ดาวน์โหลดเอกสาร Co-Production เกาหลีใต้-ไทย-ตุรกี-อินโดนีเซีย-BBC

วันที่ 24 พย. 59  นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้เข้าร่วม งานประชุม นานาชาติ เรื่อง “Fostering Audio – visual Co – production Agreement : Cultural Co-operation in the Era of FTAs” จัดโดย Korea Communications Commission (KCC) ณ เมือง Busan ได้นำเสนอเรื่อง Current Status of Co- production between Thailand and Foreign Countries โดยนำเสนอ ประเด็นกฎหมายไทยต่อเรื่อง Co production ว่า ปัจจุบันยังไม่มีโดยตรง มีเพียงกติกาที่กำหนดให้ต่างชาติห้ามถือหุ้นในกิจการสื่อไทยเกินร้อยละ 25 ส่วนการกำกับเนื้อหารายการ เราไม่ได้ใช้ระบบเซ็นเซอร์ แต่มีมาตรา 37 ตามกฎหมายกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ลามกอนาจาร , พร้อมทั้งมีระบบการจัดระดับความเหมาะสม(จัดเรท) เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ได้มีช่องรายการโทรทัศน์ดิจิตอลเพิ่มจากแต่เดิม 6 ช่อง เป็น 25 ช่อง ตลาดการผลิตรายการโทรทัศน์ก็ขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ การนำเข้าเนื้อหารายการจากต่างประเทศ ปัจจุบัน พบว่า ช่อง 3 นำเข้าเนื้อหารายการลดลง จากเดิมปี 2007 ที่นำเข้าราว ร้อยละ 23 ปีนี้พบว่าลดลงเหลือราวร้อยละ 13 ส่วนช่อง 7 ยังมีสัดส่วนการนำเข้าเนื้อหารายการใกล้เคียง อย่างไรก็ตามพบว่า ช่องรายการทีวีดิจิตอลช่องใหม่มีการนำเข้ารายการหลากหลายประเภทมาจากต่างประเทศ

ที่ผ่านมา พบว่า สถานีโทรทัศน์ไทย หรือภาคเอกชนมีการจัดทำความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์เพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ตลอดจน บทบาทของละครไทยเป็นที่นิยมในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก เช่น กัมพูชา เวียดนาม พม่า ตลอดจนเข้าไปบุกเบิกในประเทศจีนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บทบาทของภาครัฐยังมีอยู่ไม่มากนักในนโยบายเกี่ยวกับ Co – production ซึ่ง กสทช. จะนำไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเพื่อการขยายความร่วมมือในการเพิ่มช่องทางและพัฒนาคุณภาพเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค

ช่วงแรกภายหลังการเปิดงานโดยประธาน KCC แล้ว ได้มีการปาฐกถา โดย Lee Ki-Joo กรรมการ KCC และ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการผลิตร่วม (Co – production) ซึ่งเกาหลีเห็นว่า มีความสำคัญในการขยายโอกาสการสร้างรายได้ การแบ่งต้นทุนและความเสี่ยง การพัฒนาคุณภาพเนื้อหารายการ อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีนัยยะสำคัญ ซึ่งภาครัฐ เป็นภาคที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ เช่น การทำข้อตกลงร่วมกัน , การใช้นโยบายด้านภาษีมาสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อหาร่วม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี การนำเสนอสถานภาพของ Co-production โดย นาย Yullandre Darwis ประธาน Indonedian Broadcasting Commission หรือ KPI จากอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ยังไม่มีกฎหมายหรือนโยบายที่เด่นชัดในเรื่องนี้เช่นเดียวกับไทย กรรมการ องค์กรกำกับดูแลด้านวิทยุและโทรทัศน์ นาย Nurullah Ozturk นำเสนอเกี่ยวกับ ภูมิทัศน์สื่อและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในตุรกี

การประชุมครั้งนี้ได้เชิญตัวแทนจากภาคเอกชนมานำเสนอประสบการณ์เรื่องนี้ เช่น ตัวแทนจาก BBC สนับสนุนว่า ส่วนผสมที่ลงตัวในการผลักดันเรื่อง co – production นั้น ภาครัฐควรมีกฎกติกาที่เอื้อต่อการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้สามารถทำงานได้อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้ light touch regulation และ โปร่งใส ตลอดจนคำนึงถึงการสนับสนุน ผู้ผลิตรายการขนาดเล็ก ซึ่ง Channel 4 ของ BBC ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ รวมทั้งคำนึงถึงเรื่องการให้ทุนสนับสนุนด้วย

ช่วงท้ายมีวงเสวนานำเสนอประสบการณ์ของผู้ผลิตเกาหลีจาก KBS ทีวีสาธารณะเกาหลีที่ผลิต factual drama อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง Imjin War 1592โดยร่วมมือ กับ CCTV ของจีน , ประสบการณ์ของผู้ผลิตในการทำ co-production กับ เวียดนาม ….

ดาวน์โหลดPresentation ของภาครัฐแต่ละประเทศ ที่นี่

Download (02_INDONESIA-KPI.pdf,PDF, Unknown)

Download (03-KCC_keynote.pdf,PDF, Unknown)

Download (03-THAILAND-ppt1.pdf,PDF, Unknown)

Download (4.KISDI-ppt.pdf,PDF, Unknown)

Download (Bal-Samra-Magic-Ingredients-presentationDRAFT21NOV.pdf,PDF, Unknown)