุ่มที่มีทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีชื่อคนอาศัยในบ้านเลย ถือเป็นบ้านเปล่า ซึ่งมีมากถึง 6 – 7 ล้านราย ความน่าตระหนกของสังคมไทยคือ มีบ้านเปล่าอยู่หลายล้านครัวเรือน แต่มีคนไม่มีบ้านอย่างเป็นทางการน่าจะเกินหลักสิบล้าน ยังไม่นับคนไร้บ้านจริงๆอีก

กลุ่มแรกที่ กสทช. แจกคูปองไปแล้ว 13 ล้านกว่าราย ถือว่าเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีบ้านเป็นของตนเอง ไม่ว่าจนหรือรวย ก็ยังดีที่มีบ้านของตนเอง ดังนั้นกลุ่มที่เหลือจากนี้ กสทช. ควรเน้นสนับสนุนครัวเรือนที่แม้มีที่อยู่อาศัย แต่ยังไม่มีบ้านของตนเอง ส่วนมากน่าจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้จำกัด

บ้านใดที่ได้รับคูปองรอบแรก ถือเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสในสังคม ถ้าท่านใดที่สละสิทธิ์คูปองไปก็ไม่ต้องเสียใจ เงินนั้นจะไปใช้สนับสนุนครัวเรือนอื่นๆ ครัวเรือนชุมชนเมืองแออัดที่ไม่มีฐานข้อมูลใดๆในทะเบียนราษฎร์ เราอาจต้องใช้ลองดูฐานข้อมูลอื่นๆ เช่นค่าไฟฟ้า หรือให้คนแจ้งความจำนง เป็นต้น

นอกจากเร่งหาข้อสรุปกับทางกรมการปกครองแล้ว สนง.ยังต้องเร่งหารือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ อาทิ กทม. กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เป็นต้น อีกทั้ง สนง. ควรหารือกับ สตง. เพื่อปรับ ทบทวนรูปแบบการให้สิทธิ์เพิ่มเติม รวมทั้ง การเบิกจ่ายเงิน ที่ควรอุดช่องโหว่ปัญหาที่ผ่านมาด้วย กรอบข้อเสนอวันนี้ ต้องไปหารือลงรายละเอียด และ ส่งเข้าคณะทำงานฯ และเข้าบอร์ดใหญ่ กสทช. เพื่อเสนอให้ คสช.อนุมัติงบประมาณต่อไป

รายละเอียดและความคืบหน้าจะมาแจ้งให้ทราบต่อไปค่ะ ส่วนช่วงบ่ายคุยนอกรอบกับ สนง.เรื่องประกาศบางฉบับที่อาจต้องทบทวนให้ดีขึ้น พรุ่งนี้วันศุกร์ เป็นโหมด outdoor ลงพื้นที่ดูการติดตั้งระบบสายอากาศกลางรับทีวีดิจิตอลในคอนโดได้ทั้งตึก ต้นทุนไม่สูง ไว้มาสรุปค่ะ…