“เมื่อการกำกับดูแลตนเอง/กันเองของสื่อไทยล้มเหลว” เมื่อความเชื่อมั่นเราถูกสั่นคลอนลง เราจะไปทางไหนดี

23 พ.ค. 59

“เมื่อการกำกับดูแลตนเอง/กันเองของสื่อไทยล้มเหลว” เมื่อความเชื่อมั่นเราถูกสั่นคลอนลง เราจะไปทางไหนดี
Feeling depressed today on media, human rights and social responsibility. To sadly admit that media ethics on human rights are failed but political censorships are practiced in Thailand.

ถ้าสื่อไม่แคร์เรื่องสิทธิมนุษยชนและผลกระทบต่อสังคม แต่ยินยอมเซ็นเซอร์ตนเองทางการเมืองแม้เป็นประโยชน์สาธารณะ (ถ้า กสทช.ก็เช่นกัน) เราจะทำอย่างไรต่อดี ….
After NBTC called 4 TV channels to give a testimony on live broadcast of suicide, they seemed to defend thats a duty, deny that it’s guilty. Speechless. Still, wait to read a written testimony submitting to NBTC before Broadcast Panel is making a decision over live TV broadcast of suicide. (Hopefully, not too long.) Is self-regulation for media ethics finally & utterly failed in Thailand after a recent case of live suicide on TV?
How’s law enforcement? Failed too? After working to defend media’s self-regulation on Code of ethics thru these years, finally back to zero again. Where is to start now?

วันนี้อนุกรรมการด้านผังและเนื้อหารายการเชิญช่อง @Thairath_TV @NationTV22 @SpringNews_TV @tnnthailand มาชี้แจง ข่าวว่าช่องยืนยันว่าเป็นหน้าที่ ไม่ยอมรับว่าทำผิด เนื่องจากดิฉันไม่ได้อยู่ในอนุกรรมการด้านเนื้อหา เลยไม่ได้เข้าประชุมด้วยวันนี้ แต่รออนุสรุปผลมาว่าผิดหรือไม่อย่างไร แล้วดิฉันจะลงมติใน กสท. ไม่ได้เข้าประชุมเลยไม่ทราบรายละเอียดการให้ถ้อยคำ แต่ฟังที่มีคนเล่ามาแล้วคิดไม่ถึงว่าทั้ง 4 ช่องจะยืนกรานแบบนั้น ถ้ามีการถ่ายทอดสดตอนที่ตัวแทนช่องมาชี้แจง กสทช.บ้างก็ดี ช่องจะได้รู้ว่าควรรู้สึกเช่นไร

ถ้าสมมติแค่การถ่ายทอดสดตอนช่องมานั่งชี้แจง กสทช. อาจทำให้สื่ออึดอัด ขัดสิทธิส่วนตัวแล้ว สื่ออาจจะได้รู้สึกบ้างว่าความรู้สึกคนอื่นเป็นเช่นไร ถ้าสิ่งที่ตัวแทน 4 ช่องมาชี้แจงวันนี้เป็นอย่างที่มีคนเล่ามาจริง ดิฉันรู้สึกผิดหวัง แต่เอาเป็นว่ารอคำชี้แจงจากช่องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน วันนี้อนุด้านเนื้อหายังเชิญตัวแทนจากแพทย์ และนักวิชาการด้านสื่อมวลชนศึกษา (มีเดียมอนิเตอร์) มาให้ความเห็นด้วยประกอบด้วย ความเห็นคงไปคนละด้านกับสื่อ

ข่าวแจ้งว่า อนุกรรมการด้านเนื้อหา จะเชิญช่องอื่นๆ ที่เหลือมาชี้แจงเพิ่ม อาทิช่องในดาวเทียมและช่องที่ถ่ายทอดบางส่วน และให้ สำนักงานตรวจสอบเทปทั้งหมด อนุเนื้อหา เขายังจะเชิญช่องที่ไม่ถ่ายทอดสดมาด้วย แต่ไม่ใช่มาชี้แจง เพียงมาขอความเห็นอีกด้านว่าทำไมช่องอื่นๆ คิดว่าไม่ควรถ่ายทอดสด เป็นต้น

เมื่ออนุกรรมการเรียกชี้แจงครบแล้ว (แบบที่ไม่เตะถ่วงช้าเกินไป เพราะเรื่องอื่นๆ (การเมือง)ยังเร่งรัด ก็จะต้องส่งให้บอร์ด กสท. ตัดสินให้เป็นบรรทัดฐาน ไม่ว่ากรณีการถ่ายทอดสดผู้ต้องหาพยายามฆ่าตัวตาย 5 – 6 ชั่วโมงนี้ อนุเนื้อหา และ กสทช. จะตัดสินอย่างไร ขอเพียงรู้ไว้ว่า สังคมเขาจับตาอยู่ว่าจะสองมาตรฐานไหม เรื่องที่เล็กน้อยกว่านี้หรือเรื่องการแสดงความคิดเห็นการเมืองทั่วไปปรกติ กสทช. ยังตัดสินว่าผิดมาตรา37 และผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งรัดมาแล้วด้วย งานนี้ก็วัดใจกัน

รายการ ‪#‎TGT ช่อง3 ที่มีฉากผู้หญิงใช้หน้าอกวาดรูป (แม้ไม่เห็นภาพเปลือย) แต่ออนแอร์ช่วงเวลารายการเด็กเยาวชน กสทช. ยังปรับ 5 แสน ผิดมาตรา 37 มาแล้ว ตอนเคสช่องอื่นถูกร้องเรียน ช่องอื่นๆก็รุม กสทช.จี้ให้ลงโทษมาแล้ว รอบนี้ถ้าช่องตนเองถูกร้องเรียนบ้าง ควรกล้ารายงานข่าวในช่องตนให้รอบด้านด้วย ‪#‎คหสต. สมัยฟรีทีวีช่องหลักเดิมถูกร้องเรียนรายการวาไรตี้เกมโชว์ อย่างน้อยเขาก็ยืดอกรับความผิด ยอมจ่ายค่าปรับให้ กสทช. รอบนี้รอดูสปิริตช่องใหม่บ้าง จริงๆ ใน #คหสต. การจ่ายค่าปรับทางปกครอง ยังไม่มีความหมายเท่าการยอมรับผิด ขอโทษครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบและน้อมรับคำวิจารณ์จากสังคมนำกลับไปปรับปรุงแก้ไข

สำหรับกลไกภายใน กสทช. ตอนนี้ดิฉันขอเรื่องเดียว คืออย่าดองหรือเตะถ่วงเรื่อง ผิดหรือถูกขอให้ตัดสินใจ แต่ไม่ชะลอหรืองดออกเสียงจนสรุปผลไม่ได้ ถ้าเรื่องใหญ่ขนาดนี้ กสทช. ไม่ react ดำเนินการในสัดส่วนที่เหมาะสม เหมือนเรื่องอื่นที่เล็กกว่านี้ จะอธิบายสังคมยาก และ ถ้าไม่ตัดสินให้ชัด ต่อไปทีวีจะทำแบบนี้ได้อีกใช่หรือไม่ สำหรับฝั่งผู้ประกอบการ ดิฉันไม่ขออะไรแล้ว คุณมีสิทธิ์ต่อสู้ตามกฎหมายถึงที่สุด แต่ขอบอกไว้ว่า จะทุนใหญ่แค่ไหนก็ไม่ใหญ่เท่าจิตสำนึกสื่อมวลชน ยกตัวอย่างวันจันทร์หน้า อนุกำกับเนื้อหาเสนอปรับช่อง @Voice_TV ฐานผิด ม.37 เข้าบอร์ดตัดสินอีก อ้างกระทบ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดี รอดูว่าเคสถ่ายทอดสดคนพยายามฆ่าตัวตายล่าสุดจะแรงกว่าเคสนี้บ้างไหม ในฐานะที่ยืนอยู่ข้างเสรีภาพสื่อมาโดยตลอด แต่จากที่พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อมูลแล้ว #คหสต. คิดว่าเคสนี้หลายช่องล้ำเส้นกฎหมายและจริยธรรมชัดเจน ส่วนตัวก็มีความเป็นมิตรกับสื่อทุกช่อง ไม่มีความขัดแย้งส่วนตัวกับใคร ถือว่าทำงานตามหน้าที่และจุดที่ยืนอยู่ ส่วนใครจะชอบใครจะเคืองก็สุดแล้วแต่ ไม่ว่าช่องเก่าช่องใหม่ ช่องใหญ่ช่องเล็ก แน่นอนเราควรให้ความเป็นธรรมเหมือนกัน ถ้าใครผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก ไปตามกฎกติกา ดีที่สุด

วันนี้ดิฉันเชิญ เจ้าหน้าที่ กสทช.สำนักที่เกี่ยวข้องมาหารือ โดยเฉพาะสำนักที่ดูเรื่องการแข่งขัน จริยธรรม และ ผู้บริโภคว่าเราจะทำอะไรได้อีกบ้าง ทุกคนเฉากันไปหมด น้อยครั้งมากที่ดิฉันจะเห็นพ้องกับ กสทช.ในการตัดสินว่าสื่อทำผิดตามมาตรา37 เพราะเชื่อในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น เว้นเรื่องนั้นกระทบสิทธิมนุษยชน/เด็ก ล้ำเส้นชัดเจน กว่า 5 ปี ทำงานเรื่องส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองของสื่อมาตลอด ต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อใน กสทช.มาหลายครั้ง ครั้งนี้คิดไม่ตกว่าจะทำอะไรต่อ วันนี้จึงเสนอให้ สำนักงาน จัดงานสัมมนาส่งท้ายการทำงานที่ กสทช.เรื่อง ‘เมื่อการกำกับดูแลตนเอง/กันเองของสื่อล้มเหลว’ ใกล้จะถอดใจแล้ว ทำงานมา 5 ปี ทำมาแทบทุกอย่าง ทุกกิจกรรมที่ทำได้แล้ว ในเรื่องการส่งเสริมให้สื่อกำกับดูแลกันเอง แล้วมันก็วนกลับมาที่เดิม สมควรยอมรับความเป็นจริงสักที

ทำงานแล้วเหนื่อย หมดพลัง ก็ยังดีกว่าหมดความเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ เหมือนคนอกหัก สิ่งที่หวังไม่เป็นอย่างที่คิด

……..

อีกเรื่องสำคัญ วันศุกร์นี้ถ้าศาลนัดไต่สวนด่วนเรื่องทีวีดิจิตอลฟ้องเรื่องเงินประมูลงวดสาม หวังว่าคงมีเพื่อนไปศาลด้วย …. ไม่อยากไปคนเดียวอีก

………

วันนี้ช่วงบ่ายมีงานที่สมาคมโฆษณาฯ มาพบด้วย เรื่องก็ยุ่งเหยิงไปอีกแบบ ต้องสรุปให้ฟัง แต่ยังไม่พร้อม ขอผลัดไปก่อนค่ะ

Stand by Me https://www.youtube.com/watch?v=BTCfQ6Bb8QE