สุภิญญาอธิบาย!ทำไมถึงไม่เห็นด้วยกรณีจะให้AISได้สิทธิ์ใช้คลื่น900MHzในราคา‎JASเคาะสุดท้าย

7 เมษายน 2559 April 7, 2016.

Tweeted to clarify my opinion why I don’t agree if NCPO to exercise Article44 to give a spectrum right to AIS, bypassing a regular process. NBTC Panel still has no decision on AIS proposal but tmr NBTC’s Sec-Gen gonna have a meeting at Govt House. Keep eyes on closely. ‪#‎900MHz I don’t mind if AIS or Dtac to get spectrum 900MHz but thru a legitimate process by NBTC, with a transparency, fair game & rule of law. I am not the only one thinking so,
am I?

ท่านที่ถามว่าทำไมดิฉันถึงไม่เห็นด้วยกรณี จะให้สิทธิ์ ‪#‎AIS ได้สิทธิ์ใช้คลื่น #900MHz ในราคา ‪#‎JAS เคาะสุดท้าย ขออธิบายดังนี้ค่ะ

1. พรบ.กสทช.กำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้มีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่ฯเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจต้องผ่านการประมูล ถ้าจะ overruled กฎหมาย กสทช. ดิฉันไม่เห็นด้วย

2. สุดท้ายทาง AIS อาจจะได้สิทธิ์ในคลื่น 900 ไปในราคา JAS ก็ได้แต่ดิฉันเห็นว่าต้องผ่านกระบวนการตาม กฎหมาย กสทช. และ พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมฯ

3. การใช้อำนาจพิเศษมา overruled พรบ. กสทช.(ทั้งที่ยังไม่จำเป็น) จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการกำกับกิจการโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมทั้งหมด

4. มาตรา44 อาจจะถูกใช้เป็นยาสเตียรอยด์ในสังคมไทย แต่ ‪#‎คหสต. เห็นว่ายังไม่ควร/ไม่จำเป็นต้องนำใช้ในการจัดสรรคลื่นและกำกับดูแลธุรกิจโทรคมนาคม

5. ตามอำนาจใน กฎหมาย กสทช. สามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้เอง ถ้าในที่สุด มีแต่ AIS เข้าประมูล ก็สามารถกำหนดราคาตั้งต้นเป็นราคาสุดท้ายได้ ตามประกาศฯ

6. กระบวนการของ กสทช. อย่างน้อยมีขั้นตอนเช่นต้องฟังความเห็นสาธารณะและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถใช้สิทธิ์โต้แย้งที่ศาลได้ ตามหลัก Rule of Law

7. การจัดสรรคลื่นความถี่ต้องมีหลักธรรมาภิบาล กสทช.ไม่ควรจะทำทีหารือกับเอกชนบางราย เพื่อบอกว่าถ้าไม่เข้าประมูล ก็จะให้สิทธิ์เอกชนอีกรายได้ไป

8. สิ่งที่ต้องทำคือเปิดประมูลเป็นการทั่วไป ถ้าไม่มีใครเข้าประมูลจริงๆหรือมีรายเดียว จากนั้น กสทช. ค่อยใช้อำนาจจัดสรรคลื่นให้ตามประกาศฯได้

9. โดยต้องเขียนเป็นเงื่อนไขไว้ในประกาศฯ ให้ทราบเป็นการทั่วไปล่วงหน้า ถ้ามีรายเดียวเข้าประมูล(AIS) ราคาตั้งต้นก็อาจเป็นราคาสุดท้าย ได้คลื่น 900 ไป

10. ผลสุดท้ายอาจได้คลื่น900เหมือนกัน แต่ถ้าใช้’อำนาจพิเศษ “เร่งรัด” มีเหตุผลเด่น คือให้ทันก่อนซิมดับ ซึ่งแบบนั้นอาจเข้าข่ายเอื้อเอกชนเฉพาะราย

การกำกับอุตสาหกรรมโทรคมโดยใช้กติกาที่ไม่เป็นการทั่วไปแต่เลือกให้เฉพาะบางรายมีความเสี่ยงในทาง กฎหมาย ถ้าใช้อำนาจพิเศษจะมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม การอ้างเรื่องป้องกันซิมดับ จะตอกย้ำบรรทัดฐานที่มีปัญหา เพราะต่อไปถ้า กสทช. ประมูลล่วงหน้าไม่ทันอีก ก็อาจจะมีการขอใช้อำนาจพิเศษกันอีก ไม่เคยเห็นด้วยกับการขยายสิทธิ์หลังสัมปทานสิ้นสุด ทั้งกรณี 1800 & 900 ดังนั้นการอ้างเหตุผลเพื่อป้องกันซิมดับจึงฟังไม่ขึ้นสำหรับดิฉันอยู่แล้ว

กสทช.เรียนผูกก็ต้องเรียนแก้เอง สร้างกฎกติกามาตามกฎหมาย ก็ควรเดินไปตามนั้น มันยังไม่เจอทางตันสักหน่อย ไม่จำเป็นต้องรีบหาอุโมงค์วิเศษ ถ้าสมมติทาง Dtac ไม่พร้อมเข้าประมูลจริงๆ และ AIS พร้อมจ่ายที่ราคา JAS ประมูล กสทช.ก็ควรทำให้เป็นไปตามกระบวนกฎหมาย อยู่ๆจะเนรมิตให้เลยคงแปลกมาก กสทช.ทราบอยู่แล้วว่าอยู่ๆจะเนรมิตคลื่นให้เลยนั้นทำไม่ได้ แต่การจะผลักไปให้ คสช.ใช้อำนาจพิเศษแทน มันจะทำให้ กสทช.เองขาดความชอบธรรมขึ้น

ถ้าต้องใช้อำนาจพิเศษในการจัดสรรคลื่น 900 MHz ให้เอกชนจริงๆ เสียงที่สังคมถามว่า ‪#‎กสทช.มีไว้ทำไม ก็คงจะดังขึ้นมาอีกระลอก แม้ กสทช.ชุดแรกนี้ใกล้จะครบวาระ แต่เราควรช่วยรักษา Raison d’etre หรือ ‘Reason for existence’ หรือ *เหตุผลในการดำรงอยู่* ให้ กสทช.ชุดหน้าทำงานต่อ

ณ จุดนี้ ดิฉันในฐานะหนึ่งในบอร์ด กสทช.ก็ยังไม่เคยเห็น จดหมายที่ว่าดังกล่าวของ AIS เลย และยังไม่ได้ฟังจุดยืนของทัั้ง 3 ค่ายต่อสาธารณะ ทราบเพียงข่าวว่าพรุ่งนี้ท่านเลขาธิการฯ @TakornNBTC จะต้องไปประชุมเรื่องนี้กับรองนายกฯ ก็ขอฝาก #คหสต. ดิฉันในทวิตะวันนี้ไปพิจารณาด้วยค่ะ

การทำให้เป็นกระบวนการทางลับและใช้อำนาจรัฐบาลตัดสิน ก็จะทำให้สังคมนึกถึงการใช้อำนาจจัดสรรในคลื่นยุคสัมปทาน ที่ไม่เปิดเผยโปร่งใสเพียงพอ ความเปิดเผยโปร่งใส คือธรรมาภิบาลขั้นต้นของการจัดสรรคลื่นความถี่ฯตาม พรบ.กสทช. ถ้าเริ่มต้นโดยขาดสิ่งนี้ ความกังขาก็จะตามมาและคงอยู่ตลอดไป ถ้าต้องงุบงิบๆกัน ระหว่างฝ่ายใดก็ตาม มันไม่ควรเป็นแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสาธารณะ ควรเป็นการวาง/ถกกติกากันอย่างเปิดเผย

#คหสต. เข้าใจว่าคลังอาจต้องการนำเงินจากการประมูลที่ควรได้มาใช้พัฒนาประเทศ แต่รัฐก็ต้องชั่งน้ำหนักในการใช้อำนาจพิเศษมาจัดสรรคลื่นความถี่ด้วย อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความเป็นสากล ปัจจุบันโลกเขาก็กังขากับอำนาจมาตรา44อยู่แล้ว ถ้านำมาใช้จัดสรรคลื่นด้วย โลกอาจยิ่งตะลึง Amazing Thailand

สรุป ดิฉันไม่ได้มีปัญหากับการที่ AIS/Dtac จะได้คลื่นในราคาที่ JAS เคาะ เพียงแต่เห็นต่างเรื่องวิธีการจัดสรรคลื่น เพราะเห็นว่าควรใช้ กฎหมายปรกติ ส่วนเรื่อง ‪#‎truemove ดิฉันรอฟังความเห็นอยู่ว่า หลัง กสทช. มีมติไม่ให้ประมูลคลื่น 900 ซ้ำอีก ทรูจะว่าอย่างไร จะฟ้องมติไหม ถ้าสมมติ ทรู ฟ้องมติ กสทช. อาจคิดไปได้ว่าทรูก็อาจตั้งใจจะประมูลคลื่น 900MHz ที่เหลือทั้งหมดด้วย (แต่ กสทช. ไม่ให้แล้ว) รอดูกันต่อไป เช่นเดียวกับท่าทีของ ‪#‎Dtac ต่อเรื่องคลื่น 900MHz ว่าคิดอย่างไร ต่อข้อเสนอของ #AIS และ ม.44 ถ้าอิงมาตรฐานแบบเอกชนในสหภาพยุโรป

ตอบคำถามไปพอสังเขป ขอสรุปงานวันที่ผ่านมาสั้นๆในหนึ่งทวิต มีประชุมอนุผู้บริโภค กสท.ตามเรื่องร้องเรียน ในรูปประกอบด้านล่างค่ะ ไว้ค่อยมาเล่ารายละเอียดจากการประชุมอนุคุ้มครองผู้บริโภค ฝั่ง กสท.เรื่องร้องเรียนต่างๆวันนี้นะคะ สัปดาห์นี้ยังอินอยู่กับโหมดเรื่องจัดสรรคลื่น…